สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คาดพท.เกษตรจม59%ห่วงคุณภาพตก กดราคา

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

แม่โจ้โพลสุ่ม ตัวอย่างเกษตรกรทุกภาค 59.4%เสียหายน้ำท่วม 66.4%รุนแรงกว่าอดีต หวั่น2เด้งขาดแคลน ถูกกดราคา แนะชดเชยเพื่อฟื้นฟู ปรับปรุงชลประทาน
ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย กังวล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผย ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร หรือ"แม่โจ้โพล" สำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรทั่วประเทศที่พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายจากอุทกภัย และการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐ หลังเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ส่งผลพื้นที่การเกษตรทั้งด้านพืช ปศุสัตว์และประมง เสียหายจำนวนหลายล้านไร่ มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายพันล้านบาท ส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อน

ทั้งนี้ แม่โจ้โพลได้ สำรวจกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรทั่วประเทศจำนวน 360 ราย แบ่งเป็นภาคเหนือ 30.3% ภาคกลาง 50.3% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19.4% และแบ่งประเภทการเกษตร ปลูกพืช 87.2% ปศุสัตว์ 9.2% ประมง 3.6% ระหว่างวันที่ 12 - 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา พบพื้นที่ทำการเกษตรของเกษตรกรประสบภัยน้ำท่วมกว่า 59.4% ส่วนใหญ่พื้นที่การเกษตรเสียหายเกินกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทำการเกษตรของ ตนเอง และ 40.6% พื้นที่เกษตรไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม

ส่วนอุทกภัยปีนี้ เกษตรกกว่า 66.4% เห็นว่ารุนแรงมากกว่าอดีต อีก 33.4% เห็นว่าไม่รุนแรงกว่าอดีต แต่เกษตรกรจำนวน 75% เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมปีนี้จะส่งผลต่อราคาผลผลิตทางการเกษตร กรณีหนึ่ง ทำให้ราคาสูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมีปริมาณน้อยและเสียหาย กรณีที่สอง ราคาต่ำลง เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรคุณภาพต่ำ ถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา แต่ 25% คิดว่าไม่ส่งผล 

สำหรับความคิดเห็นต่อรัฐบาลจะใช้นโยบาย ประกันราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 68.3 เห็นด้วยกับนโยบายประกันราคา เพราะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรรายย่อยให้มีรายได้สูงขึ้น ลดปัญหาการขาดทุนและการกดราคาของพ่อค้าคนกลาง อีก 31.7% ไม่เห็นด้วยกับนโยบายประกันราคา แม้เข้าร่วมโครงการยังขายผลผลิตได้ในราคาที่ต่ำและหากขายในช่วงที่ราคาสูง กว่าราคาประกันก็จะไม่ได้รับเงินชดเชย ส่งผลให้ขาดทุนเหมือนเดิม

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรฯ กล่าวอีกว่า สำหรับความคิดเห็นต่อความพึงพอใจกับการช่วยเหลือของรัฐบาลขณะนี้ เกษตรกร 62.2% รู้สึกพอใจ ส่วนอีก 31.4% ไม่พอใจ และ 6.4% เฉยๆ

นอกจากนี้เกษตรกร 51.1% คิดว่าน่าจะมีวิธีการหรือทางออกอย่างไรที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยน้ำ ท่วมครั้งนี้ โดยการให้เงินชดเชย ฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตร กับเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย และปรับปรุงจัดการระบบชลประทานให้ดีขึ้น อีก 27.4% เห็นว่าควรมีการช่วยเหลือที่รวดเร็ว ทั่วถึง ทันต่อสถานการณ์ และเกษตรกรต้องการให้กลับมาใช้นโยบายการรับจำนำแบบเดิม และ 21.5% เห็นว่า รัฐบาลควรพยุงราคาผลผลิตทางการเกษตรในท้องตลาดให้สูงขึ้นและควรมีนโยบายพัก ชำระหนี้หรือมีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยหลังน้ำท่วม เช่น ลดภาษีปุ๋ย ยากำจัดศัตรู โรคพืชและสัตว์  ฯลฯ

Tags :

view