สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปลูกป่าต้นน้ำแบบชุมชนมีส่วนร่วม - ทิศทางเกษตร

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำนั้นตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2537 เป็นต้นมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เข้าร่วมสนับสนุนในหลากหลายโครงการอาทิ โครงการปลูกป่าถาวร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโอกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 เพื่อฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมของประเทศ ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยปลูกต้นไม้ในพื้นที่  300,000 ไร่ และบำรุงรักษาต่อไปอีก 4 ปี เพื่อให้กล้าไม้แข็งแรงพอที่จะยืนต้นตามธรรมชาติได้ ควบคู่กับการปลูกต้นไม้บริเวณสองข้างทาง พื้นที่สาธารณะ พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ อีกกว่า 20,000 ไร่

โครงการ “ปลูกต้นไม้รอบบ้านพ่อ” ณ บริเวณสวนหลวงราชินี อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 840,000 ต้น โครงการ “ปลูกต้นกล้า ป่าต้นน้ำ ถวายพ่อ”โดยปลูกป่า ปลูกหญ้าแฝก และสร้างฝายเพื่อคืนความสมดุลให้กับผืนดิน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยปลูกป่าในพื้นที่ป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนที่ได้รับพระราชทานนาม 9 เขื่อน จำนวน 984,000 ต้น สามารถคิดเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงได้ 36,000 ต้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย

สำหรับในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อให้การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง กฟผ. จึงได้จัดโครงการ “ปลูกป่าต้นน้ำเขื่อนสิริกิติ์ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ” ขึ้นในพื้นที่ป่าอนุรักษ์รอบเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และเพื่อฟื้นฟูสภาพป่าไม้ต้นน้ำเขื่อนสิริกิติ์ตามแนวพระราชเสาวนีย์ ตลอดทั้งเพื่อเสริมสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์และ บำรุงรักษาป่าต้นน้ำควบคู่กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม กฟผ. เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าต้นน้ำเขื่อนสิริกิติ์ฯ กฟผ.ว่าได้กำหนดการดำเนินงานให้อยู่ในช่วงฤดูฝน และเลือกกล้าไม้ที่มีการเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะเจริญเติบโต เพื่อให้กล้าไม้สามารถเจริญเติบโตได้ด้วยตัวเองภายหลังจากการปลูกแล้วเสร็จ โดยการปลูกจะมีการร่วมแรงจากประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการตระหนักและรู้จักช่วยกันดูแลรักษาป่าไม้ในชุมชนให้เกิดความ หวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติ

“สำหรับช่วงเวลาในการปลูกต้นไม้จะดำเนินการตั้งแต่ช่วงนี้ไปจนถึงเดือน กันยายน 2555 โดยจะจัดให้ประชาชนในพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบในแต่ละแปลงปลูก ใช้กล้าไม้ที่เป็นพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและเจริญเติบโตดีในพื้นที่ป่านั้น ๆมาปลูกในพื้นที่ทั้งหมด 10,000 ไร่ จำนวน 2 ล้านต้น โดยในปี 2555 และ 2556 จะปลูกปีละ 5,000 ไร่ รวม 1 ล้านต้น ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2555  หากจะต้องมีการปลูกซ่อมเนื่องจากบางต้นอาจจะตายในระหว่างการเจริญเติบโตก็จะ นำกล้าไม้ที่มีขนาดเท่า ๆกันที่ปลูกก่อนหน้านี้ไปปลูกทดแทน โดยปลูก 200 ต้นต่อพื้นที่ 1 ไร่ ซึ่งภายหลังจากดำเนินการปลูกแล้วเสร็จ เมื่อหมดฤดูฝน ก็จะทำแนวป้องกันไฟ พร้อมดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี ก่อนส่งมอบให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดูแลต่อไป” นายสามารถ กล่าวผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม กฟผ. เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ในการคัดเลือกกล้าไม้ที่จะใช้ปลูกในแต่ละพื้นที่ จะมีการพิจารณาตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่แต่ละแห่งเป็นประการสำคัญ และจะเป็นพันธ์ไม้ประจำถิ่นที่เคยมีในพื้นที่นั้น ๆ มาก่อน เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือสภาพพื้นที่จะเป็นภูเขา พันธ์ไม้ที่ปลูกจะเป็นไม้ที่เหมาะสมกับชั้นความสูงของพื้นที่ เช่น ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ 400 เมตร จะปลูกไม้พวกประดู่  ไม้มะค่า เป็นต้น

“จะเน้นการนำพันธุ์ไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่นั้น ๆ ตามธรรมชาติของพันธุ์ไม้ แบบอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ไม้ชั้นล่าง ไม้ชั้นกลาง และไม้ใหญ่ ซึ่งพันธุ์ไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาแบบอาศัยซึ่งกันและกันเมื่ออายุค รบ 3 ปีการเจริญเติบโตก็เป็นไปตามธรรมชาติ ถึงเวลานั้นก็จะสมบูรณ์โดยที่ไม่ต้องเข้าไปบริหารจัดการแต่ประการใด ซึ่งเป็นวิธีการปลูกป่าแบบให้ธรรมชาติดูแลรักษาธรรมชาติด้วยกันเอง” ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสังคม กฟผ. กล่าว.


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags :

view