สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผลผลิตกุ้งไตรมาส4ลดฮวบ30% บ่อนาหายไปกับน้ำท่วม จะนะ-เทพา ล่มทั้งอำเภอ

จากประชาชาติธุรกิจ

น้ำท่วมภาคใต้ สร้างความเสียหายแก่พื้นที่นากุ้งจำนวนมาก สมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย คาดผลผลิตกุ้งไตรมาส 4 หดหายถึง 30% และจะกระทบไปถึงไตรมาส 1 ของปี 2554 หวั่นโรคระบาดกุ้งกำลังจะตามมาหลังน้ำลด เฉพาะพื้นที่ "จะนะ-เทพา" บ่อกุ้งล้มไปไม่ต่ำกว่า 400 บ่อ เสียหายหมดทั้งอำเภอ เตรียมร้องขอความช่วยเหลือด้านแหล่งเงินทุนไปยังรัฐบาลด่วน



น.สพ.สุรศักดิ์ ดิลกเกียรติ เลขาธิการสมาคมผู้เลี้ยงกุ้งทะเลไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ก่อนหน้านี้ทางสมาคมได้ประเมินผลผลิตกุ้งในช่วงปลายปีนี้ (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2553) ว่าจะมีปริมาณกุ้งเข้าสู่ตลาดไม่ต่ำกว่า 150,000 ตัน แต่สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายต่อพื้นที่นากุ้งเป็นจำนวนมาก เช่น อําเภอสทิงพระ บริเวณทะเลสาบสงขลา จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสุราษฎธานี ในอำเภอท่าฉาง-พุนพิน-ไชยา ทำให้เกิดความสูญเสียผลผลิตกุ้งประมาณ 30% ดังนั้นจะเหลือปริมาณกุ้งเข้าสู่ตลาดในช่วงปลายปีนี้เพียง 110,000-120,000 ตันเท่านั้น

ในช่วงก่อนเกิดปัญหาน้ำท่วม เกษตรกรเจ้าของฟาร์มกุ้งหลายรายในพื้นที่ภาคใต้พยายามลดเปอร์เซ็นต์ความสูญเสียจากปัญหาฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก โดยเร่งจับกุ้งเพื่อหนีน้ำ แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควร เนื่องจากต้องรอคิวจับกุ้งและรถขนส่งก็มีจำนวนจำกัด ประกอบกับโรงงานห้องเย็นส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจุดที่ประสบปัญหาน้ำท่วมอย่างหนักด้วย

เช่นกัน ดังนั้นวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้จึงสร้างความสูญเสียรายได้ให้แก่เกษตรกรเจ้าของนากุ้งเป็นจำนวนมาก

"พื้นที่เลี้ยงกุ้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณอำเภอปากพนัง ส่วนใหญ่เป็นฟาร์มกุ้งที่มีขอบคันบ่อเตี้ย เมื่อเจอปัญหาฝนตกหนักจะมีปริมาณน้ำฝนเข้าบ่อกุ้งเป็นจำนวนมาก ทำให้สภาพแวดล้อมในบ่อกุ้งเปลี่ยนแปลงไปฉับพลัน ส่งผลทำให้กุ้งตายเป็นจำนวนมาก ส่วนฟาร์มกุ้งที่รอดวิกฤต

น้ำท่วมได้ แต่ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเพราะภายหลังฝนตกมักจะเกิดอากาศหนาวติดตามมา และหากจำนวนแพลงก์ตอนในบ่อกุ้งมีสัดส่วนน้อยลงด้วย กุ้งก็จะอ่อนแอ ป่วยง่าย เสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดอย่างรวดเร็วได้เช่นกัน"

โดยทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรมักจะเริ่มเลี้ยงกุ้งรอบใหม่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม โดยใช้ระยะเวลาพักบ่อล่วงหน้าประมาณ 20-30 วัน แต่ภายหลังเกิดปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ เจ้าของฟาร์มกุ้งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาพักบ่อนานกว่าปกติคือประมาณ 45 วัน เพราะหากเตรียมบ่อ

ไม่ดี อาจเสี่ยงเจอปัญหาโรคระบาด เช่น โรคกล้ามเนื้อขาวขุ่น โรคหัวเหลือง ได้ง่าย จึงทำให้แหล่งเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่ต้องเลื่อนระยะเวลาเลี้ยงกุ้งรอบใหม่ล่าช้าไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้มีผลผลิตกุ้งเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าปกติในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554

น.สพ.สุรศักดิ์กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2553 เป็นต้นมา พื้นที่เลี้ยงกุ้งของไทยเกิดการแพร่ระบาดของโรคดวงขาว และโรค

ขี้ขาว ทำให้กุ้งเติบโตช้ากว่าปกติ จึงทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีผลผลิตกุ้งเข้าสู่ตลาดน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ สวนทางกับภาคส่งออกที่ผลักดันยอดขายได้เพิ่มขึ้น 10-20% ทำให้ภาคส่งออกต้องแย่งซื้อสินค้าเพื่อส่งออกตามออร์เดอร์ลูกค้า ผลักดันให้ราคากุ้งในปีนี้อยู่ในภาวะผันผวนมาโดยตลอด

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวในอนาคต ทางเครือข่ายผู้เลี้ยงกุ้งไทยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหากุ้งอย่างยั่งยืนใน 2 แนวทาง คือ 1)จัดทีมนักวิชาการศึกษาเพื่อวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดในฟาร์มกุ้งโดยเฉพาะ โรคกุ้งทะเล (IMN) ที่อาจสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยได้ในอนาคต 2)ร่วมมือกับผู้ส่งออกวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับแผนการตลาด เพื่อให้ประเทศไทยมีผลผลิตกุ้งคุณภาพที่เพียงพอและสมดุลกับตลาด

ส่งออกสำหรับปี 2554

ด้านนายปรีชา สุขเกษม แกนนำในเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ กล่าวว่า หลังน้ำลดบ่อเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ อ.จะนะ-เทพา-หาดใหญ่ ประสบความเสียหายมาก จากการประเมินเบื้องต้นน่าจะเสียหายประมาณ 400 บ่อ เฉพาะที่ ต.คูเตา

อ.หาดใหญ่ เพียงแห่งเดียวก็เสียหายไปแล้ว 100 กว่าบ่อ ทั้งจากน้ำท่วมหลากเข้ามาในบ่อไปจนกระทั่งไฟฟ้าดับ ต่อจากนี้ไปจะต้องพักบ่อรอไปไม่ต่ำกว่า 3 เดือนจึงจะเลี้ยงกุ้งรอบใหม่ได้

"ปัญหาไม่ได้จบแค่นั้น จากประสบการณ์พบว่าหลังน้ำลด โรคระบาดในกุ้งจะตามมา ตรงนี้เราจะต้องเตรียมบ่อให้ดี สิ่งที่อยากจะให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือก็คือ เรื่องของแหล่งเงินทุนในการเลี้ยงกุ้งรอบใหม่ เพราะรอบนี้เกษตรกรหมดตัวแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ปริมาณกุ้งออกสู่ตลาดในช่วงต้นปี 2554 ลดลง ส่งผลให้ราคากุ้งในช่วงนั้นน่าจะปรับตัวสูงขึ้น อาจจะเกิดปัญหากุ้งขาดแคลนขึ้นมาอีก" นายปรีชากล่าว

ล่าสุดมีรายงานจากองค์การสะพานปลาเข้ามาว่า เบื้องต้นได้มีการสำรวจเรือประมงที่เสียหายจากพายุดีเปรสชั่นพบว่า ท่าเทียบ เรือกลาง จ.สงขลา รายงานเรือประมงถูกพายุเสียหายจำนวน 12 ลำ กับที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเรือประมงเสียหายบริเวณปากร่อง 1 ลำ

Tags :

view