สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

130บาท/ก.ก. นิวไฮ AFETหลังสวนยางอีสาน-ใต้เสียหายหนัก

จากประชาชาติธุรกิจ

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานความเสียหายภาคการเกษตรที่เกิดจากพายุดีเปรสชั่นในทะเลอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่สงขลา-พัทลุง-สตูล-ตรัง และปัตตานีว่า ในส่วนของพื้นที่ปลูกยางพารา เบื้องต้นคาดการณ์ความเสียหายประมาณ 30,000-40,000 ไร่ ส่งผลให้ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2553 (ณ วันที่ 3 พฤศจิกายน) มีราคาปิดอยู่ในระดับ 125.50 บาท/ก.ก. จัดเป็นราคาที่อยู่ในระดับสูงมากในรอบหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ตามปกติราคายางในช่วงปลายปีจะแกว่งตัวอยู่ในระดับ 70-100 บาท/ก.ก. แต่ราคาซื้อขายยางวันนี้ (3 พ.ย.) อยู่ในระดับ 121.40-125.50 บาท/ก.ก. หรือปรับตัวเพิ่มขึ้น 57.35% เมื่อเปรียบเทียบกับราคาล่วงหน้าในเดือนพฤศจิกายน 2552 ที่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 79.60 บาท/ก.ก. การปรับตัวสูงขึ้นของ

ราคายางใน AFET ในช่วงนี้เป็นผลโดยตรงมาจากสถานการณ์ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันจากลมพายุดีเปรสชั่นที่ก่อตัวในอ่าวไทย ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ของจังหวัดทางภาคใต้ โดยเฉพาะสงขลา สุราษฎร์ธานี พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกยางและที่ตั้งของโรงงานยางที่สำคัญของไทย

นายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย กล่าวถึงราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้นว่า ประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกยางพารารายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก ได้รับความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยในแหล่งพื้นที่ปลูกยางบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ส่วนอินโดนีเซียเป็นผู้ผลิตยางอันดับ 2 ของโลก ก็ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภูเขาไฟปะทุ ทำให้ระยะนี้มีสินค้ายางพาราเข้าสู่ตลาดโลกน้อยลงกว่าปกติ ฉุดให้ราคายางปรับตัวสูงกว่า 130 บาท/ก.ก. และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ เช่น จีน อียู ยังมีความต้องการใช้ยางเป็นจำนวนมาก ทำให้ทิศทางราคายางพาราโดยเฉลี่ยของไทยใน

ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 100 บาท/ก.ก. อย่างแน่นอน

ขณะที่นายประชัย กองวารี นายกสมาคมถุงมือยางไทย กล่าวว่า ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อพื้นที่ปลูกยางพารา ในเบื้องต้นคาดว่ามีต้นยางพาราได้รับความเสียหายไม่ต่ำกว่า 30,000-40,000 ไร่ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ที่สวนยางพาราได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยเป็นจำนวนมากเท่านี้

ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ขาดแคลนยางพาราอย่างหนัก ส่งผลทำให้ราคายางในตลาดกลางซื้อขายยางล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้นแตะที่ระดับ 125-130 บาท/ก.ก. ทุบสถิติราคาสูงสุดในอดีตและมีแนวโน้มปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี ขณะนี้ทางสมาคมยังไม่สามารถประเมินได้ว่า ราคายางจะปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ระดับใด คงจะต้องรอประเมินสถานการณ์อีกครั้งในสัปดาห์หน้า

ส่วนนายพิริยะ เอกวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า สกย.กำลังเร่งสำรวจ พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ภาคเหนือ-ภาคตะวันออก และภาคใต้ ว่าได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาสักเท่าไหร่ คาดว่าจะสรุปตัวเลขที่ชัดเจนได้ภายในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้

โดยสวนยางที่ตรวจสอบแล้วว่าเกิดความเสียหายจริง ทาง สกย.จะจัดสรรเงิน Cess จำนวนหนี่ง ให้แก่สวนยางสงเคราะห์ที่ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกซ่อม ค้ำยัน ปรับปรุงจัดงวดงานใหม่ตามสภาพความเสียหาย แต่ถ้ากรณีไม่ใช่สวนสงเคราะห์และสวนยางเกิดความเสียหาย สกย.คงจะต้องของบประมาณช่วยเหลือจากรัฐบาลต่อไป

Tags :

view