สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ค้าปลีก ส่อแววฝืด..ปัจจัยลบรุมเร้า

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : รีเทลส์ ดีเทลส์ โดยสรัญญา แดงอินทวัฒน์

 

ค้าปลีก’ ส่อแววฝืด..ปัจจัยลบรุมเร้า การเมืองไม่นิ่ง-ราคาสินค้าพุ่ง-ลูกค้ารัดเข็มขัด
เมื่อ ย่านราชประสงค์กลายเป็นพื้นที่เชิงสัญลักษณ์ของกลุ่มคนเสื้อแดงและมีทีท่า ว่าจะเคลื่อนขบวนเข้ามาชุมนุมเป็นระยะๆ ถือเป็นตัวแปรหลักของผู้ประกอบการในย่านนี้ซึ่งกำลังเข้าสู่สภาพ “เสี่ยงสูง” ที่การดำเนินธุรกิจในปีนี้อาจไม่ราบรื่นอีกครั้ง  
ชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA) กล่าวว่า บรรยากาศการเมืองเช่นนี้ย่อมมีผลต่อภาวะการค้าปลีก การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักในการสร้างรายได้ของประเทศไทยนั้น ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤติการเมืองปีที่ผ่านมาและยังไม่อยู่ในสภาพ ที่เรียกว่า “ฟื้นตัว” เต็มที่ จะเห็นได้จากช่วงหน้าขายและทำเงินสูงสุดอย่างเดือน ธ.ค.53  พบว่ายอดขายและปริมาณนักท่องเที่ยวโดยภาพรวมต่ำกว่าคาดการณ์ถึง 15%
ทั้ง นี้ จากการที่กลุ่มผู้ชุมนุมยังใช้พื้นที่สาธารณะบริเวณย่านราชประสงค์ในการ ชุมนุมเดือนละ 1-2 ครั้ง แต่ละครั้งมีผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยที่ยังไม่ได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมจากรัฐบาลในเรื่องการชุมนุม ซึ่งกำลังละเมิดสิทธิบุคคลอื่นจึงยังส่งผลเสียหายที่ประเมินไม่ได้ต่อเนื่อง “เมื่อ ประชาชนและนักท่องเที่ยวขาดความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในพื้นที่ทำให้ นักท่องเที่ยวต่างชาติและชาวไทยเดินทางเข้ามาย่านราชประสงค์ลดน้อยลง” ชาย กล่าว
สอดคล้องกับ ประวิช  จรรยาสิทธิกุล  รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ภูเก็ตแสควร์ จำกัด  ผู้บริหารศูนย์การค้าจังซีลอน จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ภาพรวมธุรกิจค้าปลีกปีนี้ “น่าเป็นห่วง”  ด้วยสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นแต่ “ไม่มากนัก” ถือเป็น ปีตั้งรับของผู้ประกอบการค้าปลีกต่อสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า ยังไม่น่าไว้วางใจ!!
นอกเหนือจากความไม่นิ่งของปัญหาการเมืองในประเทศแล้ว ธุรกิจค้าปลีกต้องเผชิญ”ปัจจัยลบ” รอบด้าน ตั้งแต่  “เงินบาทแข็งค่า”  ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติชะลอการใช้จ่าย  และลดการซื้อสินค้าแฟชั่นฟุ่มเฟือย
ปัญหา ภัยพิบัติ อาทิ กลุ่มประเทศยุโรปมีหิมะตกอย่างหนัก ทำให้สายการบินต่างๆ ยกเลิกเที่ยวบิน แน่นอนว่า ลูกค้ายุโรปที่เคยเดินทางท่องเที่ยวไทยและเข้ามา “ภูเก็ต” เป็นหลัก “ลดลง” โดยพบว่า ลูกค้ากลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรปในจังซีลอน ลดลงประมาณ 20%
ขณะที่ “ชาวไทย” มีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนไป เน้นซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันมากกว่า “แฟชั่น” หรือ “สินค้าฟุ่มเฟือย”  ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงประมาณ 20% ขณะที่กลุ่มสินค้าจำเป็นขยายตัว 20%
ผู้บริหารจังซีลอน กล่าวอีกว่า การดำเนินธุรกิจของจังซีลอนในปีนี้ จะเน้น “ซีอาร์เอ็ม” ให้ “มูลค่าเพิ่ม” กับลูกค้านักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลักผ่าน จังซีลอน ทัวร์ริส พริวิลเลจ การ์ด นอกจากนี้เน้นทำอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้งร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ อาทิ สายการบิน การใช้สื่อออนไลน์เข้าถึงลูกค้า เป็นต้น
แหล่งข่าวระดับสูงในกลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีก กล่าวว่า แนวโน้มราคาสินค้าที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายกลุ่มสินค้าเริ่มส่งผลต่อ ความเชื่อมั่นในการบริโภคอยู่ในภาวะชลอตัว ซึ่งภาวะการณ์ดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ตัดสินใจซื้อช้าลงในกลุ่มสินค้าที่ไม่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
“แม้ จะมีปัจจัยบวกของการปรับขึ้นเงินเดือนทั้งภาครัฐและเอกชน แต่สินค้าหลายกลุ่มซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตปรับตัวสูงขึ้น ทั้งน้ำมันพืช นม ข้าวสาร  อาหารสด น้ำตาล รวมไปถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ปัญหาการเมืองที่ยังมีการชุมนุมอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจอนาคต และเริ่มรัดเข็มขัด เก็บเงินสดมากขึ้น” แหล่งข่าวกล่าว
ขณะเดียวกัน ภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ส่งผลต่อปริมาณนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ข้อมูลข่าวสารในปัญหาการเมืองไทยยังคงเป็น “ภาพลบ” ในสายตาต่างชาติ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม รวมทั้งค้าปลีกที่มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติ โดยเฉพาะย่านใจกลางเมือง และหัวเมืองท่องเที่ยว

Tags :

view