สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จีดีพีภาคเกษตรไตรมาส3โตแค่0.1%

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สศก.ระบุจีดีพีเกษตรไตรมาส 3 โตแค่ 0.1% ผลกระทบแล้ง-แมลงศัตรูพืชตั้งแต่ต้นปี ส่งผลพืชผลขยายลดลง 0.9 % คาดภาพรวมทั้งปีติดลบ 0.5%
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร ( GDP ) มีอัตราการเติบโตลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยผลกระทบสำคัญมาจากภัยแล้งและแมลงศัตรูพืช โดยสาขาพืช ผลผลิตพืชสำคัญหลายชนิดลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์และปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงต้นปีต่อเนื่องมาถึงกลางปี โดยเฉพาะผลผลิตมันสำปะหลังที่ลดลงจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง

สำหรับพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น คือ ข้าวนาปรัง มีการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นจากแรงจูงใจด้านราคาในโครงการประกันรายได้ และผลผลิตข้าวนาปรังของภาคใต้ไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากนัก ส่วนยางพารา ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากพื้นที่เปิดกรีดใหม่ในภาคเหนือและภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ด้านราคา ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ราคาพืชส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จากการที่ผลผลิตมีน้อย ยกเว้นข้าว เนื่องจากมีการเร่งระบายสต็อกของโรงสี และราคาในตลาดต่างประเทศลดลง แม้ว่าราคาโดยรวมของพืชส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นแต่ผลผลิตก็ลดลงมาก คาดว่าอัตราการขยายตัวสาขาพืชในไตรมาส 3 จะหดตัว 0.9 %

สาขาปศุสัตว์ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรผู้เลี้ยงได้ปรับเข้าสู่การเลี้ยงไก่เนื้อและสุกรที่เป็น ระบบ มีการวางแผนการผลิตการเลี้ยงไก่เนื้อและสุกรให้สอดคล้องกับความต้องการ สินค้าของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ราคาที่เกษตรกรได้รับอยู่ในเกณฑ์ดี

นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังมีการบริหารต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าต้นทุนการผลิตที่สำคัญ คือ ราคาอาหารสัตว์ ยังอยู่ในระดับสูงตามภาวะราคาอาหารสัตว์ในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตธัญพืชลดลงจากภาวะโลกร้อน แต่ภาครัฐได้ปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตให้มีต้น ทุนการผลิตที่ลดลง

สาขาประมง มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น1.6 % จากปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น แต่สำหรับผลผลิตกุ้งในไตรมาสนี้ลดลง เนื่องจากโรค    ขี้ขาวจากเชื้อแบคทีเรียที่ระบาดในหลายพื้นที่ ทำให้การเลี้ยงกุ้งทำได้ยากและเติบโตช้า ส่วนสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ มีการผลิตเพิ่มขึ้นตามการสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงของกรมประมง

สาขาป่าไม้ คาดว่าจะหดตัวลง 0.7   % เนื่องจากการผลิตไม้ท่อนและการหาของป่าในพื้นที่ป่าธรรมชาติลดลงอย่างต่อ เนื่อง   สาขาบริการทางการเกษตร ลดลง 0.6   %เนื่องจากการเพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจสำคัญหลายชนิลดลงจากปัญหาภัยแล้งที่ เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยวลดลง ทำให้การบริการทางการเกษตรต่าง ๆ ลดลงตามไปด้วย

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจการเกษตร ในปี 2553 คาดว่าการเจริญเติบโตของภาคเกษตรจะ ไม่ขยายตัว   หรืออัตราการขยายตัวอยูในช่วง -0.5-0.0 % เนื่องจากผลกระทบของภัยแล้ง และศัตรูพืชระบาดเช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยแป้ง ซึ่งบางพื้นที่ยังไม่สามารถควบคุมหรือกำจัดได้อย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกันภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้ผลผลิตพืชหลายชนิดได้รับความ

Tags :

view