สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ยาฆ่าแมลง2หมื่นยี่ห้อป่วนหนัก ผู้ค้าวิ่งพล่านแห่จดทะเบียน อย.

จากประชาชาติธุรกิจ

ผู้ค้าสารเคมีเกษตรป่วนหนัก เหลือเวลา 4 เดือนยาฆ่าแมลง/ ยากำจัดวัชพืช 20,000 ยี่ห้อหมดอายุ เหตุยื่นขอจดทะเบียนใหม่กับกรมวิชาการเกษตรไม่ทัน หนีตายวิ่งมาจดทะเบียนกับ อย. แทน หวั่นอียูตรวจย้อนหลัง มีสิทธิ์ถูกแบน



ผู้ประกอบการค้าสารเคมีการเกษตรป่วนหนัก เหลือเวลาอีก 4 เดือนยาฆ่าแมลง/ยากำจัดวัชพืช 20,000 ยี่ห้อหมดอายุ เหตุยื่นขอจดทะเบียนยาใหม่กับกรมวิชาการเกษตรไม่ทัน สุดท้ายหนีตายวิ่งมาจดทะเบียนยากับ อย.แทน หวั่นสหภาพยุโรปตรวจย้อนหลัง พบจดทะเบียนสารเคมีการเกษตรผิดประเภท มีสิทธิ์ถูกแบนพืชผักผลไม้รอบใหม่

ดร.วีร วุฒิ กตัญญูกุล นายกสมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการค้าสารเคมีทางการเกษตร เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงความกังวลของสมาชิกที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนสารเคมีทางการเกษตรที่จะหมด อายุลงในวันที่ 22 สิงหาคมที่จะถึงนี้ว่า จะมียาฆ่าแมลง/ยากำจัดศัตรูพืชในชื่อสามัญ 665 สารตั้งต้นหรือ 20,000 ชื่อทางการค้าที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551

เนื่องจาก พ.ร.บ.วัตถุอันตรายฉบับใหม่กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าสารเคมีทางการเกษตร ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายทั้งหมด ต้องมายื่นขอจดทะเบียน-ขอครอบครองและขอจำหน่ายยาฆ่าแมลง/ยากำจัดศัตรูพืช ก่อนวันที่ 22 สิงหาคม 2554 แต่กระบวนการในการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประกาศกระทรวงเกษตรฯ, ประกาศกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยหลักเกณฑ์/วิธีการขึ้นทะเบียน หรือการกำหนดอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้า 1 สารเคมีตั้งต้นต่อ 3 ชื่อทางการค้า เป็นไปอย่างล่าช้า

ประกอบกับกรมวิชาการเกษตร บังคับให้ผู้ประกอบการต้องทำการทดลองความเป็นพิษของสารเข้มข้นและยาสำเร็จ รูปจากห้องทดลอง GLP ที่ได้รับมาตรฐาน OECD ซึ่งในประเทศไทยไม่มีห้องทดลองตามมาตรฐานนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมากกว่าร้อยละ 95 ไม่สามารถขึ้นทะเบียนยาฆ่าแมลง/ยากำจัดวัชพืชได้ทันตามที่ พ.ร.บ.วัตถุอันตรายกำหนด (รายละเอียดอ่าน น.2)

ล่าสุดมีรายงานข่าว เข้ามาว่า มีผู้ประกอบการค้ายากำจัดศัตรูพืชจำนวนหนึ่งใช้วิธีนำสารเคมีเกษตรตั้งต้น หรือยาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน ไปจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แทนการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร โดยวิธีการที่ผู้ประกอบการเหล่านี้ใช้ก็คือ ต้องการให้ได้รับการรับรองทะเบียนสารเคมีการเกษตรภายใต้กฎหมายของ อย.และพร้อมที่จะวางจำหน่ายหลังวันที่ 22 สิงหาคม 2554

ยกตัวอย่าง สารเคมีทางการเกษตรประเภทหนึ่งมีฤทธิ์สามารถกำจัดปลวกและกำจัดเพลี้ยในนา ข้าวได้ ผู้ประกอบการก็จะนำสารเคมีชนิดนั้นไปยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อย. โดยสำแดงว่าเป็นกำจัดปลวก เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วนำมาติดเครื่องหมายการค้าของตัวเองส่งไปวาง จำหน่ายในร้านตัวแทนจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรทั่วประเทศ แต่ให้ตัวแทนจำหน่ายแนะนำเกษตรกรว่า ยากำจัดปลวกตัวนี้เป็นตัวเดียวกับยาฆ่าเพลี้ยที่เกษตรกรเคยใช้อยู่ เป็นต้น

ดร.วีร วุฒิยอมรับว่า มีผู้ประกอบการบางส่วนใช้วิธีหลีกเลี่ยงไปขึ้นทะเบียนยากับ อย.จริง เนื่องจากผู้ประกอบการเหล่านั้นมองเห็นแล้วว่า ระยะเวลาที่เหลืออีก 4 เดือนตนเองไม่สามารถขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร ได้ทัน

ที่ สำคัญก็คือ หากสหภาพยุโรปหรือสหรัฐตรวจสอบย้อนหลังไป จนพบว่าพืชผักผลไม้เหล่านี้ใช้ยากำจัดศัตรูพืชขึ้นทะเบียนโดย อย.ไม่ใช่ทะเบียนของกรมวิชาการเกษตรแล้ว "มันก็จะยุ่งกันใหญ่ เพราะเป็นการใช้สารเคมีผิดประเภท" ดร.วีรวุฒิกล่าว

Tags :

view