สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปรับเปลี่ยนวิธีคิดการใช้ปุ๋ย

จาก คมชัดลึกออนไลน์

คมชัดลึก :เมื่อ ประมาณ 4 เดือนที่แล้ว ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมแปลงข้าวโพดของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้นแบบความ ร่วมมือเพื่อให้เกษตรกรเรียนรู้และสามารถตัดสินใจทางการเกษตรได้ โดยใช้กรณีของเกษตรกรที่อำเภอนครไทยที่ปลูกข้าวโพดเป็นต้นแบบ ที่มาของเรื่องก็คือ แต่เดิมมีโครงการหนึ่งซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน โดยใช้กระบวนการวิเคราะห์เหตุของความยากจนเป็นหลักด้วยการทำบัญชีครัวเรือน
ข้อมูลที่ได้ก็คือที่บ้านห้วยเฮี้ย อ.นครไทย มีการปลูกข้าวโพดกันมาก และต้นทุนการผลิตต่อไร่สูงถึง 4,000 บาท ซึ่งในจำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นค่าปุ๋ยเคมี และชาวบ้านก็ได้เรียกร้องให้นักวิชาการเข้าไปช่วยเหลือเรื่องนี้ จากจุดนั้นเองจึงได้เกิดโครงการต่อเนื่องขึ้นมา เพื่อหาทางลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยดังกล่าว โดยอาศัยเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่ซึ่งเกิดขึ้นจากผลการวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง นั่นก็คือเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัด ตามที่ได้เรียกชื่อกันอย่างนั้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ผมเคยเล่าเรื่องดังกล่าวนี้ไปแล้วเมื่อประมาณ 4 เดือนที่แล้ว แต่ขณะนั้นยังไม่ได้มีการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพียงแต่เห็นด้วยตาว่าข้าวโพดที่ปลูกตามคำแนะนำการปรับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจะ มีฝักใหญ่กว่าการปลูกและการใช้ปุ๋ยแบบเดิมที่เกษตรกรรายเดียวกันนั้นทำอยู่ รวมทั้งตัวเกษตรกรผู้ปลูกเองก็ประเมินอย่างคร่าวๆ ว่าผลผลิตน่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมทีเดียว มาวันนี้ข้าวโพดเหล่านั้นได้ถูกเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งนักวิชาการร่วมกับเกษตรกรได้เก็บข้อมูลผลผลิตอย่างเป็นเรื่องเป็น ราว รวมทั้งนำบัญชีค่าใช้จ่ายมาดูกันว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในวันนี้ผมจึงอยากนำเรื่องดังกล่าวมาเล่าต่อว่าผลจากการเก็บข้อมูลจริงได้ผล เป็นอย่างไรบ้าง

ประการแรกคือเรื่องต้นทุนค่าปุ๋ยของเกษตรกรที่บ้านห้วยเฮี้ย มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 20 ราย เดิมใช้ปุ๋ยนาข้าวคือ 16-20-0 กับ 46-0-0 ในการปลูกข้าวโพด ผลก็คือได้ไนโตรเจนมากเกินไป ในขณะที่ไม่มีการใส่โพแทสเซียมเลย ต้นทุนค่าปุ๋ยเฉลี่ยต่อไร่คือ
1,518 บาท แต่เมื่อได้ปรับเปลี่ยนการใช้ปุ๋ยมาใช้ตามคำแนะนำของนักวิชาการที่ได้จากการ วิเคราะห์ดิน แล้วใส่ตามความต้องการของดินในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละแปลง ปรากฏว่าต้นทุนค่าปุ๋ยลดลงเหลือไร่ละ 999 บาทเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถลดการใช้ไนโตรเจนลงได้ แต่มีการเพิ่มปุ๋ยโพแทสเซียมเข้าไปประมาณ 9-25 กิโลกรัมต่อไร่ ตามค่าการวิเคราะห์ดิน ซึ่งเฉลี่ยแล้วตกประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
การ ที่ต้นทุนค่าปุ๋ยลดลงมากกว่า 500 บาทต่อไร่นี้ ก็ถือได้ว่าเป็นส่วนของกำไรที่เพิ่มขึ้นต่อให้ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ผลจากการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินนี้ นอกจากจะลดค่าปุ๋ยได้แล้วเพราะว่ามีการใช้ปุ๋ยน้อยลง แต่ผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นด้วยนั่นคือจากเดิมได้ผลผลิต 950-1,559 กิโลกรัมต่อไร่ ด้วยวิธีการใส่ปุ๋ยแบบเดิมกลายมาเป็น 1,200-1,852 กิโลกรัมต่อไร่ ด้วยการใช้คำแนะนำตามหลักวิชาการหรือที่เรียกว่าปุ๋ยสั่งตัด ปรากฏว่าเกษตรกรที่ร่วมโครงการต่างยิ้มแย้มแจ่มใสไปตามๆ กัน

และในฤดูปลูกถัดไปก็จะหันมาใช้วิธีการให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกันทั้ง หมด เพราะเห็นแล้วว่าสามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก คือ ดร.ปรีชา เรืองจันทร์ ก็สนใจและได้ไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรกรด้วยกัน และพร้อมที่จะขยายผลออกไปทั้งจังหวัด ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี และต่อไปเราคงได้เห็นว่าเกษตรกรมีการใช้ความรู้เพื่อการปรับปรุงกระบวนการ ผลิตที่ทำให้ได้กำไรมากขึ้น ทั้งโดยการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต อย่างไรก็ตาม กว่าจะได้ผลเช่นนี้ก็มีขั้นตอนดำเนินการมากมาย ทั้งวิธีคิดและการปฏิบัติ ดังนั้นคราวหน้าผมจะมาเล่าให้ฟังว่ามีวิธีการอย่างไรจึงทำให้เกิดผลสำเร็จ ได้เช่นนี้ครับ

รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

Tags : ปรับเปลี่ยนวิธีคิดการใช้ปุ๋ย

view