สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกษตรฯสั่งงดส่งผักไทยไปอียูชั่วคราว

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

กรมวิชาการเกษตร ยอมงดส่งผักไทยไปอียูเริ่ม 1 ก.พ. นี้ หลังแก้ปัญหาไม่ผ่านตรวจสอบศัตรูพืช หวั่นลามถึงสินค้าอื่น พร้อมใช้เวลา 3 เดือนแก้ไข
นายจิรากร โกศัยเสวี อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากที่สหภาพยุโรปหรืออียูได้ตรวจพบศัตรูพืชกักกันในสินค้าพืชผักผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2552 ทำให้อียูสเพิ่ม ความเข้มงวดในการตรวจสอบและเตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้าพืชผักบางชนิดของไทย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้เจรจากับหน่วยงาน Health and Consumer ( DG-SANCO )ของอียูเพื่อแก้ไขปัญหานี้ และอียูเห็น ว่าหากไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขอนามัยพืชในสินค้าพืชผัก จำนวน 5 กลุ่มได้ก็จำเป็นต้องออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากไทย เนื่องจากเป็นพืชควบคุม และศัตรูพืชที่ตรวจพบเป็นศัตรูพืชกักกันของอียู

ดังนั้นเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลามรุนแรงถึงระดับที่อียูออก กฎหมายห้ามนำเข้าจากไทย ซึ่งจะกระทบต่อภาพลักษณ์สินค้าเกษตรไทยโดยรวมได้ ทางกรมวิชาการเกษตรจึงจะระงับการส่งออกสินค้าพืชผักชนิดดังกล่าวเป็นการชั่ว คราว เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2554 เป็นต้นไป โดยกรมวิชาการเกษตรจะออกประกาศ ชะลอการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชผักทั้ง 5 กลุ่มที่จะส่งออกไปยังอียู

ทั้งนี้การชะลอออกใบรับรองสุขอนามัยพืชดังกล่าวเป็นมาตรการชั่วคราวที่ ประเทศไทยแสดงเจตนาและแสดงความจริงใจในการเร่งแก้ไขปัญหาสุขอนามัยพืชส่งออก ไปอียู การจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับผลการปรับปรุงระบบควบคุมการผลิตของผู้ส่งออก และผู้ประกอบการในระหว่างบังคับใช้มาตรการ โดยในเบื้องต้นกรมวิชาการเกษตรเสนอที่จะใช้เวลาแก้ไขปัญหานี้อย่างน้อย 3 เดือน แต่ทางผู้ประกอบการเห็นว่าควรดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 2 สัปดาห์

“ ในระหว่างนี้อียูจะ ยังคงตรวจสินค้าพืชผักและผลไม้อื่นๆ ที่นำเข้าจากไทยได้ตามปกติ หากผลการตรวจสินค้าอื่นๆ ไม่เป็นที่น่าพอใจและยังตรวจพบการลักลอบส่งออกสินค้าไทยก็ยังไม่สามารถยก เลิกมาตรการนี้ได้ อาจทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการส่งออกสินค้าพืชผักทั้ง 5 กลุ่ม คิดเป็นมูลค่ากว่า 738 ล้านบาท หรือประมาณ 2,700 ตันต่อเดือน หรืออาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียตลาดส่งออก ” นายจิรากร กล่าว

นายจิรากรกล่าวว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรได้เตรียมชี้แจงผู้ส่งออก ผู้ประกอบการ โรงคัดบรรจุ และตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าทั้งหมดเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน พร้อมประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และร่วมวางแผนบูรณการแก้ปัญหาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสร้างความเชื่อ มั่นให้กับอียูโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามกรมวิชาการเกษตรขอความร่วมมือให้ผู้ส่งออกปฏิบัติตามกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้เร่งปรับปรุงระบบควบคุมด้านความปลอดภัย ทั้งด้านสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงด้านสุขอนามัยพืชด้วย เนื่องจากมาตรการของอียูที่ กักสุ่มตรวจสารตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ในสินค้าพืชผัก เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ คะน้า กะเพรา โหระพา ผักชีไทย และสะระแหน่ อาจยกระดับความรุนแรงเป็นมาตรการห้ามนำเข้าได้หากยังตรวจพบปัญหาอย่างต่อ เนื่อง

“ ปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีการตรวจสอบสินค้าเกษตรอย่างเข้มงวดก่อนการส่ง ออกทุกชิปเมนท์ หากตรวจพบการลักลอบซุกซ่อนสอดไส้สินค้าพืชควบคุม กรมวิชาการเกษตรจะดำเนินตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด หรือหากพบว่ามีลักลอบส่งออก ขอให้แจ้งข้อมูลกับกรมวิชาการเกษตรเพื่อจะได้ดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่ สุด และถ้าพบเป็นความผิดของเจ้าหน้าที่จะต้องถูกดำเนินการทางวินัยเช่นกัน ” นายจิรากร กล่าว

ส่วนผักทั้ง 5 กลุ่ม ที่ผลิตได้ในแปลงจีเอพีประมาณ 1,000 แปลงขณะนี้จะประสานกับกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรับซื้อ และคาดว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะไม่กระทบกับโครงดารครัวไทยสู่ครัวโลก เนื่องจากสินค้าเหล่านี้ยังสามารถส่งออกได้ในประเทศอื่นๆ แต่ก็ควรระวังและควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้เกินมาตรฐานที่ประเทศนั้นๆ

สำหรับพืชทั้ง 5 กลุ่มประกอบด้วย พืชสกุล Ocimum spp. ได้แก่ กะเพรา โหระพา แมงลัก ยี่หร่า พืชสกุล Capsicum spp. ได้แก่ พริก พืชสกุล Momordica charantia ได้แก่ มะระจีน มะระขี้นก พืชกลุ่ม Solanum melongena ได้แก่ มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือม่วง มะเขือขาว มะเขือขื่น และพืช Eryngium foetidum คือ ผักชีฝรั่ง

Tags :

view