สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ครม.รับทราบมาตรการแก้ปัญหาไข่ไก่

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ครม.รับทราบมาตรการระยะสั้น กลาง และยาว แก้ปัญหาไข่ไก่ ตามมาตรการ Egg Board
นาย วัชระ กรรณิกา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการมาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่ โดยมาตรการระยะสั้น ให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขยายเวลาการปลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงเพื่อผลผลิตไข่ไก่ช่วง เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2553 ข้อมูลการปลดแม่ไก่ไข่ผ่านระบบการเคลื่อนย้ายอิเล็กทรอนิกส์ลดลงจากช่วง เดียวกันของปีที่แล้วจำนวน 3 แสนตัว/เดือน  สามารถเพิ่มผลผลิตไก่ไข่ 5 แสนฟอง/เดือน ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดไข่ไก่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ

โดยให้ผู้ส่งออกชะลอส่งออกไข่ไก่ชั่วคราว ยกเว้นกรณีที่มีสัญญาผูกพัน ข้อมูลกรมศุลกากรรายงานล่าสุดเดือนกรกฎาคม 2553 ปริมาณส่งออกไข่ไก่เดิมเฉลี่ยเดือนละ 12 ล้านฟอง ลดลงเหลือเดือนละ 6 ล้านฟอง ทำให้มีผลผลิตไข่ไก่บริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น 6 ล้านฟอง/เดือน

ด้านปศุสัตว์จังหวัดให้แจ้งมาตรการแก้ไขปัญหาไข่ไก่ตาม มติคณะรัฐมนตรีและรับปัญหาจากเกษตรกรเรื่องลูกไก่ไข่ขาดแคลน ช่วงเดือนกรกฎาคม — สิงหาคม 2553 เกษตรกรแสดงความจำนงต้องการลูกไก่ไข่ทดแทนและขยายการเลี้ยงทั้งหมด 37 ราย จำนวน 74,000 ตัว ได้ประสานผู้เลี้ยงไก่ไข่พันธุ์จัดหาลูกไก่ไข่จัดส่งให้เกษตรกรที่มีแผนนำ เข้าไก่ไข่แน่นอน ถึงสิ้นปี 2553 จำนวน 16 ราย  เหลืออีก 11 ราย เกษตรกรยังไม่ได้กำหนดแผนนำเข้าไก่ไข่เข้าเลี้ยงที่แน่นอน

การติดตามเฝ้าระวังราคาพันธุ์สัตว์และไข่ไก่ได้ ขอความร่วมมือผู้เลี้ยง ไก่ไข่พันธุ์ปรับราคาพันธุ์สัตว์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และต้นทุนการผลิต  ดำเนินการ 2 ระยะ ครั้งที่ 1 ปรับราคาลูกไก่ไข่และไก่สาว จากตัวละ 30 และ 154 บาท เหลือ 28 และ 149 บาท ครั้งที่ 2 ปรับราคาลูกไก่ไข่เหลือตัวละ 25 บาท และไก่ไข่สาวตัวละ 144 บาท ยืนราคาถึงปัจจุบัน ส่วนราคาไข่ไก่ให้ปรับตัวตามกลไกตลาด ปัจจุบัน (กันยายน 2553) เหลือ 2.60 บาท  ลดลงจากฟองละ 2.80 บาท เมื่อเดือนกรกฎาคม  2553

การรายงานผลการดำเนินงานมาตรการแก้ไขปัญหาไก่ไข่ต่อคณะกรรมการนโยบาย พัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2553 และครั้งที่ 2 วันที่ 24 กันยายน 2553

ด้านมาตรการระยะกลาง ประสานมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อดำเนินการศึกษาปรับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ตาม มติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน  ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม - 4 กันยายน 2553 โดยทำบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือการศึกษาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการ นโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์กับประธานคณะทำงานรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (รศ.ดร.สามัคคี  บุณยะวัฒน์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดระยะเวลา 50 วัน  นับแต่วันที่ได้ลงนามข้อตกลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2553 — วันที่ 3 กันยายน  2553

ทั้งนี้รศ.ดร.สามัคคี  บุณยะวัฒน์ ประธานคณะทำงาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ขอเลื่อนส่งผลการศึกษาปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และ ผลิตภัณฑ์ จากวันที่ 3 กันยายน 2553 เป็นวันอังคารที่ 14 กันยายน 2553

ส่วนมาตรการระยะยาว ให้มีพ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (P.S.) ส่วนกลางที่กรมปศุสัตว์ เพื่อบริหารจัดการ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 ซึ่งมอบหมายให้ กษ. (กรมปศุสัตว์) ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์แจ้งเกษตรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้แสดงความจำนงขอนำเข้า พ่อ-แม่พันธุ์ไก่ไข่ (P.S.) ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม - 17 กันยายน 2553 ทั้งหมด 11 ราย จำนวน 90,888 ตัว โดยนำเข้าในปี 2553 จำนวน 62,888 ตัว  ปี 2554 จำนวน 28,000 ตัว

ส่วนผลจากการดำเนินมาตรการด้านราคาคือ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงฟองละ 20 สตางค์ ปริมาณไข่ไก่เพื่อ บริโภคภายในประเทศช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน เพิ่มขึ้นเดือนละประมาณ 6.5 ล้านฟอง จำนวนแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปี 2553 มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 468,000 ตัว สามารถผลิตไก่ไข่ได้ ประมาณ 42 ล้านตัว ไข่ไก่ประมาณ 12,432 ล้านฟอง ในปี 2554

Tags :

view