สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พระเทพฯพระราชทานเครื่องกลเติมอากาศฯเเก้น้ำเสีย

พระเทพฯพระราชทานเครื่องกลเติมอากาศฯเเก้น้ำเสีย

จาก โพสต์ทูเดย์

สมเด็จพระเทพฯ พระราชทานเครื่องกลเติมอากาศของมูลนิธิชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำเสีย  หลังเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานเครื่องกลเติมอากาศของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายสิทธิบัตร เมื่อปี 2544 มีคุณสมบัติแก้ปัญหาน้ำเสีย ทำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาเรือบรรทุกน้ำตาลล่ม


นายกฯชง ครม.ชดเชยเรือน้ำตาลล่ม

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกฯ เรียก กระทรวงทรัพยากรฯเข้าพบ รายงานสถานการณ์เรือน้ำตาลล่ม  เผยเบื้องต้นรัฐบาลจะช่วยเหลือฟื้นฟูเรื่องที่อยู่อาศัย คุณภาพน้ำ และกระชังปลาที่ได้รับความเสียหาย

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุเรือน้ำตาลล่ม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่าได้เชิญกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ารายงานสถานการณ์ให้ทราบแล้ว เบื้องต้นรัฐบาลจะช่วยเหลือฟื้นฟูเรื่องที่อยู่อาศัย และคุณภาพน้ำ รวมถึงกระชังปลาที่ได้รับความเสียหาย ตั้งเป้าเร่งกู้เรือให้เสร็จภายในวันนี้

ส่วนกรณีบริษัทเรือต้องรับผิดชอบอย่างไรนั้น ต้องดูรายละเอียดข้อกฎหมาย และนำไปเปรียบเทียบกับปี 2550 ส่วนค่าชดเชย รัฐบาลจะรวบรวมข้อมูลความเสียหายก่อนส่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆ เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ส่วนความเสียหายขณะนี้ มีพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นนทบุรี และปทุมธานี ซึ่งจะประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพิ่มเติมหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา
         
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังรับทราบ มีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนตลิ่งที่ได้รับความเสียหาย จะให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการ


มาร์คเรียกกระทรวงทรัพย์ฯรายงานเรือน้ำตาลล่ม

จาก โพสต์ทูเดย์

นายกรัฐมนตรี เชิญกระทรวงทรัพยากรฯ รายงานสถานการณ์เรือน้ำตาลล่มที่จ.อยุธยา ยันพร้อมช่วยเหลือ ฟื้นฟูความเสียหาย ตั้งเป้ากู้เรือให้เสร็จในวันนี้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง เหตุเรือน้ำตาลล่ม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่าได้เชิญกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้ารายงานสถานการณ์ให้ทราบแล้ว เบื้องต้น รัฐบาลจะช่วยเหลือฟื้นฟูเรื่องที่อยู่อาศัย และคุณภาพน้ำ รวมถึงกระชังปลาที่ได้รับความเสียหาย ตั้งเป้าเร่งกู้เรือให้เสร็จภายในวันนี้

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังรับทราบว่ามีผู้เสียชีวิต 1 คน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนตลิ่งที่ได้รับความเสียหาย จะให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการ

"กรณีบริษัทเรือต้องรับผิดชอบอย่างไร ต้องดูรายละเอียดข้อกฎหมาย และนำไปเปรียบเทียบกับปี 2550 ส่วนค่าชดเชย รัฐบาลจะรวบรวมข้อมูลความเสียหายก่อนส่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ต่างๆ เพราะขณะนี้สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ส่วนความเสียหายขณะนี้ มีพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นนทบุรี และปทุมธานี ซึ่งจะประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเพิ่มเติมหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังรับทราบว่ามีผู้เสียชีวิต 1 คน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ส่วนตลิ่งที่ได้รับความเสียหาย จะให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปดำเนินการ


ระดมจนท.สำรวจความเสียหายเรือน้ำตาลล่ม

จาก โพสต์ทูเดย์

ประมงระดมเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหาย จากเหตุเรือน้ำตาลล่ม เสียหายเบื้องต้นประมาณ  5 ล้านบาท

นางสมหญิง  เปี่ยมสมบูรณ์  อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ เรือบรรทุกน้ำตาลซัดตอม่ออับปางกลางแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหมู่ที่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 เวลา 17.00 น. ที่ผ่านมา ขณะนี้ (วันที่ 3 มิ.ย.54) ความเสียหายจากมวลน้ำเสีย ได้ขยายมาถึงบริเวณสะพานนวลฉวี จังหวัดนนทบุรี ทั้งนี้ จากการสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปลา พบว่า ปลามีอาการลอยหัวขึ้นมาเพราะสภาพน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน (ออกซิเจนเหลือ 0 – 0.4 / ค่าปกติ 4-9 มิลลิกรัมต่อลิตร) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นที่ จ.อ่างทอง เมื่อปี 2550 นั้นในครั้งนี้ยังไม่รุนแรงเท่า

อย่างไรก็ตาม กรมประมงได้ตั้งคณะกรรมการชุดเฉพาะกิจขึ้นมาดูแลปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร่ง ด่วนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อลงไปตรวจสอบแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่เกิดเหตุ และได้กระจายกำลังเจ้าหน้าที่นำเรือตรวจออกสำรวจ – ประเมินความเสียหายทรัพยากรสัตว์น้ำ 4 จุด ได้แก่ (1) สะพานนวลฉวี – ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  (2) วัดหงส์ปทุมมาวาส จ.ปทุมธานี  (3) อ.สามโคก จ.ปทุมธานี และทีมสุดท้ายจะออกประเมินคุณภาพน้ำตลอดลำน้ำที่เกิดเหตุ

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะนี้  (3 มิ.ย.54 )  ตามรายงานเบื้องต้นที่เกิดขึ้น พบว่า   จ.พระนครศรีอยุธยา- อ.บางปะอิน มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 15 ราย เสียหาย  19 กระชัง   มูลค่าความเสียหายประมาณ 400,000 บาท อ.บางไทร มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 7 ราย เสียหาย  57 กระชัง    มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000,000 บาท จ.ปทุมธานี  - มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย 2 ราย 6 กระชัง แต่เสียหายเพียง 50 %   มูลค่าความเสียหายประมาณ 150,000 บาทจ.นนทบุรี - ไม่มีเกษตรกรได้รับความเสียหาย เนื่องจากการเลี้ยงปลาในกระชังส่วนใหญ่อยู่ในลำคลอง ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประสานกรมชลประทานให้ปิดประตูระบายน้ำที่ระบายลงสู่ คลองแล้ว

สำหรับการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ประสบภัย เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ วันที่ 27 ก.พ.2552  เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2552  คือ กรณีสัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ และอื่นๆ เช่น ปลาสวยงาม กบ ตะพาบน้ำ เป็นต้น  อัตราการให้ความช่วยเหลือ ตารางเมตรละ 257 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร

ทั้งนี้ กรมประมง ขอเตือนให้ผู้เพาะเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำเจ้าพระยา (ที่ยังไม่เกิดความเสียหาย) ตั้งแต่ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เรื่อยมาจนถึงปากแม่น้ำ ให้ระวังภัยจากมวลน้ำเสียที่เกิดขึ้น ขอให้ย้ายปลาที่เลี้ยงออกจากบริเวณที่มวลน้ำเสียไหลผ่าน หรือจับปลาที่พร้อมจำหน่ายออกโดยเร็วที่สุด

Tags :

view