สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เข้าระบบปลูกข้าว คือทางรอดยุคภัยธรรมชาติ

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

สถานการณ์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวนา โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แพร่ระบาดทำลายผลผลิตข้าวอย่างมาก จนกระทั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องออกนโยบายจัดระบบการปลูกข้าวใหม่ เพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างจริงจัง

นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้จัดระบบปลูกข้าวใหม่ โดยรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกข้าวปีละไม่เกิน 2 ครั้ง เพื่อพักนาโดยปลูกพืชตระกูลถั่วคั่น ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้หมดไปจากแปลงนาได้ อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชตระกูลถั่ว ที่เป็นพืชปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนนา เมื่อดินดีผลผลิตข้าวก็จะดีตามไปด้วย อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญคือ ช่วยในเรื่องลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

แต่จนถึงขณะนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการจัดระบบปลูกข้าว ตามที่กระทรวงเกษตรฯ แนะนำเท่าที่ควร เนื่องจากเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะราคาข้าวที่รัฐบาลประกันนั้นค่อนข้างสูง จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรยิ่งต้องเร่งปลูกให้ได้ผลผลิตมากที่สุด ประกอบกับในช่วงปลายปีที่ผ่านมาพื้นที่นาข้าวจำนวนมากประสบอุทกภัย ผลผลิตเสียหาย เกษตรกรจำเป็นต้องเร่งปลูกเพื่อสร้างรายได้ทดแทน ส่งผลให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีอาหาร จึงเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกระจายวงกว้างมากขึ้น

นอกจากนี้ การปลูกข้าวของเกษตร กรในยุคนี้นิยมทำนาหว่าน เพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่การทำนาหว่านที่ทำให้กอข้าวแน่น ยิ่งเป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี และยิ่งเกษตรกรใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแค่สิ้นเปลืองโดยไม่สามารถทำลายเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เท่านั้น แต่กลับไปทำลายศัตรูธรรมชาติที่มีประโยชน์ไปแทน ในทางกลับกันถ้าเกษตรกรปลูกข้าวด้วยวิธีทำนาดำ จะมีช่องว่างให้แสงแดดผ่านถึงพื้นดิน และใช้ชีววิธีคือให้ศัตรูธรรมชาติ จำพวกตัวห้ำ ตัวเบียน จัดการกับศัตรูข้าวอย่างเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อีกทั้งเมื่อเกษตรกรพักนาและปลูกพืชตระกูลถั่วคั่น นอกจากสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ถั่วไปจำหน่ายสร้างรายได้เสริมแล้ว เมื่อทำการไถกลบต้นถั่วก็จะเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินไม่ต้องไปซื้อปุ๋ยเคมีมา ใส่อีก ก็จะลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี

…แม้ว่าการปลูกข้าวตามระบบปลูก ข้าวจะเป็นทางรอดที่ยั่งยืนของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก็ตาม แต่ถ้าเกษตรกรยังมีสิ่งกระตุ้นและแรงจูงใจให้ต้องเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุด เท่าที่ทำได้เพื่อรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นคงเป็นเรื่องยากที่จะผลักดันให้ เกษตรกรเข้ามาสู่ระบบปลูกข้าวที่ตั้งไว้ และปัญหาแมลงศัตรูพืชที่ระบาดทำลายผลผลิตก็คงไม่หมดไปอย่างแน่นอน…

ราคาข้าวที่ขายได้จะสูงขึ้น แต่ถ้าเกษตรกรทำนาตลอดโดยไม่พักนาก็จะต้องมีต้นทุน
ในการปลูกและดูแลรักษาเพิ่มขึ้นด้วย ที่สำคัญคือต้องเสี่ยงกับโรคแมลงศัตรูพืชระบาดทำลายผลผลิต ซึ่งอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย แต่ก็เข้าใจว่าการจะให้เกษตรกรหยุดปลูกข้าวพร้อมกันก็คงเป็นเรื่องยากที่จะ ทำได้

“อภิชาต จงสกุล”...ฝากแง่คิดไปถึงชาวนาว่า เมื่อท่านปลูกข้าวก็ไม่ควรขายข้าวทั้งหมด ควรจะเก็บไว้บริโภคในครัวเรือน และเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เป็นพันธุ์ข้าวปลูกในรอบต่อไปด้วย เพราะเมื่อท่านขายข้าวหมด ท่านจะต้องไปซื้อข้าวกินและไปซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวในราคาสูงขึ้นตามราคาข้าว เปลือกที่ท่านขายได้ราคาสูงเช่นกัน ส่งผลให้รายจ่ายและต้นทุนการผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย เท่ากับว่าแม้ท่านจะมีรายได้สูงแต่ถ้ารายจ่ายสูงตามก็คงมีคุณภาพชีวิตไม่ ต่างไปจากเดิมมากนัก.


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags :

view