สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชำแหละ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย นักการเมือง วางยา ขึ้นทะเบียนยาฆ่าแมลง

จากประชาชาติธุรกิจ

เหลือเวลาอีกเพียง 4 เดือนที่ยาฆ่าแมลง-ยากำจัดวัชพืช มากกว่า 20,000 ยี่ห้อที่ขายอยู่ในประเทศไทยจะหมดอายุลง หลังจากที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 สิงหาคมที่จะถึงนี้

การ หมดอายุ หรืออีกนัยหนึ่ง ยาฆ่าแมลง/กำจัดศัตรูพืช-ยากำจัดวัชพืชทั้งหมด ซึ่งถือเป็น "วัตถุอันตราย" ที่ผลิตหรือนำเข้าจากต่างประเทศภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอจดทะเบียนใหม่หมด จึงจะสามารถจำหน่ายหลังวันที่ 22 สิงหาคมได้ ส่วนบริษัท/ผู้แทนจำหน่ายรายใดที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน จะไม่มีสิทธิ์ที่จะจำหน่ายยาฆ่าแมลง- ยาจำกัดศัตรูพืชภายในประเทศ

ผล จากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ จึงสร้างความโกลาหลให้เกิดขึ้นกับโรงงาน/ผู้ประกอบการค้า/จำหน่ายยาจำกัด ศัตรูพืช ทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติทันทีในข้อที่ว่า ระยะเวลาที่กรมวิชาการเกษตรให้กับผู้ประกอบการใช้ในการปรับตัว (3 ปีหลังจากที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา) รวมทั้งการรอประกาศฉบับลูกที่จะต้องออกตามนั้น ให้เวลาผู้ประกอบการ "น้อยเกินไป"

หรือผู้ประกอบการมีเวลาแค่ 1 ปีกับอีก 126 วันในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นพิษของสารเข้มข้นและผลิตภัณฑ์ที่จะขอ ขึ้นทะเบียนถึง 12 การทดลอง ซึ่งตามปกติจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีแล้วแต่ความยากง่ายของพิษในสารเคมีกำจัดวัชพืช/แมลงชนิดนั้น ๆ




แต่ ที่สำคัญที่ผู้ประกอบการกังวลกันมากก็คือ การที่กรมวิชาการเกษตร "บังคับ" ให้ข้อมูลด้านพิษวิทยาทั้งหมดที่จะต้องนำมาแสดงต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย จะต้องผ่านการทดลองจากห้องปฏิบัติการ GLP หรือ Good Laboratory Practice ตามมาตรฐานของ OECD เท่านั้น ซึ่งห้องทดลองที่ได้รับมาตรฐาน OECD ใกล้ที่สุดในเอเชียอยู่ที่อินเดีย ขณะที่ห้องทดลอง OECD ในสหภาพยุโรปหรือสหรัฐก็มีน้อยมาก

การไม่มีห้องปฏิบัติการเพื่อจะ ทดลองความเป็นพิษของสารเคมีเป็นของตัวเอง แต่กลับต้องส่งสารเคมีมีพิษไปทดลองในห้องทดลองต่างประเทศนั้น ค่าใช้จ่ายในการทดลองแต่ละ สารเคมีจะสูงมาก ประมาณการกันว่าไม่ต่ำกว่าตัวอย่างละ 10 ล้านบาทแล้วแต่ความรุนแรงของพิษที่เกิดขึ้น

ทั้งหมดนี้ มีแต่ผู้ประกอบการค้า/จำหน่ายสารเคมีทางการ เกษตรส่วนน้อยเท่านั้น ที่จะสามารถเริ่มต้นกระบวนการจดทะเบียนเพื่อขึ้นทะเบียนยากำจัดศัตรู พืช/วัชพืชใหม่ได้ ในขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กว่า 90% ไม่สามารถดำเนินการได้ ผลที่ตามมาก็คือ การ "ผูกขาด" ยาฆ่าแมลง/ยากำจัดวัชพืช จะเกิดขึ้นหลังวันที่ 22 สิงหาคม 2554 เมื่อบริษัทผู้ค้ายาส่วนใหญ่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนยาได้ทันยาฆ่าแมลง/กำจัด วัชพืชก็จะขาดตลาด ตามมาด้วยการปรับขึ้นราคาสินค้าในที่สุด

กระบวน การยกเลิกทะเบียนยาเก่า พร้อมกับบังคับให้ขึ้นทะเบียนยาใหม่ ตามมาด้วยการเข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทผู้ค้ายาบางบริษัทเกิดขึ้นได้ อย่างไรนั้น ตามวัตถุประสงค์ของ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ได้อธิบายไว้ว่า กรมวิชาการเกษตรต้องการ "จำกัด" จำนวนยาฆ่าแมลง/ ยากำจัดศัตรูพืชที่ปัจจุบันมีมากกว่า 20,000 ชื่อสินค้าให้ลดลง

เนื่อง จากสารเคมีตั้งต้น 1 ชนิด สามารถนำมาผสมตามระดับความเข้มข้นเป็นยาฆ่าแมลง/กำจัดวัชพืชได้ไม่จำกัด ยี่ห้อ ยากแก่การตรวจสอบ ประกอบกับปัจจุบันมีสารเคมีทางการเกษตรหลายตัวที่สหภาพยุโรป/สหรัฐประกาศ หรือแบน ห้ามใช้ไปแล้ว แต่ประเทศไทยยังอนุญาตให้ใช้อยู่ (บัญชี Watch List 12 รายการ) ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงต้องการล้างบัญชีวัตถุอันตรายที่ใช้ในการเกษตรใหม่ทั้ง หมด

อย่างไรก็ตาม นายอนันต์ ดาโลดม อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร อดีตสมาชิกวุฒิสภา/นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้ตั้งคำถามไว้ในงานสัมมนาเชิงวิชาการ "22 สิงหา หมดเวลา พ.ร.บ.วัตถุอันตรายเกษตร" ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ว่า "ทำไมต้องแก้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย และ กระบวนการแก้ พ.ร.บ.มีที่มาที่ไปอย่างไร" (ตัว พ.ร.บ.ลงนามโดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีในปี 2551, ประกาศกระทรวงเกษตรฯที่เกี่ยวข้องลงนามโดย นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ และประกาศกรมวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง ลงนามโดย นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตรในขณะนั้น)

หลัก การในการแก้ไขก็คือ มีสินค้าเกษตรหลายต่อหลายรายการถูก "แบน" จากการใช้ยาผิดประเภทหรือยาที่ประเทศผู้นำเข้าห้ามใช้แล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่กระบวนการแก้ไขที่ เกิดขึ้นกลับเป็นเรื่องที่ขาด ความโปร่งใสอย่างรุนแรง สาเหตุจากผู้ประกอบการที่ค้ายาทั้งบริษัทไทยและบริษัทข้ามชาติ "ไม่มีส่วนร่วม" ในการแก้ไข พ.ร.บ. แต่กรมวิชาการเกษตรใช้อำนาจรัฐเข้ามาบังคับผู้ประกอบการด้วยเงื่อนไขการขอ ขึ้นทะเบียนที่ไม่สามารถปฏิบัติได้

"เป็นเรื่องของการชี้นำผล ประโยชน์จากการใช้กฎหมายเป็นตัวนำร่อง มีข้าราชการเป็นเครื่องมือ แต่อย่าไปโทษอธิบดีกรมวิชาการเกษตรคนปัจจุบัน เพราะการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ มันถูกชงมาก่อนหน้าท่าน"

สอดคล้องกับนายประสิทธิ์ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย ก็เชื่อว่าการแก้ไข พ.ร.บ.โดยผู้ประกอบการไม่มี ส่วนร่วมมาตั้งแต่ต้นนั้น เพราะมีนักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ปัญหาจึงเกิดตามมา และต่อไปจะกระทบกับเกษตรกรโดยตรงจากการที่ยาฆ่าแมลง-ยากำจัดศัตรูพืชจะ แพงขึ้น เพราะถูกผูกขาดการขายจากบางบริษัท ไม่มีการแข่งขัน สินค้าขาดตลาดและมีราคาแพง สุดท้ายก็จะเกิดตลาดมืดในที่สุด

Tags :

view