สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จะเป็น ครัวโลก ต้องฝ่าด่าน วัสดุสัมผัสอาหาร ด้วย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

อาหารสะอาดปลอดภัยอย่างเดียวไม่ เพียงพอต่อผู้บริโภค ที่ต้องการมาตรฐานความปลอดภัยสูงกว่าที่เป็นอยู่เสียแล้ว ไทยซึ่งประกาศตัวเป็น “ครัวโลก” จึงต้องปรับตัวตามความต้องการของลูกค้าที่เรียกร้องให้ดูแลเรื่องความ ปลอดภัยลึกลงไปถึงระดับ “วัสดุสัมผัสอาหาร”
       
       เพื่อถนอมอาหารไว้ ในกระป๋องจำเป็นต้องเคลือบแลกเกอร์ เพื่อป้องกันอาหารกับโลหะของกระป๋องทำปฏิกิริยากัน ซึ่งทำให้อาหารเปลี่ยนรูปและไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค แต่วัสดุที่ใช้เคลือบกระป๋องนี้มีสาร “บิสฟีนอลเอ” (Bisphenol- A) หรือ “บีพีเอ” (BPA) ซึ่งมีรายงานว่า สารดังกล่าวไม่ปลอดภัยต่อหนูในห้องทดลอง จึงเริ่มมีการห้ามใช้สารดังกล่าวในวัสดุสัมผัสอาหาร โดยแคนาดาได้ห้ามใช้พลาสติกชนิดโพลิคาร์บอเนตซึ่งมีสารบีพีเอนี้ในขวดนมเด็ก มาตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากเป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กทารก
       
       อย่างไรก็ดี มาตรฐานขวดนมเด็กของไทยกำหนดให้ผลิตขึ้นจากสารโพลิคาร์บอเนตเท่านั้น ซึ่งตรงข้ามกับหลายประเทศที่ห้ามใช้สารดังกล่าว และสารดังกล่าวยังใช้มากในอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องและทูน่ากระป๋อง ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยส่งเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วย
       
       นางสุมาลี ทั่งพิทยกุล ผู้อำนวยการโครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ กรมวิทยาศาสตร์บริหาร (วศ.) กล่าวว่า ในช่วง 4-5 ปีหลังนี้ตลาดผู้บริโภคโดยเฉพาะในยุโรปและญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในวัสดุสัมผัสอาหารมาก ซึ่งวัสดุสัมผัสอาหารนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน และกลุ่มเครื่องจักรผลิตอาหารที่ใช้ในอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการไทยที่ส่งสินค้าไปยังตลาดดังกล่าวต่างให้ความสนใจกับเรื่อง ดังกล่าวมาก จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบและรับรองวัสดุสัมผัสอาหารเหล่านั้นว่าปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ผู้บริโภคในตลาดทั้ง 2 กำหนด
       
       ล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์บริการได้จัดตั้ง “ศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหารของอาเซียน” (ASEAN center for expertise in food contact materials) ตามมติคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์อาเซียน ครั้งที่ 11 (ASEAN Consultative Committee on Standard and Quality : ACCSQ) ที่ให้ประเทศไทยโดยกรมวิทยาศาสตร์ฯ จัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหาร เมื่อเดือน ก.ค.53 ที่ผ่านมา ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ และกรมวิทยาศาสตร์ฯ
       
       นางสุมาลีซึ่งรับผิดชอบศูนย์ดังกล่าวระบุว่า ห้องปฏิบัติการของศูนย์ฯ รองรับการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้ปีละ 5,000 ตัวอย่าง โดยแต่ละตัวอย่างมีรายการที่ต้องตรวจสอบหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์ 1 ตัวอย่างอาจมีรายการตรวจสอบ 10 รายการ เพื่อหาโลหะหนัก ปริมาณสารตกค้างต่างๆ เป็นต้น ซึ่งข้อดีของการส่งตัวอย่างตรวจสอบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการคือมีต้นถูกกว่า ส่งไปตรวจสอบยังต่างประเทศ 5-6 เท่า โดยส่งไปต่างประเทศเสียค่าใช้จ่ายในหลักหมื่น แต่ส่งตรวจสอบในเมืองไทยเสียค่าใช้จ่ายในหลักหมื่น และทางกรมวิทยาศาสตร์ยังให้คำปรึกษาในการปรับปรุงวัสดุอาหารให้ปลอดภัยตาม มาตรฐานผู้บริโภคอีกด้วย
       
       ข้อมูลจาก ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นประธานเปิดศูนย์เชี่ยวชาญด้านวัสดุสัมผัสอาหารฯ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการเมื่อวันที่ 25 พ.ย.53 ระบุว่า เมื่อปี 2549 สินค้าอาหารของไทยมีส่วนแบ่งในตลาดสหภาพยุโรป 2.7% คิดเป็นมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท และตลาดอาเซียนยังเป็นตลาดส่งออกของไทยที่คิดเป็นมูลค่า 16% ของตลาดส่งออกทั้งหมด โดยช่วง 11 เดือนแรกของปี 2552 ไทยส่งสินค้าอาหารและเกษตรไปตลาดอาเซียนเป็นมูลค่ากว่า 2.8 พันล้านบาท และคาดการณ์ว่าในปี 2553 จะมีมูลค่าการส่งออกใกล้เคียงกับปีดังกล่าว

Tags :

view