สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นักวิชาการวิพากษ์นโยบายตรึงราคาไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน-ชาวนา

นักวิชาการวิพากษ์นโยบายตรึงราคาไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน-ชาวนา

จากประชาชาติธุรกิจ

นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในงานสัมมนาวิเคราะห์เจาะลึก "นโยบายอุดหนุนตรึงราคา ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย" ว่า แม้รัฐบาล จะใช้นโยบายอุดหนุนและตรึงราคา แต่ในแง่ของการใช้แนวทางในการแทรกแซงและยกระดับราคาข้าว ด้วยการเปิดโครงการับจำนำข้าวมาตลอด 2 ปี ถือเป็นเรื่องการคอร์รัปชั่นอย่างโปร่งใส และทำเป็นขบวนการ มีใบเสร็จ และทำในลักษณะยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาในการับจำนำข้าวที่รัฐบาล มีข้าวค้างสตอกถึง 10 ล้านตัน ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมาไม่มีการระบายออก โดยปล่อยให้ประเทศอินเดีย และเวียดนามส่งออกข้าว จนทำให้ประเทศไทยสูญเสียการส่งออกข้าวอันดับ  1  แต่ก็ถือว่าไม่ใช่ประเด็นใหญ่เท่ากับการที่รัฐบาล โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ออกมาให้ข่าว หลังจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ พบการทุจริต การรับจำนำข้าว แต่ภาครัฐ กลับมาออกให้ข่าวว่า เป็นเรื่องเก่า และตรวจสอบพบเพียง 2 จังหวัด ซึ่งข้อเท็จจริงพื้นที่เพาะปลูกข้าวมีมาก ดังนั้น รัฐบาล จึงต้องทำให้โปร่งใส

อย่างไรก็ตาม มองว่า รัฐบาล ใช้งบประมาณในการแทรกแซงราคาข้าวในโครงการแต่ละฤดูกาล 7-8 หมื่นล้านบาท และตั้งงบเพื่อให้เป็นทุนหมุนเวียนในการแทรกแซงประมาณ 2.7 แสนล้านบาท แต่รัฐบาล ไม่สามารถใช้งบปิดงบบัญชีในการใช้เงินแทรกแซงได้แม้แต่ครั้งเดียว ที่สำคัญ ไม่เฉพาะโครงการแทรกแซงพืชผลทางการเกษตรเท่านั้น แต่ยังห่วง การใช้งบประมาณในโครงการต่าง ๆ  อีกมากมาย ที่จะเป็นการใช้เงินนอกงบประมาณทั้งสิ้น จึงไม่มีระบบการตรวจสอบที่ดีจากรัฐสภา

ทั้งนี้ ตนคงไม่สามารถที่จะไปเสนอแนะหรือชี้แนะรัฐบาล  แต่รัฐบาลควรต้องแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง เพราะที่ผ่านมา รัฐบาล ทำในลักษณะโปร่งใส แต่ไม่มีระบบการตรวจสอบ ซึ่งตนจะพยากรณ์ให้รัฐบาล ฟังเท่านั้น ซึ่งเวลานี้ โครงการที่รัฐบาลใช้แทรกแซงด้วยการรับจำนำ และมีสตอกข้าวมากกว่า 10 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นข้าวเก่า และเริ่มเน่าเสีย เสื่อมคุณภาพลงเรื่อย ๆ ดังนั้น ผู้ที่ชื่นชอบโครงการนี้ จะไปอยู่ในกลุ่มผู้ดำเนินธุรกิจค้าข้าว อาทิ โรงสี ซึ่งการที่รัฐบาล มักจะกล่าวอ้างการดำเนินนโยบายรับจำนำ เพื่อช่วยชาวนา เพราะชาวนาไทยยากจน โดยหากดูผลประโยชน์ที่ชาวนาได้รับนั้น ถือว่าได้รับประโยชน์ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ด้านนายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงนโยบายอุดหนุน และตรึงราคาที่รัฐบาล ดำเนินอยู่ ว่า การใช้นโยบายอุดหนุนและตรึงราคา หากใช้ในระยะสั้น ถือว่าเหมาะสม แต่ในขณะนี้ เห็นว่า การใช้นโยบายอุดหนุนด้านพลังงาน ถือเป็นเรื่องไม่สอดคล้อง และไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ทำให้เป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า การตรึงใน ก๊าซแอลพีจี ไม่ให้ขยับไปตามตลาดโลก รัฐบาล ต้องนำเงินกองทุนฯ มาสนับสนุน ถือเป็นการบิดเบือนทางตลาด อีกทั้งยังเกิดการลักลอบนำแอลพีจีไปขายในกลุ่มระเทศเพื่อนบ้าน จึงมองว่า ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล จะต้องปล่อยลอยตัวก๊าซแอลพีจี แม้จะกระทบต่อภาคครัวเรือนที่มีรายได้น้อย แต่สามารถใช้แนวทางการอุดหนุนภาคครัวเรือน เช่น การใช้วิธีการแจกคูปอง โดยการดึงข้อมูลจากครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าฟรี ที่มีอยู่ประมาณ 10 ล้านครัวเรือน มารับการอุดหนุนจากรัฐบาล ในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาล อาจใช้เงินเข้าไปอุดหนุนภาคครัวเรือนประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่หากมองในแง่การใช้แนวทางการอุดหนุนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ใช้เงินต่อวันกว่า 140 ล้านบาท หรือ ประมาณ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี

“หาก สามารถปล่อยลอยตัวได้ เชื่อว่า จะลดภาระการใช้เงินจากกองทุนได้อย่างมากแน่นอน ซึ่งเรื่องดังกล่าว นักวิชาการ พยายามเสนอให้ภาครัฐบาล ทบทวนนโยบายในการอุดหนุน และตรึงราคาก๊าซแอลพีจี เพราะหากเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจะต้องนำเงินจากภาษีของประชาชนมาอุดหนุน ถือเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง” นายพรายพลกล่าว

ที่มา MCOT


อัมมาร์จวก"จำนำข้าว"เป็นการคอรัปชั่นโปร่งใส-ยังยั่น แถมมีใบเสร็จ

       "อัมมาร์"จวกเละนโยบายจำนำข้าว นายกฯ ปู เป็นการคอรัปชั่นโปร่งใส และยั่งยืน มีใบเสร็จ จี้รัฐยกเลิกนโยบายดังกล่าว ชี้ทำรัฐสูญปีละ 7-8 หมื่นล้านบาท หลังผลาญเงินไปแล้ว 2.7 แสนล้านบาท จับตาเล่ห์ระบายข้าวในสต็อก 10 ล้านตัน จะลักไก่ส่งออกข้าวฤดูใหม่แทนข้าวในสต็อก ด้านนักวิชาการจี้รัฐยกเลิกอุดหนุนราคาLPG ใช้คูปองช่วยครัวเรือนยากจนแทน
       
       นายอัมมาร์ สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า รัฐบาลควรยกเลิกนโยบายรับจำนำข้าว หลังจากปัจจุบันมีข้าวอยู่ในสต็อกแล้ว 10 ล้านตันและยังเดินหน้ารับจำนำข้าวฤดูใหม่อีก โดยเบื้องต้นอาจใช้วิธีรับประกันราคาข้าวไปก่อนที่จะยกเลิกในระยะยาว เนื่องจากนโยบายนี้ก่อให้เกิดการคอรัปชั่นที่โปร่งใสและยั่งยืน เป็นการคอรัปชั่นที่มีใบเสร็จ โดยประเทศสูญเสียปีละ 7-8 หมื่นล้านบาท
       
       " ในปีที่แล้วรัฐรับจำนำข้าวอย่างเดียวโดยไม่ปล่อยออกสู่ตลาด 10 ล้านตัน ทำให้ข้าวหายไปจากตลาดโลกส่งผลราคาข้าวโลกดีดขึ้นส่งผลดีต่อข้าวเวียดนามและ อินเดีย แต่พอรัฐบาลไทยบอกว่าจะระบายข้าวออกพร้อมกับรับจำนำข้าวใหม่ดัวย เชื่อว่าข้าวในสต็อกก็คงมีอยู่ 10 ล้านตันโดยข้าวในสต็อกจะเป็นข้าวเดิม 2ปี เนื่องจากข้าวฤดูใหม่จะถูกขายออกสู่ตลาดแทนเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดและ ขายได้ราคามากกว่า โดยจะมีบริษัทนายหน้าดำเนินการ และมีใบเสร็จการส่งออกข้าวถูกต้อง และสุดท้ายข้าวในสต็อกจะเป็นข้าวเก่าค้าง2ปีที่จะเน่าเสียไป เท่ากับเงิน 2-3 แสนล้านบาทที่ใช้รับจำนำข้าวสูญเปล่า "
       
       การใช้นโยบายจำนำข้าวเพื่อต้องการช่วยชาวนายากจนนั้นถือเป็นการหลอก ลวง เนื่องจากพบว่าเม็ดเงินอุดหนุนส่วนใหญ่ตกอยู่กับโรงสีหรือพ่อค้าคนกลาง รวมถึงชาวนาที่ร่ำรวย ส่วนชาวนาที่ยากจนจะมีผลผลิตข้าวเหลือพอขายน้อย และขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ต่ำกว่าการรับจำนำ 1.5 หมื่นบาท/ตันด้วย โดยมีการวิจัยพบว่าเงินที่รัฐอุดหนุนไป 100 บาทจะตกเป็นของโรงสีหรือพ่อค้าคนกลาง 63 บาท ที่เหลือ37 บาทตกอยู่กับชาวนา ซึ่งขาวนาที่ยากจนจะได้รับน้อยมาก เนื่องจากผลผลิตข้าวที่เกินการบริโภคมีขายน้อยกว่า และราคาขายก็ต่ำกว่าราคารับจำนำที่ 1.5 หมื่นบาท/ตัน
       
       ซึ่งนโยบายการอุดหนุนหรือตรึงราคาของภาครัฐไม่ได้มีแค่ข้าวกับน้ำมัน แต่ยังมีโครงการอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเป็นรายจ่ายที่มหาศาล ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากในระยะยาวโดยเฉพาะการเพิ่มของหนี้สาธารณะ เพราะเม็ดเงินที่ใช้ในการอุดหนุนมาจากการกู้ยืม ซึ่งประเทศไทยไม่รวยพอที่จะใช้เงินอย่างไม่มีประสิทธิภาพ อันจะก่อให้เกิดปัญหาหนี้เหมือนกรีซได้
       
       จี้รัฐยกเลิกอุดหนุนLPG
       
       นายพรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานเสวนา"นโยบายอุดหนุนและตรึงราคา: ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย วานนี้ (7 ส.ค.)ว่า ได้เสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมต่อกระทรวง พลังงานไปแล้ว โดยเสนอให้ยกเลิกการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม(LPG)ทุกภาคส่วน โดยปล่อยลอยตัวราคาขายปลีก โดยเสนอให้คูปองสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย โดยใช้ข้อมูลจากการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 150 หน่วย/เดือนคิดเป็น 10 ล้านครัวเรือน เท่ากับรัฐอุดหนุน 1หมื่นล้านบาทต่อปี ต่ำกว่าปัจจุบันที่อุดหนุนอยู่ 5 หมื่นล้านบาทต่อปี ส่วนร้านอาหาร ภัตรคารและโรงแรมค่อยพิจารณาว่าจะอุดหนุนโดยคูปองหรือไม่
       
       ส่วนน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์พบว่าราคาขายปลีกปัจจุบันสูงเกินไป จึงเสนอให้ปรับลดภาษีสรรพสามิตสำหรับเบนซินลงมาเหลือ 4 บาท/ลิตรจากปัจจุบันจัดเก็บอยู่ 7 บาท/ลิตร ส่วนแก๊สโซฮอล์ 3 บาท/ลิตร ขณะเดียวกันน้ำมันดีเซลให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 บาท/ลิตร ส่งผลให้ราคาดีเซลอยู่ที่ 32 บาท/ลิตร


นักวิชาการรุมสับจำนำข้าว

จาก โพสต์ทูเดย์

นักวิชาการยำใหญ่นโยบายประชานิยมรัฐบาล ชี้จำนำข้าวสร้างหายนะขาดทุน 1.1 แสนล้านบาท เสียดอกเบี้ยปีละ 5,000 ล้านบาท ทำตลาดส่งออกพัง และเกิดการทุจริตหากินของนายทุนและนักการเมือง

คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดประชุมทางวิชาการ เรื่อง "1 ปีกับนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล" โดยผู้เข้าร่วมงานได้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ส่วนใหญ่ได้พูดถึงโครงการรับจำนำ ข้าวของรัฐบาล เริ่มตั้งแต่

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า นโยบายด้านการเงินการคลังของรัฐบาลที่ต้องระวังมี 3 เรื่องประกอบด้วย เรื่องที่ 1 การแทรกแซงกลไกตลาดสินค้าการเกษตรโดยการรับจำนำข้าว ซึ่งขัดต่อแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ และในอดีตเศรษฐกิจของประเทศรัสเซียเคยล่มสลายเพราะดำเนินการในลักษณะเดียว กันนี้มาแล้ว

เรื่องที่ 2 การบิดเบือนตลาดแรงงานโดยการกำหนดอัตราค่าจ้างสูงกว่าตลาดกว่าฝีมือ เหมือนกับที่ประเทศสิงคโปร์เคยใช้ระหว่างปี 2521-2527 จนส่งผลให้ระดับการว่างงานสูงขึ้นเพราะนักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะไปตั้งโรง งานในประเทศที่แรงงานถูกกว่า จนทำให้สิงค์โปร์ต้องยกเลิกนโยบายค่าจ้างสูงดังกล่าว

เรื่องสุดท้ายที่ 3 การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน  จำนวน 1.14 ล้านล้านบาทมาให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้รับผิดชอบ ถือเป็นการโอนหนี้รัฐการคลังไปให้ ธปท.  ปัญหาที่ตามมาหากธปท. เก็บเงินสมทบจากเงินฝากของธนาคารพณิชย์ที่ 0.47% ไปชำระหนี้ไม่พอ ทำให้ ธปท. ต้องไปกู้เพิ่ม หรือ พิมพ์ธนบัตรออกมาชำระหนี้ ทำให้ระบบของธนาคารกลางพังเสียหาย

นายนิพนธ์ พัวพวศกร ประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลเป็นการให้ความสำคัญด้านราคาอย่างเดียวโดยไม่ สนใจคุณภาพ ทำให้ข้าวของไทยพินาศ คาดว่ารัฐบาลจะขาดทุนจากการรับจำนำ 9 หมื่นล้านบาท ถึง 1.1 แสนล้านบาท หากต้องระบายข้าวทั้งหมดประมาณ 11 ตันข้าวสารออกไป

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การรับจำนำเป็นการทำตลาดส่งออกข้าวไทยในช่วงเดือน ต.ค. 2554-มิ.ย. 2555 ไทยส่งออกข้าวได้ 4.7 ล้านตัน มูลค่า 1 แสนล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันก่อนหน้าส่งออกได้ 9.4 ล้านตัน เป็นมูลค่า 1.6 แสนล้านบาท มูลค่าการส่งออกหายไปถึง 6 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้การรับจำนำข้าว ยังมีต้นทุนเงินกู้อีกปีละ 5,000 ล้านบาท และยังมีผลเสียจากที่รัฐบาลรับจำนำข้าวที่ต้องส่งออกไว้ทั้งหมด การระบายข้าวจะมีการร่วมมือกันของนายทุนและนักการเมืองทุจริตคอร์รัปชั่น

นายสมพร อิศวิลานนท์ จากสถาบันคลังสมองแห่งชาติ กล่าวว่า การรับจำนำข้าวตันละ 1.5-2 หมื่นบาท ซึ่งสูงกว่าราคาตลาดจำนวนมาก เป็นการทำลายตลาดซื้อขายล่วงหน้าให้อยู่ไม่ได้ นอกจากนี้ จากการประเมินต้นทุนการปลูกข้าวอยู่ที่ตันละ 7,000 บาท เกษตรกรได้กำไรตันละ 8,000 บาท ทำให้ต่อไปเกษตรกรรายเล็กอยู่ไม่ได้ เพราะรายใหญ่จะคุมการปลูกข้าวไปจำนำกับรัฐบาลจนหมด

ด้านนายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า รัฐบาลปัจจุบันมีนวัตกรรมทางนโยบายที่ผิดเพราะหลายโครงการมีลักษณะกระตุ้น กำลังซื้อในประเทศมากเกินไปจนอาจนำไปสู่ภาระทางการคลัง อาทิ จำนำข้าว บัตรเครดิตเกษตรกร และรถคันแรก

อีกทั้งยังขาดประสิทธิภาพเพราะไม่สามารถทำให้ช่องว่างของรายได้ระหว่างคน รวยกับคนจนลดลงได้ในระยะยาว ซึ่งในอนาคตเศรษฐกิจอาจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ค่าเงินผันผวน เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกอีกด้วย


รักษ์ไม้,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,มูลไส้เดือนดิน,การเลี้ยงไส้เดือน,ปุ๋ยอินทรีย์,ปุ๋ยชีวภาพ

Tags : นักวิชาการวิพากษ์ นโยบายตรึงราคา ไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ชาวนา

view