สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โรงไฟฟ้าชีวมวลจะเติบโตได้ รัฐต้องให้ราคารับซื้อไฟฟ้าสูงขึ้นอีกนิด

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

นักวิจัยดันพืชกลุ่มกระถินดันเป็นชี วมวลผลิตไฟฟ้า ปลูกง่าย ทนแล้ง โตเร็ว มีให้เลือกหลากสายพันธุ์ เหมาะเป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าสำหรับชุมชน ด้าน สกว. แนะให้รัฐเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากชีวมวล
       
       ในงานประชุมวิชาการเรื่อง "บทบาทพลังงานชีวมวลเพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย" ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ย.53 ณ โรงแรมใบหยก สกาย ศ.ดร.สายัณห์ ทัดศรี นักวิจัยจากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยผลการศึกษาความพร้อมและศักยภาพในการตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กสำหรับ ชุมชน โดยพบว่าวัตถุดิบที่มีศักยภาพสำหรับป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลมีทั้งวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตร ไม้โตเร็ว และหญ้า ซึ่งไม้โตเร็วนั้นมีจุดเด่นตรงที่ความยั่งยืนและมั่นคงของผลผลิต และช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าด้วย แต่อาจต้องลงทุนสูงเพราะต้องมีการจัดการที่ดีด้วย
       
       สำหรับไม้โตเร็วที่โดดเด่น ได้แก่ ยูคาลิปตัสและไม้ในกลุ่มกระถิน แต่นักวิจัยพบว่ากระถิน มีศักยภาพและความได้เปรียบมากกว่า เนื่องจากมีหลายพันธุ์ที่พร้อมจะนำไปปลูกเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวมวล ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร ซึ่งกระถินสามารถตรึงไนโตรเจนได้ ใช้เป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ทนแล้งได้ดีและฟื้นตัวเร็ว ปลูกครั้งเดียวสามารถใช้ได้มากกว่า 50 ปี โดยที่สามารถตัดได้ทุกปี หากตอยิ่งมีขนาดใหญ่ จะยิ่งแตกเป็นต้นเล็กๆ ได้จำนวนมาก และยังสามารถปลูกร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้ เช่น มันสำปะหลัง แต่มีข้อเสียคืออาจถูกทำลายโดยเพลี้ยไก่ฟ้าได้ในบางช่วง
       
       "เทคโนโลยีการปลูกไม้โตเร็วมีความพร้อมที่จะนำไปใช้สำหรับโรงไฟฟ้าชี วมวล โดยที่ความเป็นไปได้นั้นขึ้นอยู่กับราคารับซื้อของโรงไฟฟ้า และส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งรัฐบาลจะมีส่วนสำคัญที่สุดในการจัดตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลสำหรับชุมชน" ศ.ดร.สายัณห์ ระบุ
       
       ด้าน ศ.ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนการวิจัย สกว. กล่าวว่า ในแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า 15 ปี ได้ประเมินกำลังการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลในปี 2565 เป็น 3,700 เมกะวัตต์ ซึ่งจากงานวิจัยหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่าไม้โตเร็วหลายชนิด เช่น กระถิน ยูคาลิปตัส มีความเป็นไปได้สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก
       
       อย่างไรก็ตาม ส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้าสำหรับพลังงานชีวมวลยังต่ำเกินไป เพียง 1.50 บาทต่อหน่วย เมื่อเทียบกับส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้าสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ที่สูงถึง 8 บาทต่อหน่วย ถ้าหากรัฐบาลทบทวนให้มีการปรับส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้า จากชีวมวลให้ใกล้เคียงกับส่วนเพิ่มราคาซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม (3.50 บาท) น่าจะช่วยให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวลเพิ่มขึ้นได้อีก เช่นเดียวกับการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำที่มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมคล้ายกับพลังงาน แสงอาทิตย์ แต่กลับมีส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากน้ำต่ำเท่ากับไฟฟ้าจากชีวมวล

Tags :

view