สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มก. เผยผลวิจัยวัคซีน ป้องกันโรคระบาดในสุกร

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

การ แพร่ระบาดของโรค PRRS ในสุกร ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้หมูแท้งลูก ซึ่งมีการระบาด ในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ หนองคาย และพิษณุโลก ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และผู้บริโภค ซึ่งจะต้องเร่งหาวิธีการป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาดที่รุนแรงในวง กว้าง
   
PRRS ในสุกร ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้หมูแท้งลูก ภาควิชาเวชศาสตร์และทรัพยากรการผลิตสัตว์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ กล่าวว่า เชื้อไวรัส PRRS (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ได้ระบาด ในหลายจังหวัดของไทยส่งผลให้สุกร  ตายยกฟาร์มจึงได้ทำวิจัยเพื่อสร้างวัคซีนฉีดควบคุมและป้องกันโรคระบาดในสุกร (PRRS) ขึ้นเชื้อดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและระบบการสืบพันธุ์ โดยเชื้อดังกล่าวจะคงอยู่ในร่างกายสุกรนานมาก สำหรับสาเหตุและปัจจัยก่อโรคนั้นส่วนหนึ่งมาจากการเคลื่อนย้ายสุกรป่วย หรือสุกรที่เป็นพาหะของโรคเข้า  มารวมฝูง และ การใช้พ่อพันธุ์เร่ จากหมู่
 บ้านต่าง ๆ เมื่อมีการ

ติดเชื้อจะแพร่ระบาด ไปอย่างรวดเร็วและ

เชื้อโรคจะถูกขับ ออกมาจากร่างกายของสุกรป่วยทางอุจจาระปัสสาวะลมหายใจ น้ำเชื้อ และติดต่อไปยังสุกรตัวอื่นโดยการกินและสัมผัสโดยตรง หากเป็นแม่สุกรพันธุ์จะแท้งในช่วงท้ายการตั้งท้อง และมีลูกตายแรกคลอด
   
ทีมวิจัยจึงได้คิดค้นวัคซีนที่ผลิตจาก เชื้อ PRRSv ชนิด US-strain ที่คัดแยกได้จากสุกรป่วยในประเทศไทย “ชนิดเชื้อตาย” มาพัฒนาทดลองใช้ควบคุมโรครองรับการผลิตในฟาร์มขนาด  ใหญ่ เป็นเวลามากกว่า 5 ปี โดยใช้ร่วมกับ “ชนิดเชื้อเป็น” ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการใช้ในลูกสุกร โดยใช้ฉีดเพียงครั้งเดียว  โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ถ่ายทอดวิธีการผลิตวัคซีนให้กับกรมปศุสัตว์และ ได้มอบวัคซีน

 ทั้งแบบเชื้อตายและเชื้อเป็นจำนวน 15,000 โดส ให้กับกรมปศุสัตว์เพื่อนำไปใช้ฉีดควบคุมและรักษาโรคระบาด PRRS ในสุกรต่อไป
       
สำหรับผู้เลี้ยงสุกรที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่คณะ สัตวแพทย ศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ โทรศัพท์ 0-2942-8751-9.

Tags :

view