สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระพุทธรูปขัดเงาปางชนะมาร ฐานเป็นเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว สูงจากฐานถึงเศียร 41 นิ้ว ตรงตามบันทึกของฝ่ายลาวทุกประการ แถมยังมีคราบโคลนฝังแน่น เนื่องจากจมอยู่ใต้น้ำนานนับร้อยปี นี่คือหลวงพ่อพระสุกที่งมขึ้นมาจาก บริเวณที่เกิดเหตุการณ์แพล่ม ตรงปากน้ำงึมเมื่อ 188 ปีก่อน กลายมาเป็นพระพุทธรูปมิ่งขวัญ ของชาวจังหวัดยโสธรในวันนี้.
        
MGRออนไลน์ -- ชาวลาวจำนวนมากยังคงเชื่อว่า พระสุก.. พระพุทธรูปล้านช้าง ร่วมยุคกับพระองค์ตื้อ พระไส และพระเสิม ยังจมอยู่ในแม่น้ำโขงตรงบริเวณปากน้ำงึม ตั้งแต่ครั้งเจ้าพระยาราชสุภาวดี เสร็จการศึกกรุงเวียงจันทน์ ให้อัญเชิญข้ามฝั่งเพื่อนำกลับมายังกรุงเทพฯ เมื่อ 188 ปีก่อน แต่แท้จริงแล้ว เจ้านายฝ่ายสยามยุคหลัง ได้ให้นักโทษ 8 คนไปงมขึ้นมาอย่างเงียบๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2469 หรือ 88 ปีที่แล้ว และ ทุกอย่างถูกเก็บเป็นความลับสุดยอด ก่อนจะถูกเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ 
       
       เรากำลังพูดถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อีกองค์หนึ่ง ที่พระเจ้าไซเสดถาทิลาด โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นมา ในช่วงปี พ.ศ. 2091-2114 พร้อมๆ กับ พระองค์ตื้อ (ปัจจุบันประดิษฐานที่วัดองค์ตื้อ นครเวียงจันทน์) พระไส กับพระเสิม และ พระพุทธรูปอื่นๆ อีกหลายองค์ ในยุคที่กรุงจันทะบูลีสีสตนาคนหุต มีความสงบสุข ไพร่ฟ้าหน้าใส แผ่ขายแว่นแคว้นออกไป อย่างกว้างขวาง และ เจริญรุ่งเรืองอย่างสุดขีด
       
       แต่ต่างกับพระไส ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย และ พระเสิม องค์พระประธานแห่งวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร ในกรุงเทพฯ พระสุกมาไม่ถึงฝั่งขวา เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ "แพแตก" ที่บริเวณปากน้ำงึม บริเวณที่เรียกกันว่า "เวินสุก" มาจนกระทั่งทุกวันนี้ และ ยังเป็นที่มาของฉายา "พระพุทธรูปแหกแพ" อีกด้วย
       
       เวลาผ่านมาเกือบ 200 ปี ชาวลาวส่วนใหญ่ก็ยังคงเชื่อว่า พระสุกยังอยู่ในดินแดนลาว .. คือ ที่เวินสุก ยังไม่ทราบความจริงว่า "หลวงพ่อพระสุก" ได้ประดิษฐานอยู่ทีวัดศรีธรรมาราม และ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดยโสธร มาเป็นเวลาเกือบ 90 ปีแล้ว
       
       "ພຣະສຸຂ ເມື່ອກ່ອນຫລັງຈາກທີ່ກອງທັບຮູ້ວ່າ ເຈົ້າອານຸວົງໄດ້ນຳຊັບສົມບັດທັງຫລາຍ ໄປເຊື່ອງໄວ້ທີ່ຖ້ຳພຸເຂົາຄວາຍ ແລະຈຶ່ງໄດ້ນຳ ກອງທັບ ຂຶ້ນໄປໃນຖ້ຳແລະຂົນລົງມາ ໂດຍໃສ່ແພໄມ້ໄຜ່ລ່ອງລົງມາຕາມລຳນ້ຳງື່ມ (ການຂົນຕອນນັ້ນປະກອບມີພຣະສຸຂ ພຣະໃສ ພຣະເສີມ) ແຕ່ແພໄມ້ໄຜ່ເກີດການຫລົ້ມທີ່ປາກນ້ຳງຶ່ມ ຈຶ່ງເອິ່ນວ່າເວີນສຸຂ.."
       
       ย่อหน้าข้างบนเป็นเรื่องราว ที่ชาวลาวผู้หนึ่ง ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ เขียนเมื่อเร็วๆ นี้ บอกเล่าเรื่องราว เมื่อครั้งกองทัพสยาม ติดตามพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ไปถึงแหล่งซุกซ่อน ที่ภูเขาควาย (ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แขวงบอลิคำไซปัจจุบัน -บก.) จนพบ และ นำลงแพไม้ไผ่ล่องไปตามลำน้ำงึม ออกสู่แม่น้ำโขง พร้อมกับพระไสและพระเสิม เพื่อนำกลับดินแดนสยาม แต่เกิดอาเพท เกิดพายุฝนตกฟ้าคะนอง ลำน้ำทั้งสายปั่นป่วน.. พระสุกจมลงที่นั่น
       
       "..ແລະອີກກໍ່ເອີ້ນວ່າເວີນແທ່ນ(ເພາະແທ່ນຮອງພຣະສຸຂຈົມລົງໃນແຖວນັ້ນ) ຈຶ່ງເຮັດໃຫ້ຍັງຢູ່ເມືອງລາວເຮົາຢູ່ ແຕ່ຍັງຢູ່ພື້ນນ້ຳ ແຖວປາກງື່ມ ເມືອງປາກງື້ມ ນະຄອນຫລວງວຽງຈັນ ຈົນຮອດທຸກມື້ນີ້"
       
       ชาวลาวคนเดียวกัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนอื่นๆ เมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ก็จะสรุปทำนองเดียวกันว่า พระสุกยังคงอยู่ในดินแดนลาว มาจนถึงวันนี้ ในบริเวณ "เวินสุก" หรือ "เวินแท่น" (ซึ่งพระเแท่นรองพระสุกจมลงที่นั่น) นั่นคือ สถิตย์อยู่ก้นแม่น้ำแห่งนั้น มาตั้งแต่ปีที่เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) กลับจากการศึกกรุงเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 และ กองทัพสยามนำพระพุทธรูปล้ำค่า พร้อมจับเจ้าอนุวงศ์ (พระเจ้าอะนุวง) ส่งลงมายังกรุงเทพฯ ด้วย
       . 

ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระพุทธลักษณ์ศิลปะล้านช้างงดงามยิ่ง หลวงพ่อพระสุก ประดิษฐานทีวัดศรีธรรมาราม มาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2467-2473 หลังการบูรณะวัดครั้งใหญ่ แต่ผู้คนรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง ตามเรื่องราวอันลึกลับซับซ้อน สามารถทำเป็นหนังเจมส์บอนด์ได้อีกภาค.
       
2


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

หลวงพ่อพระสุก กับอัฐิหลวงตาพวง ภายในเจดีย์-พิพิธภัณฑ์ ที่ชาวยโสธรจัดสมโภชเมื่อปีที่แล้ว.. เป็นเจ้าอาวาสผู้กุมความลับเกี่ยวกับพระพุทธรูปล้านช้าง มานาน 40 ปี.. นานกว่าใครๆ.
       
3


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว
เมื่อครั้งยังอยู่ หลวงตาพวงบอกศิษยานุศิษย์ หลายต่อหลายหนว่า "นี่แหละพระสุก.. นี่แหละพระสุก" ทั้งกำชับให้เก็บเป็นความลับ หลังมรณภาพจึงเปิดเผยได้.
       
4

       เวลาต่อมาพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 พระมหาเจษฎาราชเจ้า ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเจ้าพระยาราชสุภาวดี เป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก เจ้านายสยามท่านนี้ มีความผูกพันกับเมืองยโสธรอย่างล้ำลึก จากการศึกกับพระเจ้าอะนุวงนี่เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระพิพิธซึ่งเป็น "น้องชาย" สายเลือดสิงหเสนีย์แท้ๆ ถึงแก่อสัญรรมที่นี่ ในการศึกกับกองทัพลาวของเจ้าเมืองจำปาสัก
       
       อย่างไรก็ตาม เรื่องราวเกี่ยวกับพระสุกในดินแดนสยาม เป็นเรื่องลับสำหรับทุกฝ่าย และ ชาวสยามในยุคหนึ่ง ได้รู้จักพระพุทธรูปองค์นี้ในนามใหม่ว่า "พระคัมภีรพุทธเจ้า" แม้กระทั่งชาวไทยในยุคปัจจุบัน ก็มีจำนวนมาก ที่ไม่เคยทราบว่า พระสุกอยู่ในดินแดนไทย มาเป็นเวลาเกือบหนึ่งศตวรรษแล้ว
       
       ล่วงเข้าสู่ยุคใหม่ เมื่อปี 2548 วัดศรีธรรมาราม โดยพระครูญาณโพธิคุณ ซึ่งเป็นอดีตพระเลขา ของพระเทพสังวรญาณ หรือ หลวงตาพวง สุชินทริโย ได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนหลวงพ่อพระสุก เป็นโบราณวัตถุ ที่พิพิธภัณฑสถานแหงชาติอุบลราชธานี นั่นคือเมื่อ 12 ปีที่แล้ว
       
       เรื่องนี้เคยเป็นข่าวเล็กๆ ในแวดวงผู้ศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ โดยสาธารณชนทั่วไป ยังไม่ค่อยตระหนักว่า พระสุกคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หรือ เป็นมาอย่างไร
       
       เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 2467-2473 เมื่อครั้งพระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ เป็นปลัดมณฑลอุดร และ ต่อมาได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นผู้ให้นักโทษประหารขั้นเด็ดขาด ทั้ง 8 คน ไปงมพระสุกขึ้นจากบริเวณปากน้ำงึม ที่อยู่ทางตรงข้าม อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย โดยแลกกับอิสรภาพ แตเรื่องนี้ถูกเก็บเป็นความลับมาตั้งแต่นั้น
       
       พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ เติบโตจากวัดศรีธรรมาราม พระอารามหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนคือ วัดท่าชี และ กลายมาเป็นวัดศรีธรรมหายโศก และ วัดอโสการาม เมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัด ระหว่างปี 2467-2473 พระยาอุดรธานีฯ จึงอัญเชิญ พระพุทธรูปองค์นี้จากเมืองอุดรฯ ไปประดิษฐาน ในแดนดินถิ่นกำเนิด
       

       หลังบูรณะพระอุโบสถแล้วเสร็จ ได้มีการสำรวจทรัพย์สิน และ ระบุชื่อ "พระคัมภีรพุทธเจ้า" เอาไว้ในรายการที่ 5 เป็นพระพุทธรูปขัดเงาปางมารวิชัย (ปางชนะมาร) ฐานเป็นเรือนแก้ว หน้าตักกว้าง 27 นิ้ว (68.7 ซม.) สูงจากฐานถึงเศียร 41 นิ้ว (104 ซม.เศษ) ซึ่งเจ้าของก็คือ พระยาอุดรธานีศรีโขมสาคารเขตต์
       
       ชื่อ "พระคัมภีรพุธเจ้า" นั้น พระยาอุดรธานีฯ ตั้งขึ้น เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ พระอาจารย์มี คำภีโร อันเป็นฉายาของบิดา เมื่อครั้งอุปสมบท ที่วัดศรีธรรมารามแห่งนั้น
       . 


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

หนังสือรำลึก ที่จัดพิมพ์ขึ้นต้นปีที่แล้ว ในโอกาสฉลองสมโภชเจดีน์พระสุกและพิพิธภัณฑ์หลวงตาพวง เนื้อหาบอกเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับพระพุทธรูปแหกแพองค์นี้เป็นครั้งแรก แต่ผู้คนจำนวนมาก ทั้งชาวลาวและชาวไทย ก็ยังไม่เคยรู้เรื่องนี้.
       
5


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

รองปกของหนังสือรำลึก ที่กลายมาเป็นบันทึกอันล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ ยุคหนึ่งของความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องสองฝั่งโขง.
       
6


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

"การปรากฏของพระสุก.." บอกให้รู้ว่า เพิ่งจะรับรู้กันเมื่อไม่นานมานี้.
       
7


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

นี่แหละคือ ที่มาของฉายา "พระพุทธรูปแหกแพ" ภาพเขียนที่วัดโพธิ์ชัย อ.เมือง หนองคาย บอกเล่าเหตุการณ์ที่ปากน้ำงึม เมื่อเกือบ 2 ศตวรรษก่อน.
       
8


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

ภาพเขียนวัดโพธิ์ชัย บอกเล่าเหตุการณ์แพแตก ที่ปากน้ำงึม ขณะนำพระสุก พระไส และ พระเสิม ข้ามฝั่งมายังดินแดนสยาม แต่พระสุกเลือกจมลงที่นั่น และ อยู่ต่อมาอีก 100 ปี ก่อนเจ้านายสยาม ส่งคนไปงมขึ้นมาอย่างเงียบๆ.
       
9


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงทราบเรื่องราวต่างๆ เป็นอย่างดี และ เคยเสด็จฯ ยังวัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร อีกด้วย การถกเถียงในประเด็นแท้-ไม่แท้ เกี่ยวกับพระสุกเป็นอันตกไป.
       
10

       ตามประวัตินั้น พระยาอุดรธานีศรีโขมสาครเขตต์ เคยอุปสมบทเป็นสามเณรที่วัดเดียวกัน เมื่ออายุได้ 12 ปี ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ สอบเปรียญธรรม สึกเป็นฆราวาส และ ได้มีโอกาสติดตามสนองงานใกล้ชิด สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย
       
       สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ที่ทรงเป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เคยเสด็จพระดำเนินวัดศรีธรรมาราม จึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระสุกเป็นอย่างดี อีกทั้งได้ทรงโปรดให้เปลี่ยนชื่อ เป็น "วัดอโสการาม" อีกด้วย ทำให้การถกเถียงกันเกี่ยวกับ ความแท้หรือไม่แท้ ของหลวงพ่อพระสุกยุติลง
       
       เรื่องราวเหล่านี้ เขียนบอกเล่าเอาไว้ ในหนังสือรำลึกงานสมโภช "เจดีย์พระสุกและพิพิธภัณฑ์พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวงสุชินทริโย)" วันที่ 2 เม.ย.2559 คือ เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการเปิดเผยความเป็นมา เกี่ยวกับ "ปฏิบัติการลับ" งมพระสุก ขึ้นจากแม่น้ำโขง อัญเชิญเข้าสู่แผ่นดินสยาม และ ถูกเก็บเป็นความลับต่อมาอีกหลายสิบปี จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
       
       ปี 2511 พระเทพสังวรญาณ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม และ "หลวงตาพวง" ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์ผู้หนึ่ง ของหลวงปู่มั่นภูริทัตโต - เกจิอาจารย์สายวิปัสนาแห่งวัดหนองผือ ทั้งเป็นศิษย์ร่วมสำนัก เป็นสหายทางธรรม กับหลวงตามหาบัวญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด ได้กล่าวกับลูกศิษย์ลูกหาว่า เสมอๆ ว่า พระพุทธรูปองค์นี้ มีความสำคัญมากที่สุด ทั้งกำชับทุกคนว่า เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วเท่านั้น จึงจะนำเรื่องราวต่างๆ ออกเปิดเผยได้..
       
       พระราชสุทธาจารย์ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม ท่านต่อมา ได้เคยเปิดเผยว่า หลวงตาพวงได้กล่าวย้ำเสมอๆ "นี่แหละพระสุก.. นี่แหละพระสุก" แต่ทุกอย่างก็ยังถูกเก็บเป็นความลับ ตามความปรารถนา
       
       พระเทพสังวรญาณ อยู่ในตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม เป็นเวลายาวนานกว่า 40 ปี กุมความลับเกี่ยวกับพระสุกตลอดมา จนละสังสารเมื่อปี 2552 และ ปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานเพลิง ถึงกระนั้นความลับก็ยังลับต่อมาอีก จนเมื่อมีการก่อสร้างเจดีย์พระสุกและพิพิธภัณฑ์ฯ ขึ้นในพระอารามหลวง เมื่อปีที่แล้ว ชาวยโสธรจัดฉลองสมโภชอย่างสมเกียรติ ความลับทั้งหมดจึงถูกเปิดเผยออกมาอย่างละเอียด.. หลังหลวงตาพวงจากไป 7 ปีเต็ม.
       .

       
มีพระพุทธรูปถูกอัญเชิญ จากอาณาจักรล้านช้าง มาประดิษฐานทางฝั่งสยามหลายองค์ ในต่างยุคสมัยกัน คนรุ่นใหม่จำนวนมาก แทบจะไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ ยกเว้นหลวงพ่อพระสุกเพียงองค์เดียว พระพุทธรูปจากลาวองค์อื่นๆ ไม่ได้เป็นความลับอะไร ในดินไทยปัจจุบัน หลายองค์เป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสำคัญต่างๆ พระพุทธรูปบางองค์มาไกลจากดินแดนเขมร ที่เคยเป็นของลาวเมื่อก่อน ข้อมูลทั้งหมดต่อไปนี้ เป็นเพียงจำนวนหนึ่ง อันเป็นผลงานการสืบค้นของชาวลาว ผู้มีความสนใจในประวัติศาสตร์ของชาติ.


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

หลวงพ่อพระไส เป็นอีกองค์หนึ่งที่ข้ามมายังฝั่งนี้ แต่ไม่ยอมมากรุงเทพฯ ทำเกวียนหักหลายเล่ม เล่มแล้วเล่มเล่า จึงต้องให้ประดิษฐานอยู่วัดโพธิ์ชัย หนองคาย มาจนทุกวันนี้.
       
11


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระเสิม เดินทางมายาวไกล ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร.
       
12


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระอินแปง พระประธานวัดมหาพฤฒาราม ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ วัดเสนาสนาราม ราชวรวิหาร พระนครศรีอยุธยา.
       
13


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

"พระอรุณ" หรือ พระแจ้ง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ใด คงเดาได้ไม่ยาก.
       
14


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระแสนมะหาไซ จากเมืองมะหาไซ แขวงคำม่วน ประดิษฐานที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร.
       
15


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระแขกคำ ขนาด 18 นิ้ว จากเวียงจันทน์ ซึ่งชาวลาวผู้สืบค้นกล่าวว่า หล่อจากทองแท้ทั้งองค์ ประดิษฐานที่วัดคหบดี ธนบุรี.
       
16


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระแสนเชียงแตง (สะตึงแตร็ง) จังหวัดนี้เคยเป็นของลาว ฝรั่งเศสมอบให้เป็นของกัมพูชา ปัจจุบันพระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานที่วัดรัตนาราม ธนบุรี.
       
17


ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยามนำ พระสุก..พระพุทธูปแหกแพ ขึ้นจากน้ำโขงเงียบๆเกือบ 100 ปีมาแล้ว

พระสันหมากส้มมอ พระพุทรูปสำริดปางสมาธิเพชร พระหัตถ์ซ้ายถือหมากส้มมอ (ลูกสมอไทย) ประดิษฐานที่วัดอัปสรสวรรค์ ธนบุรี.
       
18

อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : ชาวลาวส่วนใหญ่ไม่รู้ นักโทษสยาม พระสุก พระพุทธูปแหกแพ น้ำโขง เงียบๆ เกือบ 100 ปีมาแล้ว

view