สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชงชดเชยอ้อย105บ./ตัน ขอกู้ธกส.6,500ล้านจ่าย

จาก โพสต์ทูเดย์

“ชัยวุฒิ” เตรียมเสนอ ครม.ชดเชยค่าอ้อยให้ชาวไร่ 105 บาทต่อตัน เล็งให้กองทุนฯ กู้ 6,500 ล้านบาท

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาห กรรมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ ให้เห็นชอบในหลักการแนวทางช่วยเหลือชาวไร่อ้อย โดยจะให้เงินชดเชยค่าอ้อยเพิ่มเป็น 105 บาทต่อตัน หลังจากประกาศราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 2553/2554 ที่ราคา 945 บาทต่อตัน รวมเป็น 1,050 บาทต่อตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซีซีเอส ซึ่งถือเป็นค่าอ้อยที่สูงเกิน 1,000 บาทครั้งแรก

สำหรับเงินชดเชยดังกล่าว ที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เห็นชอบให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร (ธ.ก.ส.) มาจ่ายชดเชย รวมเป็นเงิน 6,500 ล้านบาท โดยจ่ายตรงกับชาวไร่ในทุกตันอ้อยที่ส่งเข้าหีบในโรงงานน้ำตาล

“ต้นทุนการผลิตชาวไร่อ้อยในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งในฤดูการผลิต 2 ปีที่ผ่านมา ชาวไร่อ้อยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ทำให้อ้อยที่ปลูกไว้ได้รับความเสียหาย ผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยลดลงประมาณ11% คิดเป็นปริมาณอ้อยลดลง 8.38 ล้านตัน ขณะเดียวกันยังมีปัญหาเรื่องเงินบาทที่แข็งค่าเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าอ้อยที่กำหนดไว้เดิมไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตของชาวไร่ ส่งผลต่อรายได้ของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ” นายชัยวุฒิ กล่าว

ด้านนายกำธร กิตติโชคทรัพย์ ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยอยู่ระหว่างการหารือเพื่อตั้งคณะทำงานเพื่อทำข้อเสนอถึงรัฐบาลใน การแก้ไขปัญหาราคาน้ำตาลทรายในประเทศแพงและขาดแคลนแบบถาวร โดยเสนอให้มีการกำหนดโครงสร้างราคาน้ำตาลทรายใหม่ที่กำหนดเพดานต่ำสุดสูงสุด ไว้ เพื่อให้สะท้อนกับกลไกตลาดโลกให้มากที่สุด ซึ่งคาดว่าจะเสนอได้ภายในต้นปี 2554

ทั้งนี้ ทุกครั้งที่ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกปรับขึ้นสูงมาก จะส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศแพงจากภาวะตึงตัว เพราะน้ำตาลทรายส่วนหนึ่งถูกลักลอบไปจำหน่ายประเทศเพื่อนบ้าน ที่ราคาขายปลีกเฉลี่ย 30 กว่าบาทต่อ กก. แต่ของไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 22-23 บาทต่อ กก. ซึ่งราคาที่ต่างกันถึง กก.ละ 10 บาท จูงใจให้เกิดการลักลอบ10 บาทต่อก.ก.จึงจูงใจให้เกิดการลักลอบ นอกจากนี้การที่ราคาน้ำตาลไทยถูกจึงเอื้อให้สินค้าสำเร็จรูปที่ใช้น้ำตาล ทรายเป็นส่วนประกอบส่งออกเพิ่มขึ้นเพราะได้เปรียบแง่ต้นทุนน้ำตาลการใช้ น้ำตาลจึงขยายตัวตาม

“หากราคาตลาดโลกแพงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจูงใจให้ลักลอบมากเท่านั้น ดังนั้นก็กำลังคุยกับชาวไร่ว่าถึงเวลาที่ราคาน้ำตาลควรสะท้อนกลไกไม่ใช่บิด เบือนเช่นปัจจุบันนี้ เมื่อจะต้องขึ้นก็ควรจะขึ้นราคาแต่เมื่อจะต้องลดราคาก็ควรจะต้องลดต้องยอม รับให้ได้” นายกำธรกล่าว

 

Tags :

view