สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกษตรกรให้คะแนนรัฐบาล7เต็ม10

จาก โพสต์ทูเดย์

ม.หอการค้าไทยเผยผลสำรวจเกษตรกรไทยต่อนโยบายรัฐบาลให้คะแนน  7 เต็ม 10 เสนอรัฐบาลใหม่ช่วยลดต้นทุนการผลิตเรื่องปุ๋ย-เมลโพนธุ์

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเผยผลสำรวจสถานภาพเกษตรกรไทยและนโยบายภาคเกษตรที่ เกษตรกรต้องการ  ซึ่งเป็นการสำรวจเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง  1,182 รายทั่วประเทศระหว่างวันที่  19-22 พ.ค.  2554   ในเรื่องทัศนะความนิยมต่อนโยบายด้านการเกษตรของพรรคการเมืองต่าง   พบว่า  เกษตรกรให้คะแนนพอใจต่อนโยบายภาคการเกษตรของรัฐบาลปัจจุบัน 7 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  โดยเกษตรกรภาคเหนือให้คะแนน  7.7 คะแนน ภาคใต้ 7.4คะแนน กทม.และปริมณฑล  7.3 คะแนน ภาคกลาง  7.3 คะแนนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  5.8 คะแนน

สำหรับนโยบาย 5 อันดับแรกในนโยบายของพรรคการเมือง พบว่า อันดับ 1 คือ การเพิ่มเงินประกันรายได้อีก 25%  จากโครงการประกันรายได้  ซึ่งได้คะแนน 7.84%         ลำดับ 2 การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ25% ในเวลา 2 ปีพร้อมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานได้คะแนน  7.69%   ลำดับ 3การขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกรและแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม 25 ล้านคนได้คะแนน  7.69% ลำดับ 4 .การประกันราคาข้าวเปลือกตันละ  2 หมื่นบาท สนับสนุนประกันราคาสินค้าเกษตร 7.71%  และลำดับ 5. ให้เกษตรกรมีบัตรเครดิตไว้ซื้อปัจจัยการผลิต  7.6%  

ทั้งนี้หากแยกเป็นรายภาคจะพบว่า  เกษตรกรในเขตกทม.และปริมณฑลชอบนโยบาย เพิ่มกำไรอีก 25%ของโครงการประกันรายได้มากที่ที่สุด  8.38%  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชอบนโยบายบัตรเครดิตเกษตรกรมากที่สุด 7.58%  ภาคกลางชอบนโยบายประกันสังคมของแรงนอกระบบมากที่สุด  7.8%  ภาคเหนือชอบนโยบายข้าวเปลือกตันละ  2 หมื่นและกองทุนประกันราคาสินค้าเกษตรมากที่สุด  8.27%   เกษตรกรภาคใต้ชอบนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 25% ใน2 ปีมากที่สุด  8.31%

หัวข้อสิ่งที่คาดหวังจากรัฐบาลชุดใหม่มากที่สุดด้านการเกษตร ในหัวข้อภาพรวมที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาด้านใดมากที่สุด เกษตรกร  21.%เห็นว่าต้องลดต้นทุนการผลิตสินค้า   20%  ต้องการให้ดูแลราคาสินค้าเกษตรกรให้สูงขึ้น   16.8% ต้องการให้ดูแลราคาสินค้าแพง 16.1% ปัญหาหนี้สินเกษตรกร  12.9% ต้องการให้แก้ไขภัยธรรมชาติ  12.2%.ให้แก้ไขปัญหาพื้นที่ทำกินของเกษตรกร

ทั้งนี้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล  เกษตรกร 25%  ต้องการให้ ต้องการให้ลดต้นทุนการผลิตทั้งในเรื่องปุ๋ย เมล็ดพันธุ์   มากที่สุด รองลงมา  15.3 %  ต้องการให้ดูแลเรื่องประกันราคาสินค้า   7.5% ให้พักหนี้เกษตรกร ส่งเสริมอาชีพ

ในด้านทัศนะต่อการเลือกตั้งเปรียบเทียบการเลือกส.ส.ในอดีตกับปัจจุบัน พบว่า   เกษตรกรเลือกนโยบายพรรคมากที่สุดถึง  87.1%  ตามด้วยเลือกพรรคที่ต้องการให้หัวหน้าเป็นนายกฯถึง  76.3% เลือกตัวบุคคล  57%  เลือกตามครอบครัว  16.3%   และเลือกตาม เพื่อน  12.5 % โดยเกษตรกรสนใจติดตามข่าวสารการเลือกตั้งด้านนโยบายมากที่สุดถึง 65.81% ข่าวทุจริตการเลือกตั้ง  51.41%  ข่าวลงพื้นที่หาเสียง  47.30% ข่าววิเคราะห์สถานการณ์เลือกตั้ง 32.48% ข่าวทำร้ายกันในช่วงเลือกตั้ง  31.19% ข่าวกลโกงการเลือกตั้ง  25.19% ข่าวโต้วาทีกันเรื่องนโยบายออกทีวี  24.08%   และในหัวข้อที่ไม่ชอบอะไรในการเลือกตั้งปรากฏว่า เกษตรกร  48.2%  ไม่ชอบการทุจริต 24% ไม่ชอบการโจมตีใส่ร้ายและเสียดสีคู่แข่ง  14.1 %  ไม่ชอบการซื้อตัว ส.ส. 9.4% ไม่ชอบความรุนแรงที่เกิดในช่วงเลือกตั้ง  

สำหรับหัวข้อท่านชอบอะไรในการเลือกตั้งพบว่า เกษตรกร  24.8 % ชอบการได้ใช้สิทธิเลือกตั้ง  21.7 ชอบการได้รัฐบาลใหม่  20.8 ชอบที่จะได้เห็นส.ส.ลงพื้นที่  17  ชอบนโยบายพรรคการเมือง   13.6 ชอบที่ได้กลับบ้านไปเลือกตั้ง  อีก 2.2%เป็นในเรื่องอื่นๆ

สำหรับสถานการณ์ด้านภาคเกษตร พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ 56.9 % มีรายได้มากกว่า 10,000-20,001 ต่อเดือน  รายได้หลักมาจากภาคเกษตร  เฉลี่ยครัวเรือนต่อปีอยู่ที่ประมาณ 2.6 แสนบาทซึ่งเป็นรายได้ที่ยังไม่หักต้นทุนการผลิต  เกษตรกร  82.5%   และไม่มีอาชีพเสริมถึง  62.7%  โดยให้เหตุผลว่า ไม่รู้จะทำอาชีพอะไรถึง  44.4%   ไม่มีเงินทุน  39.4%   และเกษตรกรส่วนใหญ่ถึง  84.1 %  เห็นว่าการทำการเกษตรคือตัวการทำให้เกิดภาระหนี้เพิ่ม   โดยเกษตรกร  29.6%  เป็นหนี้มากกว่า  1 แสนบาทขึ้นไป และมีหนี้สินโดยรวมอยู่ที่  1.2 แสนบาทต่อครัวเรือนต่อปี   เป็นหนี้ในระบบ  34.7 และหนี้นอกระบบ 34.7 เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ  30.6%  

เหตุผลสำคัญที่เป็นหนี้นอกระบบมาจากการไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันถึง  50.6  การกู้จากสถาบันการเงินช้าไม่ทันเวลา  25.5 %    ในขณะที่รายได้ของภาคเกษตรในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย   เกษตรกร 74.6 %  เห็นว่าการทำการเกษตรทำให้เขามีเงินเพียงพอต่อการใช้จ่ายจนถึงรอบปี หน้า  เกษตรโดยรวม  55.3% ยังเชื่อว่าการทำการเกษตรจะทำให้เขาปลดหนี้ได้   ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  เกษตรกร  32.1 เห็นว่าลดลงเล็กน้อย  เกษตรกร  31.1    เห็นว่าเท่าเดิม 

Tags :

view