สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เขื่อนสิริกิติ์เดินหน้าพร่องน้ำ - ทิศทางเกษตร

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการ เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวในระหว่างการ เยี่ยมชมการบริหารจัดการน้ำเขื่อนสิริกิติ์ในโครงการติดตามการบริหารจัดการ น้ำเขื่อนสิริกิติ์

และความก้าวหน้าการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ ของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำปี 2555 เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัย ตามนโยบายรัฐบาล (กยน.) ว่า เมื่อครั้งที่มีคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำหรือ กยน. ซึ่งจะมีการบริหารจัดการน้ำอยู่ 2 ชุด คือ บริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง และบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูหลาก

โดยในช่วงฤดูแล้งก็จะมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นประธาน และมีหน่วยงานต่างๆ ประมาณ 9 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะเป็นหน่วยงานที่อยู่ในกรรมการชุดนี้ โดยในช่วงฤดูแล้งจะพิจารณาถึงน้ำต้นทุนจากปีที่ผ่านมาว่ามีปริมาณน้ำเท่าไร หากส่วนนี่ได้ข้อสรุปแล้ว ก็จะกำหนดพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรทำการเพาะปลูก จากนั้นจึงจะปล่อยน้ำตามที่กำหนด  กรมชลประทานจะรับเรื่องนี้มาทำการจัดสรรว่าในช่วงฤดูแล้งพื้นที่ใดควรจะปลูก พืชที่ต้องใช้น้ำประมาณเท่าไหร่ของแต่ละเดือน  จากนั้นก็จะส่งแผนนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนการปล่อยน้ำต่อไป ซึ่งจะมีการประสานงานโดยตรงตลอดเวลา
“ส่วนปีนี้ ทางรัฐบาลได้ห่วงใยเรื่องของอุทกภัย จึงมีคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์เพื่อการวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือ กยน. ขึ้นมา ซึ่ง กยน. จะเข้ามาดูการบริหารจัดการน้ำว่าปีนี้ต้องการให้ทางเขื่อนปล่อยน้ำลงไปให้ มาก ก็มีการคุยแผนกับกรมชลประทาน ส่วนทางเขื่อนสิริกิติ์ ก็จะปล่อยน้ำให้เหลือความจุกอ่างอยู่ที่ 45% เขื่อนภูมิพลก็เช่นกัน ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำสามารถรับได้ของเขื่อนสิริกิติ์ 5 พันล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนเขื่อนภูมิพลประมาณ     6 พันกว่าล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งรวมแล้วประมาณ หมื่นกว่าล้านที่จะรับน้ำจากช่วงฤดูฝนได้ ดังนั้นทั้ง 2 เขื่อนจะช่วยบรรเทาในการรับน้ำได้ประมาณ 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำอื่น ๆ ที่ไหลลงมาไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำจากแม่น้ำยม แม่น้ำวัง  ก็คิดว่าจะยังมีปริมาณมากอยู่ อย่างปีที่แล้วในลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำวัง และแม่น้ำอื่นๆ มีปริมาณน้ำเข้ามาประมาณ 2 – 3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนภูมิพลปล่อยลงไปแค่ 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น” นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร กล่าว

ผู้อำนวยการ เขื่อนสิริกิติ์ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ได้มีการคาดการณ์กันว่าฤดูฝนปี 2555 ที่จะเข้ามาหากมาเร็ว และมามาก หรือมีพายุเข้าหลายลูก ก็อาจเกิดอุทกภัยและอันตรายได้ จึงต้องมีการวางแผนตั้งแต่ต้นน้ำ และท้ายน้ำให้สัมพันธ์กัน เพื่อจะได้ผันออกทะเลให้เร็วที่สุด

สำหรับในปี 2555 ขณะนี้เขื่องสิริกิติ์ได้รับนโยบายจากรัฐบาลในการระบายน้ำโดยจะทำการระบาย ออกไปวันละ 49 ล้านลูกบาศก์เมตรไปจนถึงเดือนเมษายน 2555 โดยจะให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนอยู่ที่ 45% ของความจุอ่าง


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags :

view