สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวบ้านอ่วมราคาสินค้าอาหารจ่อขยับอีก

จาก โพสต์ทูเดย์

ราคาสินค้าอาหารทั้งในประเทศ และส่งออกเตรียมปรับขึ้น 5% ในช่วงไตรมาส 2 ด้านร้านอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง อาจต้องขึ้นราคามากกว่า เหตุต้นทุนสูง

นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2554 แนวโน้มราคาสินค้าอาหารน่าจะปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 3-5% ทั้งสินค้าที่จำหน่ายในประเทศ และสินค้าที่ขายเพื่อการส่งออก โดยน่าจะเห็นราคาที่สูงขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการอาจจะมีต้นทุนเก่าอยู่ และรอดูภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าควบคู่ไปด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบหลักที่สำคัญ เช่น กะทิ ซึ่งเป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารไทย สูงขึ้นจากเดิม 20 บาทต่อกิโลกรัม มาอยู่ที่ 50 บาทต่อกิโลกรัม และยังหาซื้อยากอีกด้วย จึงอาจทำให้อาหารที่ต้องใช้กะทิเป็นส่วนประกอบจะมีราคาสูงขึ้น

ขณะที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกก็ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมอาหารแช่อิ่ม หรืออาหารกระป๋องที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเพื่อการส่งออกจะได้ รับผลกระทบค่อนข้างมาก ส่วนกลุ่มที่ใช้น้ำตาลโควตาในประเทศก็หาซื้อยาก และบางครั้งต้องซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาปกติ จึงต้องพิจารณาปรับราคาขึ้นเช่นเดียวกัน

สำหรับราคาน้ำมันปาล์มที่ราคาสูงขึ้นขวดละ 9 บาท จะส่งผลกระทบมากต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) หรือแม่ค้า พ่อค้า รายย่อยมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เนื่องจากผู้ประกอบการรายใหญ่ที่ต้องทอดอาหาร จะใช้วิธีการทอดแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช้น้ำมัน แต่กลุ่มร้านอาหารตามสั่ง ข้าวราดแกง ร้านขายกล้วยทอด ปาท่องโก๋ หรือทอดขนมขาย จะกระทบมาก ซึ่งอาจจะทำให้ราคาสินค้าที่ซื้อกินในชีวิตประจำวัน หรืออาหารชาวบ้าน ต้องปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 5%

นอกจากนี้ ค่าแรงที่ปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2554 เป็นต้นไป ทำให้ต้นทุนค่าแรงของผู้ประกอบการปรับเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนค่าแรงในภาคอุตสาหกรรมอาหารคิดเป็น 0.4 -1% ของต้นทุนรวม จึงไม่ได้กระทบมากเท่ากับอุตสาหกรรมอื่นๆ รแช่อิ่ม หรืออาหารกระป๋องที่ใช้น้ำาคาน้ำรไทย เชน กะทิ ณะนี้ผู้ประกอบการตลอดจนต้นทุนด้านพลังงาน เช่น ราคาน้ำมัน ก็กระทบต่อค่าขนสินค้าอย่างมาก ซึ่งต้นทุนด้านโลตจิสติกส์คิดเป็น 25% ของต้นทุนทั้งหมด ก็มีแนวโน้มที่จะขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้

“ในช่วงไตรมาส 2 น่าจะเห็นผู้ประกอบการเริ่มปรับราคาสินค้าขึ้นบ้าง เพราะเริ่มแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว ซึ่งจะขึ้นมากน้อยขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละประเภท ส่วนราคาสินค้าส่งออกก็ต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งด้วย และเชื่อว่าคู่แข่งน่าจะขึ้นราคาเหมือนกัน เพราะน่าจะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบเหมือนกัน ปีนี้ผู้ประกอบการคงจะขายของได้กำไรน้อยลงแทบทุกประเภท” นายวิศิษฎ์ กล่าว

Tags :

view