สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สหรัฐฯ รับรอง แซลมอนตัดต่อพันธุกรรม กินได้ปลอดภัย

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

เอฟดีเอรับรองความปลอดภัย ปลาแซลมอนพันธุ์ใหม่ที่เอกชนในสหรัฐฯ พัฒนาขึ้น โตเร็วกว่าแซลมอลธรรมชาติสองเท่า แต่คุณค่าทางอาหารไม่แตกต่าง เตรียมจัดประชุมสาธารณะหาข้อสรุปก่อนผลิตสู่ตลาด ด้านองค์กรไม่แสวงหากำไรคัดค้าน พร้อมเรียกร้องให้ศึกษาระดับคลินิก ทดสอบผลข้างเคียงต่อสุขภาพคนบริโภค
       
       ปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMO) ที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้มีชื่อทางการค้าว่า "แอดเวนเทจ แซลมอน" (AquAdvantage salmon) ที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมโดยอะควา เบาที เทคโนโลจีส์ อิงค์ (Aqua Bounty Technologies Inc.) มีคุณสมบัติโตเร็วเป็น 2 เท่าของปลาแซลมอนแอตแลนติกโดยทั่วไป
       
       ความสำเร็จในการพัฒนาปลาแซลมอนดังกล่าว นับว่าสำคัญอย่างยิ่งต่ออะควาเบาทีที่เป็นเพียงบริษัทเล็กๆ แต่สามารถตอกเสาเข็มของอนาคตไว้บนเทคโนโลยีได้ และหลังจากที่เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ให้ข้อคิดเห็นต่อเรื่องนี้ในทางบวกเมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา อะควาเบาทีก็สามารถเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดแซลมอนได้เป็น 26%
       
       หลังจากให้การรับรองความปลอดภัยไปแล้ว รอยเตอร์รายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (Food and Drug Administration : FDA) เตรียมจะจัดการประชุมสาธารณะเกี่ยวกับเรื่องแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมเป็นเวลา 3 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. นี้ ซึ่งการประชุมนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาปลาเทราท์และปลานิลดัดแปรพันธุกรรมใน อนาคตด้วย
       
       เจ้าหน้าที่ของเอฟดีเอกล่าวว่าปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมนั้นปลอดภัยสำหรับการนำมาบริโภคเป็นอาหารเทียบเท่ากับปลาแซลมอนที่จับได้จากมหาสมุทรแอตแลนติก โดยไม่มีความแตกต่างทางชีวภาพที่สำคัญในด้านวิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมันแต่อย่างใด
       
       ผู้เชี่ยวชาญจากเอฟดีเอยังระบุด้วยว่า ปลาแซลมอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากเทคโนโลยีชีวภาพนี้นั้นเป็นไปไม่ได้อย่าง ยิ่งที่จะส่งผลกระทบใดๆที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยข้อกังวลของนักวิเคราะห์ที่ว่า ปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมพวกนี้จะหลุดออกมาจากสถานที่เพาะเลี้ยงและไปแพร่ พันธุ์ในธรรมชาติได้นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมากๆ เพราะมีมาตรการควบคุมไว้อย่างซับซ้อน อีกทั้งปลาแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมเหล่านี้ก็เป็นหมัน และทางบริษัทผู้ผลิตเองก็มีแผนที่จะจำหน่ายเฉพาะไข่ปลาตัวเมียเท่านั้น
       
       อะควาเบาทีระบุว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นองค์กรด้านการประมง ของนานาชาติ และลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำประมงมากเกินไป
       
       ทว่าผู้ที่ให้การสนับสนุนผู้บริโภคและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอาหารกังวลว่าการ ตัดและต่อยีนของปลาใหม่อาจก่อให้เกิดผลตรงกันข้าม โดยอาจนำไปสู่อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาตัดต่อพันธุกรรมมากขึ้น และทำให้ปลาพวกนี้มีโอกาสหลุดออกไปสู่ธรรมชาติได้สูงขึ้น ผลข้างเคียงจากการบริโภคปลาจีเอ็มนั้นก็ยังไม่มีใครล่วงรู้ ส่วนที่บอกว่าปลอดภัยนั้นก็มาจากข้อมูลเพียงน้อยนิด
       
       "ที่จริงแล้วเอฟดีเอทึกทักเอาว่าปลานี้ปลอดภัยที่จะบริโภค" ข้อคิดเห็นจาก เจย์ดี แฮนสัน (Jaydee Hanson) นักวิเคราะห์นโยบาย ศูนย์ความปลอดภัยทางอาหาร (Center for Food Safety) ซึ่งเขายังบอกอีกว่า การทดสอบของบริษัทที่ผลิตปลาแซลมอนนี้ขึ้นมานั้นเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่เล็กที่สุดของงานวิจัยด้านการประมงที่เขาเคยเห็นมา แล้ว เช่น วิเคราะห์โอกาสทำให้เกิดอาการแพ้จากตัวอย่างปลาเพียงแค่ 6 ตัว
       
       แฮนสันบอกว่าทางบริษัทควรจะศึกษาในปลาจำนวนมากกว่านี้ และควรทำการทดลองระดับคลินิกด้วยเพื่อทดสอบการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ บริโภค โดยแฮนสันจะไปร่วมพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ค้านกับการเห็นชอบจากเอฟดีเอในการ ประชุมสาธารณะที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้
       
       ด้านโรนัลด์ สโตติช ผู้บริหารของอะควาเบาที ให้ความเห็นว่าแซลมอนเป็นปลาที่มีหลักฐานการพิสูจน์ที่ดีที่สุดในประวัติ ศาสตร์ของปลา ซึ่งแซลมอนดัดแปรพันธุกรรมมีหน้าตาเหมือนแซลมอนโดยทั่วไปและมีรสชาติที่ เยี่ยมยอดมากๆ
       
       ทั้งนี้ การประชุมสาธารณะที่จะมีขึ้น 3 วันนั้น เอฟดีเอจะสรรหาคณะกรรมการที่ปรึกษาจากภายนอกเพื่อมาทำหน้าที่พิจารณาโดยรับ ฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากเอฟดีเอ บริษัท และสาธารณชนในช่วง 2 วันแรกของการประชุม แล้วคณะกรรมการจึงให้ข้อวินิจฉัยออกมา ส่วนในวันสุดท้ายเอฟดีเอจะประชุมเพื่อหาข้อสรุปว่าควรจะมีการติดฉลากปลา แซลมอนดัดแปรพันธุกรรมให้แตกต่างจากปลาแซลมอนทั่วไปเพื่อแจ้งให้ผู้บริโภค รู้หรือไม่ก่อนที่จะมีการผลิตออกสู่ตลาดในอนาคตอันใกล้

Tags :

view