สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พ่อค้าปลอมสัญญาขายยาง หนีสกย.เก็บCESSอัตราใหม่

จากประชาชาติธุรกิจ

สำนัก งานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบสัญญาซื้อขายยางพาราล่วงหน้า หลังปรับอัตราจัดเก็บเงินสงเคราะห์การส่งออก ยางพารา (CESS) เพิ่ม 3 เท่าตัว



ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ได้เริ่มจัดเก็บเงินสงเคราะห์การ ส่งออกยางพารา (CESS) ในอัตราใหม่แบบขั้นบันได 5 ระดับ

โดยอิงราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 FOB กรุงเทพฯ เป็นเกณฑ์คำนวณเงินสงเคราะห์ โดยกระทรวงเกษตรฯจะประกาศราคายางทุกวันที่ 1 และวันที่ 16 ของเดือน และกำหนดบทเฉพาะกาลให้ "ยกเว้น" การจัดเก็บเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิมสำหรับ ผู้ส่งออกที่มีสัญญาซื้อขายยางล่วงหน้าที่ทำก่อนวันที่ 4 มิถุนายน 2553 และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย ที่มีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2554




แหล่ง ข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ราคายางได้สูงกว่า 100 บาท/ก.ก. หากผู้ส่งออกรายใดมีสัญญาซื้อขายยางภายหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นมา จะต้องจ่ายเงิน CESS ในอัตรา 5 บาท/ก.ก. ดังนั้นผู้ส่งออกยางบางรายจึงพยายามหลบเลี่ยงการจ่ายเงิน CESS ในอัตราใหม่ โดยแจ้งนิติกรรมปลอมว่าเป็นสัญญาซื้อขายยางล่วงหน้าที่ทำก่อนวันที่ 4 มิถุนายน 2553 เพื่อช่วยให้ ผู้ส่งออกจ่ายเงิน CESS ในอัตราเดิม เพียง ก.ก.ละ 1.40 บาทเท่านั้น

การหลบเลี่ยงการจัดเก็บเงิน CESS อัตราใหม่ดังกล่าว ทำให้ สกย.สูญเสียเงินสงเคราะห์การส่งออกยางพาราไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลจึงเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสัญญาซื้อขายยางล่วงหน้า โดยมอบหมายให้ สกย.ตรวจสอบ สต๊อกยางทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2553 พบว่า มีสัญญาการส่งออกยางค้างสต๊อกจำนวนทั้งสิ้น 900,000 ตัน และมีปริมาณยางพาราที่ยังไม่ถึงเวลาส่งมอบค้างอยู่ในสต๊อก ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2553 จำนวน 400,000 ตัน

สกย.ได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อ ตรวจสอบสัญญาซื้อขายยางล่วงหน้า โดยสอบเปรียบเทียบตัวเลขการส่งออกยางปี 2552/2553 ของเอกชนแต่ละราย รวมทั้งสัญญาการส่งมอบยางกับผู้ซื้อในต่างประเทศ ในเบื้องต้นพบว่าเอกชนที่มีศักยภาพในการจัดทำสัญญาปลอมได้ก็คือ ผู้ส่งออกยางที่มีสำนักงานอยู่ในต่างประเทศ จึงได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบ ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้เป็นกรณีพิเศษ

ปัจจุบันราคายางในตลาดโลกมีแนว โน้มปรับตัวในเกณฑ์สูงกว่า 100 บาท/ก.ก. อย่างต่อเนื่อง หาก สกย.จัดเก็บเงิน CESS ในอัตราเดิมคือ 1.40 บาท/ก.ก. ก็จะมีเงินไหลเข้ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเพียงปีละ 4,000 ล้านบาท แต่การจัดเก็บเงิน CESS ในอัตราใหม่จะทำให้ สกย.มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นปีละ 10,000 ล้านบาท หากผู้ส่งออกยางแจ้งนิติกรรมปลอมจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ส่วนต่างไม่ต่ำ กว่า 3,600 ล้านบาท ต่อการส่งออกยาง ทุก ๆ 100,000 ตัน

ด้านนายเพิก เลิศวังพง ประธานชุมชนสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสยท.) กล่าวว่า หลังจากที่ สกย.เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกยาง CESS ในอัตราใหม่ ทำให้ผู้ส่งออกยางบางรายมองว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนการส่งออก จึงเกิดปัญหาการลักลอบการส่งออกยางบริเวณชายแดนไทยแถบพื้นที่ภาคใต้เพิ่มมาก ขึ้น เนื่องจากภาครัฐประสบปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่จะเข้ามาตรวจสอบการลักลอบส่งออก ยาง ดังนั้น สยท.จึงเตรียมเสนอบอร์ดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้จัดตั้งรางวัลนำจับแก่ผู้ที่แจ้งเบาะแสการลักลอบการส่งออกยาง

Tags :

view