สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ลดการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้.. ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต (2)

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

“ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต” เป็นปุ๋ยชีวภาพอีกชนิดหนึ่งที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรใช้เพื่อลดการ ใช้ปุ๋ยเคมี โดยกรมวิชาการเกษตรแนะนำการใช้ คือ...
   
- ใส่ร่วมกับหินฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของหินฟอสเฟตซึ่งจัดเป็นปุ๋ย ฟอสเฟตราคาถูก และเป็นปุ๋ยที่ปลดปล่อยธาตุอาหารฟอสฟอรัสออกมาทีละน้อย
   
- ใส่ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตให้บางชุดดินที่วิเคราะห์แล้ว พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสในดินสูง โดยจุลินทรีย์ที่ใส่เพิ่มลงไปจะไปละลายฟอสฟอรัสที่ถูกยึดตรึงอยู่ในดินให้ ออกมาเป็นประโยชน์อีกครั้ง   โดยฟอสฟอรัสในดินดังกล่าวมาจากปุ๋ยเคมีฟอสเฟตที่ใส่ลงดินให้กับพืชระหว่าง เพาะปลูก แต่พืชสามารถดูดใช้ได้บางส่วนเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเหลือตกค้างในดินโดยถูกดินยึดตรึงเอาไว้  จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยฟอสเฟตอีกเมื่อใส่จุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต ดังนั้น ถ้าสามารถใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ตามแนวทางนี้กับดินทำการเกษตรทั่วไป จะสามารถลดการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตลงได้
   
- ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตกับการผลิตพืชในระบบอินทรีย์  เพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ร่วมกับหินฟอสเฟต ซึ่งตามมาตรฐานการเกษตรอินทรีย์ หินฟอสเฟตถูกกำหนดเป็นแหล่งของฟอสฟอรัสอย่างหนึ่งในการผลิตพืช ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของกรมวิชาการเกษตร ลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็นผงบรรจุในถุงพลาสติก ขนาดบรรจุ 500 กรัมต่อถุง มีจุลินทรีย์หลักเป็นจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรา Penicillium sp. หรือเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas sp.  ที่สามารถละลายหินฟอสเฟตและฟอส เฟตที่มีอยู่ในดินบางรูปที่พืชใช้ไม่ได้ให้ละลายออกมาเป็นประโยชน์แก่พืช และยังมีคุณสมบัติพิเศษสามารถสังเคราะห์สารช่วยในการเจริญเติบโตของพืช กล่าวได้ว่าผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตของกรมวิชาการเกษตร ช่วยพืชให้ได้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้น และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต
   
วิธีใช้และอัตราการใช้  ใช้ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตคลุกเมล็ดพันธ์ุก่อนเพาะกล้า  สำหรับพืชปลูกใหม่ ใส่รองก้นหลุมประมาณ 2 ช้อนแกงต่อหลุม สามารถใช้ร่วมกับหินฟอสเฟต และปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ใส่ไม่ต้องลึก สำหรับพืชที่โตแล้วใส่รอบทรงพุ่ม อัตรา 150 กรัมต่อทรงพุ่ม 0.5 เมตร โดยคลุกผสมกับหินฟอสเฟตและปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก แล้วสับกลบลงดิน
   
ข้อควรระวัง เก็บปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟตไว้ในที่เย็น ที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเท หรือในตู้เย็น ระวังอย่าให้โดนแดด และไม่ควรซ้อนทับถุงปุ๋ยชีวภาพหลายชั้นเป็นเวลานาน ด้วยผลงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเกี่ยวกับเรื่องปุ๋ยชีวภาพ  ภายใต้การดำเนินงานของนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง และมีจุดมุ่งหมายให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ปุ๋ยเคมีเท่าที่จำเป็น เนื่องจากปุ๋ยเคมีในปัจจุบันมีราคาแพง ปุ๋ยชีวภาพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ย เคมีลงได้ ท้ายที่สุด จะเกิดผลดีโดยรวมต่อตัวเกษตรกรเองและส่งผลในระยะยาวถึงสภาวะแวดล้อมที่ดี ขึ้นในอนาคตด้วย 
   
หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต  สอบถามได้ที่ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดินกลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรกรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-2579-0065 หรือ 0-2579-7522-3 เวลาราชการ.


การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,ไส้เดือนดิน,รักษ์ดิน,ฮิวมิคพลัส,มูลไส้เดือนดิน,ปุ๋ยหมัก

Tags :

view