สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผลิตก๊าซจากระบบบำบัดน้ำ

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

ขณะ นี้โรงงานแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรีของซีพีเอฟ ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 2521 อยู่ที่หมู่ที่ 9 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่เพื่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนเป็นครั้งแรกของโรงงาน แปรรูปเนื้อไก่ในประเทศไทย ด้วย “โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำ”  ซึ่งสามารถลดมลพิษทางกลิ่นและก่อ  ให้เกิดพลังงานทดแทนสำหรับใช้ภายในโรงงาน
   
เมื่อ 30 ปีที่แล้ว โรงงานแห่งนี้  ตั้งอยู่ห่างไกลพื้นที่ชุมชนมาก กาลต่อมาชุมชนเริ่มขยายความเจริญเข้ามาใกล้ โรงงานมากขึ้น ทางโรงงานจึงพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและ ป้องกันปัญหากลิ่นที่เกิดจากการบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเปิดโดยเปลี่ยนเป็นระบบ บำบัดแบบบ่อปิดที่สามารถควบคุมปัญหาเรื่องกลิ่นได้อย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสามารถนำก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นไปใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเตา ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงใน Broiler และยังเป็นส่วนหนึ่งของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปิดนี้ เป็นการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ระบบนี้ใช้งบลงทุนรวม 24.5 ล้านบาท (ได้รับเงินสนับสนุนจาก สนพ.   3.84 ล้านบาท ทำให้ใช้เงินลงทุนจริง 20.66 ล้านบาท) สามารถลดการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตา 366,000 ลิตรต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 15,000 ตันต่อปี เทียบเท่าการปลูกป่า 88 ไร่ต่อปี
   
โครงการนี้ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศชนิดปิดคลุม (Cover Lagoon) และระบบตะกอนเร่ง (Activated Sludge) เพื่อลดการกระจายของกลิ่น และ สามารถผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำเสียได้สูงสุดถึง 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งนับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญ ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้ได้นำก๊าซชีวภาพดังกล่าวไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอ น้ำ (Boiler) ซึ่งทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึงปีละ 6.6 ล้านบาท การทำบ่อหมักไร้อากาศแบบบ่อปิดที่มีกำแพงบังคับทิศทางการไหลของน้ำเสียส่งผล ให้ประสิทธิภาพการบำบัดเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับระบบบำบัดไร้อากาศทั่วไป ทำให้ใช้พื้นที่น้อยลง 3 เท่า และน้ำที่ผ่านการบำบัดมีคุณภาพตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรมและสามารถนำ กลับมารีไซเคิลภายในโรงงาน โดยปัจจุบันได้นำมาใช้รดต้นไม้
   
สำหรับขั้นตอนทำงานคือเมื่อน้ำเสียออกจากโรงงานจะคัดแยกเศษขยะที่ มีขนาดใหญ่ออก จึงแยกน้ำไขมันออกจากน้ำเสีย แล้วทำการแยกเศษขยะขนาดเล็ก และทำการปรับสมดุลน้ำเสีย ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียที่ผลิตก๊าซชีวภาพ จากนั้นจึงนำเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย        แบบเติมอากาศ และแยกตะกอนออกจากน้ำเสีย
   
โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำนี้ ถือ เป็นโครงการต้นแบบ ที่จะ นำไปประยุกต์ใช้กับโรงงานอาหารแปรรูปอื่น ๆ ของบริษัทต่อไป โดยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นนี้มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนประมาณ 60-70% ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้แทนเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ            ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Gas Generator) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร ทั้ง ยังเป็นเชื้อเพลิงสะอาด สอดคล้องกับหลัก CDM : Clean Development Mechanism ที่ช่วยลดปัญหาภาวะเรือน กระจกของโลกด้วย.

Tags : ผลิตก๊าซ ระบบบำบัดน้ำ

view