สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกษตรชง6มาตรการอุ้มสินค้าตกต่ำ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"เกษตรฯ"ชง 6 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ตกต่ำปี 2554 เตรียมเสนองบดำเนินการ 300 ล้านจาก คชก.
  นาย ธีระ วงศ์สมุทร  รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าจากการสำรวจสถานการณ์การผลิตไม้ผลปี 2554ในช่วงแรกของการเพาะปลูก พบว่า ทุเรียน มีพื้นที่ยืนต้นลดลงเนื่องจากเกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนไปปลูกยางพาราและปาล์ม น้ำมันขณะนี้อยู่ในช่วงออกดอกแล้วประมาณ 34%คาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ในเดือนเมษายน 2554 ส่วนเงาะอยู่ในช่วงเริ่มออกดอกประมาณ 1%และพื้นที่ยืนต้นลดลงเนื่องจากมีการหันไปปลูกกล้วยไข่ ยางพาราและปาล์มน้ำมันมากขึ้น ส่วนมังคุดและลองกองจะเริ่มออกดอกในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2553


 นอกจากนั้นยังได้มีการวางแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลไม้ปี 2554ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากปีที่ผ่าน ๆ มามีข้อคิดเห็นว่าในการใช้งบประมาณในแต่ละปีส่วนใหญ่จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ ปลายน้ำดังนั้น จึงต้องเพิ่มการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่ต้นน้ำเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคได้รับประโยชน์ร่วมกันรวมถึงลดภาระงบประมาณการช่วย เหลือในแต่ละปีได้อีกด้วย  โดยแนวทางที่จะดำเนินการในปี 2554 นั้นจะให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตร ระดับจังหวัดเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการและกำกับดูแลการป้องกันและแก้ไข ปัญหาผลไม้ในพื้นที่และเน้นการเปิดโอกาสให้กับเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนอย่างแท้จริงควบคู่ไปกับการเน้นการปรับปรุงและพัฒนา คุณภาพเพื่อเพิ่มปริมาณผลไม้คุณภาพดี ลดปริมาณผลไม้เกรดรองลงและที่สำคัญคือจะไม่มีการแทรกแซงราคาแต่จะใช้การสนับ สนุนให้กลไกตลาดปกติดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงเร่งกระจายผลไม้สด คุณภาพดีจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว


 โดยเบื้องต้นได้วางมาตรการดำเนินงานทั้งสิ้น 6 มาตรการเพื่อจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมและขอสนับสนุนการ คชก. ต่อไป คือ1. มาตรการพัฒนาคุณภาพ ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพผลผลิตตั้งแต่ขั้นตอนการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวจนถึงการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพและ ความสดจนถึงมือผู้บริโภค 2.มาตรการกระจายผลผลิตภายในประเทศ เน้นการหาตลาดล่วงหน้า 3.มาตรการส่งเสริมการแปรรูป 4. มาตรการผลักดันส่งออก 5.มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ 6.มาตรการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ผลไม้ในต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯในฐานะหน่วยงานที่ดูแลด้านการผลิตจะบูรณาการการดำเนินงาน ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ซึ่งดูแลเรื่องการตลาดรวมถึงประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นศูนย์ อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การบริหารจัดการผลไม้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป


 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินงาน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ปี 2553-2557 โดยผลการดำเนินงานในปี 2553 ซึ่งกำหนดวงเงินงบประมาณไว้รวม 287.25ล้านบาท มีหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งงบประมาณสนับสนุนยุทธศาสตร์ฯ จำนวน 131.75ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.6 เพื่อดำเนินงานใน 3 กลยุทธ์ คือการพัฒนาศักยภาพการผลิต 55.47 ล้านบาท การพัฒนาตลาดภายในประเทศ 53.14ล้านบาท และการพัฒนาตลาดส่งออก 23.12 ล้านบาทซึ่งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว
 ทั้งนี้มีรายละเอียดดัง นี้ คือกลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพการผลิต ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 55,472,356 บาทอันได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร ใช้งบประมาณ 3,882,000 บาทกรมวิชาการเกษตร ใช้งบประมาณ 3,771,239 บาท สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรใช้งบประมาณ 1,088,587 บาท กรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้งบประมาณ 1,500,000 บาทและการดำเนินงานในระดับพื้นที่ของจังหวัดต่าง ๆ ใช้งบประมาณ 45,230,530บาท และกลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาตลาดภายในประเทศ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น53,147,454 บาท ได้แก่ กรมการค้าภายใน ใช้งบประมาณ 25,000,000 บาทกรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้งบประมาณ 3,340,900 บาท กรมประชาสัมพันธ์ใช้งบประมาณ1,3000,000 บาท และการดำเนินงานในระดับพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ ใช้งบประมาณ 24,806,554 บาท
 กลยุทธ์ ที่ 3 พัฒนาตลาดส่งออกใช้งบประมาณทั้งสิ้น 23,121,300 บาท ได้แก่ กรมส่งเสริมการส่งออกใช้งบประมาณ 21,121,3000 บาท และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ใช้งบประมาณ 2,000,000บาท นอกจากนั้น ยังได้รับงบประมาณจากคณะกรรมการกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร(คชก.) ในโครงการบริหารจัดการผลไม้ปี 2553 รวม 4 โครงการ ได้แก่1.โครงการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออก เป้าหมาย 45,000 ตันดำเนินการได้ 35,854 ตัน คิดเป็นร้อยละ 79.66 วงเงินจ่ายขาด 116.72ล้านบาท ใช้ไป 91.42 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.32 2.โครงการบริหารจัดการลิ้นจี่ เป้าหมาย 23,630 ตัน ดำเนินการได้ 16,577 ตันคิดเป็นร้อยละ 70.15 วงเงินจ่ายขาด 49.16 ล้านบาท ใช้ไป 34.82 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 66.47 วงเงินกู้ 7.50 ล้านบาท ใช้ไป 4.50 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 60


  3. โครงการบริหารจัดการลำไย เป้าหมาย 138,000 ตันดำเนินการได้ 78,386 ตัน คิดเป็นร้อยละ 56.80 วงเงินรวม 137.68 ล้านบาทใช้ไป 134.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.90 และ4.โครงการบริหารจัดการผลไม้ภาคใต้ ซึ่งมีเป้าหมาย 90,933ตันนั้นได้ดำเนินการไปได้ 18,770 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20.64 ของเป้าหมายและจากวงเงินรวม 270.66 ล้านบาท ได้ใช้ไป 26.57 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ9.82 ของงบประมาณ สาเหตุที่ดำเนินการได้น้อยกว่าเป้าหมายนั้น เนื่องจากผลผลิตต่ำกว่าประมาณการโดยมีเพียงร้อยละ 77.78 และผลผลิตออกกระจายมีหลายรุ่น มีการแข่งขันของผู้รับซื้อเพื่อส่งออกในพื้นที่และที่สำคัญกลไกตลาดปกติได้ ดำเนินการไปได้ด้วยดีการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ จากหน่วยงานต่าง ๆ เช่นกรมการค้าภายใน กรมราชฑัณฑ์
 นอกจากนี้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัด ชายแดนภาคใต้ได้ร่วมกับบริษัทเอกชนระบายผลิตผลส่งออกผลไม้ไปยังประเทศ เวียดนามเป็นจำนวนพอสมควรและที่สำคัญที่สุดคือ ศูนย์คัดแยกผลไม้ชุมนชมหลายศูนย์ ซึ่งมีงานทุนหมุนเวียนของตนเองสามารถบริหารจัดการได้โดยไม่ต้องใช้งบ คชก.จึงถึงว่าการบริหารจัดการผลไม้ในปีนี้มีผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาผลไม้ไทย ปี 2554ได้มีหน่วยงานต่างๆจัดทำแผนงาน/โครงการสนับสนุนยุทธศาสตร์ฯ ไว้เป็นเงิน205.26 ล้านบาท แบ่งออกเป็น กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพการผลิต 97.44 ล้านบาทกลยุทธ์พัฒนาตลาดภายในประเทศ 80.01 ล้านบาท กลยุทธ์พัฒนาตลาดส่งออก27.80 ล้านบาท

Tags :

view