สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

น้ำต้นทุนในอ่างเหลือน้อยงดปลูกข้าวนาปรัง

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

นายอรรถ อินทลักษณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำชลประทานในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 พบว่ามีปริมาณน้ำใช้การได้  21,619  ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่าง ในขณะที่อ่างน้ำเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่อ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อย และป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4 อ่าง มีปริมาณน้ำใช้การ 6,513 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่าง จะเห็นได้ว่าน้ำต้นทุนสำหรับปลูกพืชฤดูแล้งเหลือน้อยแล้ว แต่ขณะนี้เกษตรกรในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาปลูกข้าวนาปรังเต็มพื้นที่  ทั้งประเทศ 13.55 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 108 ของแผนการปลูกข้าวนาปรังทั้งประเทศ  ซึ่งคณะทำงานวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศไว้ 15.29 ล้านไร่ แยกเป็นแผนการปลูกข้าวนาปรัง 12.60 ล้านไร่   และแผนการปลูกพืชไร่-ผัก 2.69 ล้านไร่
   
อธิบดีกรมส่งเสริมฯ กล่าวต่อว่า จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ปลูกเกินแผนที่กำหนด ไว้แล้ว ร้อยละ 118 ของแผน กล่าวคือแผนกำหนดไว้ 8.95 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 10.55 ล้านไร่ แยกเป็นในเขตชลประทาน 7.54 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 3.01 ล้านไร่ ดังนั้นเกษตรกรควรงดการปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ในช่วงนี้  เพราะอาจทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังเสียหายเนื่องจากการขาดน้ำได้ หากมีความจำเป็นเกษตรกรสามารถหันมาปลูกพืชผักที่ใช้น้ำน้อยมาปลูกทดแทนได้ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ รวมทั้งป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชอีกด้วย.
 

Tags :

view