สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สศก. เปิดผลศึกษา กระบือนม อาจเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่

จาก วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน
เทคโนฯ ปศุสัตว์
ธนสิทธิ์ เหล่าประสิทธิ์

"กระบือ นม ที่มีเลี้ยงในประเทศ ได้แก่ พันธุ์เมซาน่า และพันธุ์จาฟฟาราบัดดี ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย โดยกระบือเหล่านี้ได้เข้ามาในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว เพียงแต่ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่านั้น"

คุณอภิชาต จงสกุล
เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงสายพันธุ์กระบือนมที่มีการเลี้ยงกันในประเทศไทย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทำฟาร์มเลี้ยงกระบือนมอย่างเป็นจริงเป็นจังกันแล้วใน ประเทศไทย อาทิ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ยังได้กล่าวอีกว่า ในขณะเดียวกันนั้นกระบือนมถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญในหลายประเทศ โดยเฉพาะเอเชียและยุโรป เช่น อินเดีย ปากีสถาน จีน อียิปต์ เนปาล ที่มีการเลี้ยงกระบือนมเพื่อรีดน้ำนมไว้บริโภคในครัวเรือน ทั้งเพื่อเป็นเครื่องดื่มและประกอบอาหาร

"ส่วนประทศในยุโรป โดยเฉพาะอิตาลีและสหรัฐอเมริกา นิยมที่จะใช้เนยและชีสที่ทำจากนมกระบือมาประกอบอาหาร เช่น พิซซ่า ซึ่งจะทำให้มีความเหนียวหนืดเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค"

ทั้งนี้ สาเหตุที่เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้กล่าวถึงการเลี้ยงกระบือนมดังกล่าวข้างต้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ศึกษาศักยภาพการผลิต การตลาดกระบือนม โดยพบว่ามีโอกาสเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่มีช่องทางการตลาดรองรับในอนาคต หากได้รับการพัฒนารูปแบบการผลิต รวมทั้งสนับสนุนให้นมกระบือและผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักยอมรับของคนไทยมากขึ้น

ขณะ เดียวกัน คุณนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจกาเรกษตร ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า การเลี้ยงกระบือนมนั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งเพื่อผลิตน้ำนมและเป็นกระบือเนื้อ โดยหากเลี้ยงเพื่อผลิตน้ำนมจะมีต้นทุนการผลิตน้ำนม กิโลกรัมละ 24 บาท ส่วนราคาขาย กิโลกรัมละ 33 บาท ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ กิโลกรัมละ 9 บาท

"ซึ่ง น้ำนมกระบือสามารถแปรรูปได้เช่นเดียวกับนมโค และยังมีคุณสมบัติที่พิเศษกว่านมโค คือมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 43% มีโปรตีนสูงกว่า 40% มีแคลเซียมสูงกว่า 58% มีสารต้านอนุมูลอิสระ และจากสาเหตุที่มีโปรตีนสูงนี้จึงทำให้สามารถนำไปผลิตชีสและเนยได้มากกว่านม โค"

โดยคุณนารีณัฐ กล่าวว่า ในการผลิตชีส 1 กิโลกรัม ใช้นมกระบือเพียง 5 กิโลกรัม ขณะที่นมโคใช้ไป 8 กิโลกรัม ส่วนการผลิตเนย 1 กิโลกรัม จะใช้นมกระบือ 10 กิโลกรัม ส่วนนมโคต้องใช้ถึง 14 กิโลกรัม

นอกจากนี้ การเลี้ยงกระบือนมยังสามารถจำหน่ายเพื่อไปบริโภคเนื้อได้เช่นเดียวกับกระบือทั่วไปด้วยเช่นกัน

แต่ สิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกอย่างหนึ่งคือเกษตรกรยังขาย พ่อ-แม่พันธุ์ให้เกษตรกรรายอื่นด้วย ซึ่งยังมีความต้องการอีกมาก

"สำหรับ การเลี้ยงก็ไม่มีความยุ่งยากแต่อย่างใด เกษตรกรสามารถเลี้ยงปล่อยแบบเดียวกับการเลี้ยงกระบือทั่วไปที่เกษตรกรคุ้น เคยอยู่แล้ว" คุณนารีณัฐ กล่าว

โดยต้นทุนการผลิตตั้งแต่เกิดจน กระทั่งขายได้ จึงค่อนข้างต่ำ เฉลี่ยตัวละ 7,130 บาท ราคาขายตัวละ 15,000 บาท เกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนตัวละ 7,870 บาท

ดังนั้น หากกระบือนมได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนม เพื่อให้มีต้นทุนต่ำลง ผลผลิตสูงขึ้นและคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด

"โดยเฉพาะการได้ รับการส่งเสริมด้านการตลาดนมและผลิตภัณฑ์จากนมเพื่อให้เป็นสินค้าตลาดกลุ่ม เฉพาะ เช่น ตลาดผู้บริโภคระดับสูง กลุ่มผู้รักสุขภาพ ชาวต่างชาติ และสินค้าทดแทนสินค้านำเข้า ได้แก่ เนยและชีสประเภทต่างๆ ที่ต้องนำเข้าถึงปีละมากกว่า 2,500 ล้านบาท เพื่อนำมาประกอบอาหารในแบบตะวันตก ซึ่งขณะนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ"

"หรือจะเลี้ยง เป็นกระบือเนื้อก็ยังสามารถช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เสริม หรืออาจจะยึดเป็นอาชีพหลักได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก แต่ได้รับผลตอบแทนค่อนข้างดี รวมทั้งช่วยเพิ่มอาหารโปรตีนในประเทศนอกเหนือจากเนื้อโคและกระบือที่มีแนว โน้มลดลง" คุณนารีณัฐ กล่าวในที่สุด

จากข้อมูลที่สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรได้ดำเนินการศึกษาวิจัยดังข้างต้นนั้น คงจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้เกษตรกรที่สนใจ อยากมีสัตว์เศรษฐกิจใหม่ๆ มาเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพได้ใช้ในการตัดสินใจ แต่ขณะเดียวกันในเรื่องของกระบือพื้นเมืองที่เลี้ยงในประเทศไทยก็ยังเป็น สิ่งที่ต้องอยู่คู่กับคนไทยตลอดไป ซึ่งแม้ว่าในขณะนี้ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาปริมาณกระบือในประเทศลดลงอย่าง ต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากกรมปศุสัตว์บอกว่า ประเทศไทยเคยมีกระบือมากที่สุดในช่วงปี 2523-2524 โดยมีปริมาณถึง 6 ล้านตัว

แต่ในขณะนี้ตัวเลขปริมาณกระบือของไทยลดลงเหลือเพียง 1.3 ล้านตัว เท่านั้น

จาก ปัญหาการลดลงของปริมาณกระบือในประเทศดังกล่าว จึงเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยในขณะนี้กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง จึงได้จัดทำโครงการผลิตพ่อแม่กระบือปลักไทยพันธุ์ดีในหมู่บ้านขึ้น

โดย จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์เกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว บอกว่า การเลี้ยงกระบือในประเทศไทยมีสถิติประชากรลดลงอย่างน่าเป็นห่วง อันเป็นผลมาจากเทคโนโลยีเครื่องจักรที่ก้าวหน้าทันสมัย มาใช้ทดแทนการใช้แรงงานจากกระบือในการประกอบอาชีพการเกษตร ทำให้ประเทศไทยมีการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของกระบือที่มีลักษณะดีต่อไปยังกระบือ รุ่นลูกหลาน ั้

ปัจจุบัน ยังคงมีปัญหาการขาดแคลนกระบือปลัก สำหรับใช้ในการเกษตร และเศรษฐกิจที่แปรปรวน ทำให้การใช้เครื่องจักรและน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นทุนการผลิตที่ผันแปร

ดัง นั้น การอนุรักษ์วิถีทางการเกษตร โดยหันมาใช้กระบือปลักในการทำนาข้าว ในพื้นที่การเกษตรขนาดเล็ก สำหรับเกษตรกรที่ยังยากจน เพื่อลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง ช่วยฟื้นฟูอินทรียสารในดินให้อุดมสมบูรณ์ และรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีให้คงอยู่อย่างยั่งยืน สนองปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กรมปศุสัตว์ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ เล็งเห็นความสำคัญที่จะสร้างโอกาสในวิถีการเกษตร สร้างทางเลือกให้เกษตรกร จึงได้จัดทำโครงการผลิตพ่อแม่กระบือปลักไทยพันธุ์ดีในหมู่บ้านขึ้น

โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายพันธุ์กระบือปลักไทยพันธุ์ดีในแหล่งการเกษตรขนาด เล็ก และเพื่ออนุรักษ์พันธุ์กระบือปลักไทย ให้คงอยู่ร่วมการเกษตรแบบพอเพียง

ซึ่ง ตั้งเป้าหมายจะดำเนินการผสมเทียมแม่กระบือด้วยน้ำเชื้อพ่อกระบือปลักไทย พันธุ์ดี 5,000 ตัว รวมทั้งบำรุงสุขภาพแม่กระบือและลูกกระบือ 10,000 ตัว นี้ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการเกษตร

โดยทางด้าน สังคม เกษตรกรรายย่อยที่เลี้ยงกระบือเพื่อทำอาชีพการเกษตร จะมีความผูกพันกับกระบือและอนุรักษ์รักษาพันธุ์กระบือในท้องถิ่นไม่ให้สูญ หาย วิถีการทำนาข้าวหรือประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรแบบดั้งเดิมจะยังคงได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ประจำ ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนั้

ด้านเศรษฐกิจั้แม่กระบือของเกษตรกรรายย่อย ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์กระบือจนได้ลูกกระบือพันธุ์ดี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านการเกษตร สามารถนำไปใช้งานด้านการเกษตรทดแทนการใช้เครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน ช่วยลดต้นทุนและสามารถเพาะขยายจำหน่ายได้ราคาดี มีรายได้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องั้

ด้านสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงกระบือในพื้นที่การเกษตร มูลและสิ่งขับถ่ายจากกระบือ สามารถนำไปใช้ทำก๊าซชีวภาพสำหรับใช้ในครัวเรือน ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินได้เป็นอย่างดี ลดการเสื่อมสภาพของดิน และไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ในส่วนขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานของ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กอง/สำนักั้กำหนดแผนปฏิบัติงานและงบประมาณ พร้อมวิธีการติดตามประเมินผลโครงการั้จัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของโค รงการั้ประชุมถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมของการดำเนินโครงการั้ติดตามประเมินผลและทบทวนแผน ปฏิบัติการโครงการเป็นรายไตรมาส

ส่วนหน่วยปฏิบัติ (สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด/ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยี ชีวภาพฯ)ั้ประชุมถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมของการดำเนินโครงการั้เตรียมแผนและขั้นตอนการปฏิบัติ งาน พร้อมบุคลากร และงบประมาณจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของแผนปฏิบัติงานั้ดำเนินงานตาม แผนปฏิบัติงานั้ติดตามประเมินผลและทบทวนแผนปฏิบัติการโครงการเป็นรายไตรมา สั้ รวมทั้งรายงานผลการปฏิบัติงานทุกเดือนั้

กิจกรรมที่ดำเนินการใน พื้นที่ของเกษตรกรมีการเหนี่ยวนำสัดและผสมเทียมั้การผสมเทียมั้การดูแล สุขภาพแม่และลูกกระบือั้รวมทั้งการฝังไมโครชิปในกระบือ

โดยพื้นที่ ปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะดำเนินการทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลรับผิดชอบของศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยี ชีวภาพ ั้3 ั้แห่ง ั้คือ ั้นครราชสีมา ขอนแก่น และอุบลราชธานี ั้

แต่ อย่างไรก็ตาม ั้กรมปศุสัตว์ ั้ก็มีพ่อกระบือพันธุ์ดี ั้กระจายไปให้ทุกจังหวัดที่มีหน่วยผสมเทียม สำหรับบริการให้เกษตรกรที่มีความต้องการน้ำเชื้อกระบือพ่อพันธุ์ดี

ทั้ง นี้ กิจกรรมหลักของโครงการคือ การผสมเทียมแม่กระบือพันธุ์ดี ให้ตั้งท้องด้วยน้ำเชื้อพ่อกระบือพันธุ์ดี ความยุ่งยากไม่ได้อยู่ที่การผสมเทียม แต่อยู่ที่การจัดการ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกรอย่างมาก กล่าวคือ หลังจากที่ได้ผสมเทียมแม่กระบือแล้ว จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้แม่กระบือได้รับการผสมซ้ำจากกระบือผู้ที่มีอยู่ใน ละแวกเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เกิดโอกาสผิดพลาดของการเกิดลูกกระบือพันธุ์ดี

ประเด็น นี้ เกษตรกรต้องเข้าใจและช่วยระวังดูแล ถ้าหากเกิดขึ้นแล้ว เกษตรกรก็จะเสียโอกาสไป 1 ปีเต็ม เพื่อให้แม่กระบือคลอดลูกและรอการตั้งท้องครั้งใหม่

กรณีที่ เกษตรกรอยู่ห่างไกลมาก และการคมนาคมไม่สะดวก เกษตรกรสามารถขอรับบริการผสมเทียมแม่กระบือด้วยน้ำเชื้อพ่อพันธุ์ดีได้ซึ่ง กรมปศุสัตว์มีบริการนัดหมายกลุ่มเกษตรกรนำแม่กระบือมารวมกัน เพื่อปรับรอบการเป็นสัดให้แม่กระบือทุกตัวเป็นสัดพร้อมกัน และสามารถรับการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อพ่อกระบือพันธุ์ดีได้ในคราวเดียวกัน วิธีนี้สะดวก

สำหรับเกษตรกรที่ไม่ต้องเสียเวลาเฝ้าตรวจรอบการเป็นสัด ในแม่กระบือ และไม่เสียเวลาในการทำงานการเกษตรของตน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้บริการผสมเทียมก็สะดวกในการเดินทางไปครั้งเดียว สามารถบริการผสมเทียมแม่กระบือได้หลายตัวในครั้งเดียว ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการบริการผสมเทียมได้มาก แต่วิธีนี้จะมีต้นทุนสูงในเรื่องเวชภัณฑ์พิเศษที่ใช้ในการปรับรอบการเป็นสัด ให้ตรงกัน

อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ก็ได้เตรียมแผนดำเนินการในส่วนนี้ไว้แล้ว เพียงแต่ขอให้เกษตรกรแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อการประสานงานและเตรียมการต่อไป



สัตว์ ต้องกินน้ำวันละเท่าไร จึงจะพอ...

น้ำ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของการดำรงชีวิต ซึ่งในสัตว์ก็เช่นกัน มีความต้องการน้ำเพื่อการดำรงชีวิตเฉกเช่นเดียวกับคนเรา ยิ่งในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ หากได้ดื่มน้ำแก้กระหายย่อมทำให้เกิดความสดชื่นตามมาอย่างมากมาย แล้วในแต่ละวันนั้น สัตว์มีความต้องการกินน้ำในปริมาณเท่าไร จึงจะเพียงพอ ซึ่งจากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ บอกว่า

สัตว์เลี้ยงแต่ละชนิดตอบ สนองต่อการขาดน้ำต่างกัน สัตว์ขนาดใหญ่และสัตว์โตเต็มที่ทนขาดน้ำได้มากกว่าลูกสัตว์ และสัตว์ขนาดเล็ก โดยความต้องการน้ำของสัตว์แต่ละชนิด โดยเฉลี่ย ดังนี้

- โคเนื้อโตเต็มที่ ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 60 ลิตร/วัน

- โคนมระยะนมแห้ง ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 60 ลิตร/วัน

- โคนมระยะให้นม ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 90 ลิตร/วัน

- ม้าโตเต็มที่ ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 40 ลิตร/วัน

- ม้าระยะให้นมลูก ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 50 ลิตร/วัน

- สุกรขุน น้ำหนัก 30 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 6 ลิตร/วัน

- สุกรขุน น้ำหนัก 60-100 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 8 ลิตร/วัน

- แม่สุกรให้นมลูก ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 14 ลิตร/วัน

- ั้แกะขุน ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 4 ลิตร/วัน

- แกะให้นมลูก ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 6 ลิตร/วัน

- ไก่ไข่ ค่าเฉลี่ยความต้องการน้ำของสัตว์ 0.5 ลิตร/วัน

แต่หากว่า สัตว์ไม่ได้กินน้ำตามปริมาณที่ต้องการแล้วจะเป็นอย่างไร จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์อีกเช่นกัน บอกว่าผลเสียจากการขาดน้ำของสัตว์ระดับต่ำกว่าปกติ ไม่เกินร้อยละ 20 จะพบว่า ประสิทธิภาพการใช้อาหารลดลง ตามมาด้วย อัตราการเจริญเติบโตลดลง การให้ผลผลิตต่ำลง และการกินอาหารลดลง

สัตว์ที่ขาดน้ำมากๆ จะไม่กินอาหารจนกว่าจะได้กินน้ำ และถ้าร่างกายขาดน้ำมากกว่าร้อยละ 12 ของน้ำหนัก สัตว์ตัวนั้นมักจะตาย...

Tags :

view