สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ระบบตรวจสอบฯ ผักโครงการหลวง

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

มูลนิธิโครงการหลวง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมผักและผลไม้ของไทย ที่ได้มีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรชาวเขาทำการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการของตลาดแทนการปลูกฝิ่น ตามพระราชดำริที่ว่า “ช่วยชาวเขาให้ช่วยตัวเองในการปลูกพืชที่มีประโยชน์และมีมาตรฐานความเป็น อยู่ที่ดีขึ้น” ขณะเดียวกันมูลนิธิโครงการหลวงยังมีการวิจัยทดลอง ค้นคว้าและพัฒนาระบบการผลิตตามมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง แต่รูปแบบการผลิตของโครงการหลวงมีลักษณะเป็นรายย่อยมากและพื้นที่เพาะปลูก ค่อนข้างเล็ก ประกอบกับชนิดของพืชผักที่ส่งเสริมมีมากกว่า 100 ชนิด ทำให้รูปแบบระบบการตามสอบสินค้าแบบเดิมที่เป็น ระบบบาร์โค้ด (Barcode) ไม่สามารถรองรับปริมาณเกษตรกร และชนิดพืชผักของโครงการหลวงทั้งหมดได้
   
นายมนตรี กฤษณีไพบูลย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้ มกอช. เร่งจัดทำ   “โครงการระบบการตามสอบผลผลิตผักมูลนิธิโครงการหลวง” เพื่อช่วยสนับสนุนงบประมาณสมทบในส่วนของการพัฒนาระบบการตามสอบทาง อิเล็กทรอนิกส์ (E-Traceability) อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งระบบฟาร์มเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) หรือยูเร็บแก็ป (EUrepGAP หรือ GlobalGAP) ระบบตรวจสอบคุณภาพ ระบบการคัดบรรจุที่ได้มาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) ระบบส่งขายและระบบการตามสอบและการเรียกคืนสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพิสูจน์มาตรฐานการปลูกและการคัดบรรจุได้ จากถุงบรรจุตามชนิดของผลผลิตในโครงการหลวงที่มีการผลิตผักกว่าร้อยชนิด โดยมุ่งให้สามารถรองรับการใช้เทคโนโลยี RFID พร้อมรองรับการบริการเชื่อมโยงข้อมูลการตามสอบของโครงการหลวงและเข้าสู่ระบบ การตามสอบของกระทรวงเกษตรฯ ในส่วนของสินค้าพืชได้ในอนาคต
    
นอกจากนั้น ยังช่วยพัฒนาระบบสาร สนเทศของมูลนิธิโครงการหลวงในการจัดการระบบการผลิต ผักให้ครบวงจร เพื่อเป็นฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจน ช่วยส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งออกผลผลิตสู่ตลาดโลก โดยเน้น   ที่คุณภาพและมาตรฐานการจัดการที่สามารถตามสอบได้ ซึ่งเป็นทั้งจุดขายและจุด    แข็งที่จะช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศ   ต่าง ๆ ได้ เบื้องต้นคาดว่าโครงการฯ นี้ จะสามารถรองรับการใช้งานด้านบริหารจัดการแปลงเกษตรกรของโครงการหลวงได้ครบ ทุกราย พร้อมรองรับการใช้งานด้านบริหารจัดการเพาะปลูกพืชผักในโครงการหลวง   ได้ทุกชนิด และสามารถรองรับการทำงาน การตามสอบที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทั้งหมด 38 ศูนย์ และโรงงานคัดบรรจุอีก 1 โรงด้วย      
   
นายมนตรี ยังกล่าวอีกว่า ภายหลังสิ้นสุดโครงการฯ คาดว่าจะสามารถตามสอบจากบรรจุภัณฑ์ (ถุงหรือกล่อง) ถึงรายเกษตรกร/แปลงที่เพาะปลูกพืชผักตามกระบวนการปลูกมาตรฐาน GlobalGAP และสามารถตามสอบแหล่งกระจายสินค้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และกรณีสินค้ามีปัญหาคาดว่าจะสามารถเรียกกลับคืนสินค้า หรือนำสินค้าออกจากชั้นวางขายได้ภายในเวลาที่กำหนด ทั้งยังมีระบบคลังสินค้าแบบ Real Time เพื่อเป็นระบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดการอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งจะช่วย ลดอัตราการสูญเสียและเพิ่มโอกาสในการ   จำหน่ายสินค้า ทำให้ต้นทุนการผลิตผักของมูลนิธิโครงการหลวงลดลง
   
ขณะเดียวกันโครงการหลวงยังมีระบบสารสนเทศด้านการจัดการตรวจรับวัตถุดิบและ การส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและ ขั้นตอนดำเนินงาน เป็นการสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกร ตลอดจนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าที่รับสินค้าไปจำหน่ายและบริโภคด้วย ถือเป็นเครื่องมือและเป็นจุดเด่นของสินค้าที่จะสามารถช่วยให้แข่งขันได้ใน เวทีการค้าโลก.

Tags :

view