สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผักไฮโดรโปนิกส์ ปลอดภัยจริงหรือ

จากเวปไซต์ H2O Hydro Garden


ผักไฮโดรโปนิกส์ ปลอดภัยจริงหรือ

ถึงตรงนี้ เชื่ออย่างยิ่งว่า คำถามสำคัญซึ่งเป็นบทสรุปของเรื่องทั้งหมดก็คือ มีหลักประกันความปลอดภัยของพืชผักในระบบไฮโดรโปนิกส์หรือไม่ เพราะปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสารเคมีกับพืช จะเหมือนกับ ไก่เร่งฮอร์โมน หมูมีสารเร่งเนื้อแดง หรือไม่ แม้สารเคมีที่ให้จะเป็นสารปกติที่พืชสมควรได้รับอยู่แล้ว ไม่ได้เป็นสารเคมีแปลกปลอมไปกว่าปกติแต่อย่างใด ความเป็นจริงคือ การที่ผักไฮโดรโปรนิกส์ได้รับสารอาหารสมบูรณ์เกินขนาดเช่นนี้ ทำให้มีการสะสมจนอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้


ตารางข้อมูลผลกระทบต่อร่างการจากสารอาหารในปริมาณสูง

ธาตุอาหาร ผลกระทบของสารอาหารต่อร่างกาย

ไนโตเจน เกลือไนเตรท และเกลือไนไตรท์ จะเป็นสารตั้งต้นของ ไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในตับ ในระบบทางเดินอาหาร

ฟอสฟอรัส ทำให้เกิด hyperparathyroidism และ resorption ของกระดูก

แคลเซียม ทำให้ท้องผูก อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่วสูงขึ้น

แมกนีเซียม ถ้าไตไม่ดีจะพบ hypermagnesemia

เหล็ก เกิดภาวะ hemochomatosis เกิดการทำลายเนื้อเยื่อที่เก็บสะสมเหล็ก เช่น ตับ

สังกะสี เกิดภาวะขาดทองแดง เนื่องจากสังกะสีจะไปกระตุ้นเซลล์ลำไส้สร้าง intestinal binding จับกับทองแดง


สารที่ควรจะต้องให้ความสำคัญคือ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยอนินทรีย์ โปรตัสเซียมไนเตรท และแคลเซียมไนเตรท ในพืชผักต่าง ๆ ยิ่งมีการใช้ปุ๋ยพวกไนเตรทเพิ่มขึ้น ก็จะมีผลทำให้มีสารไนเตรทและไนไตรท์เพิ่มมากขึ้น พืชที่พบว่ามีสารเหล่านี้มากจะเป็นพวกกินใบและกินหัว โดยเฉพาะระยะที่พืชผักถูกเก็บไว้เพื่อรอการบริโภค สารไนเตรทจะเปลี่ยนเป็นสารไนไตรท์ โดยแบคทีเรีย ซึ่งผักบางชนิดอาจมีไนไตรท์สูงถึง 3.6 กรัมต่อผักแห้ง 1 กิโลกรัม

ความเป็นพิษของไนเตรทและไนไตรท์ในเด็ก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงของเด็กไม่มีเอ็นไซม์ ชื่อ เอ็นเอดีเอช เมธฮีโมโกลบินรีดักเตส (NADH-methemoglobin reductase) เปลี่ยนเมธฮีโมโกบิน ซึ่งถูกออกซิไดซ์ด้วยไนไตรท์ได้ดีและง่ายกว่า ฉะนั้นการสะสมของเมธฮีโมโกบินจึงทำให้เด็กมีอาการขาดออกซิเจน ปวดศีรษะ หายใจหอบ หัวใจเต้นแรง และเร็วกว่าปกติ


ความเป็นพิษของสารไนโตรซามีน สารนี้เกิดจากเกลือไนไตรท์รวมตัวกับสารอามีน (amines) ซึ่งจะทำปฏิกิริยาได้ดีในสภาพความเป็นกรดสูงในกระเพาะอาหาร สารพิษไนโตซามีนสามารถถูกดูดซึมไปทั่วร่างกาย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เกลือไนเตรทเป็นสารตั้งต้นของสารก่อมะเร็ง สารไนโตซามีนมี 4 ชนิดที่ได้รับการพิสูจน์ว่า เป็นสารก่อมะเร็งคือ ไดเมธิลไนโตซามีน (dimethylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งตับ ไดเอธิลไนโตรซามีน (diethylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งในหลอดอาหาร เมธิลและตับ เบนซิลไนโตรซามีน (methylbenzylnitrosamine) และเมธิลเฟนิลไนโตรซามีน (methyphenylnitrosamine) ทำให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นสมมติฐาน ของการรับประกันถึงความปลอดภัยของผักไฮโดรโปนิกส์ เท่าที่ตรวจสอบได้

เหรียญสองด้านของการบริโภค
ข้อมูลโดย http://www.moph.go.th/ops/doctor/DrApril45/world1101.doc

Tags : ผักไฮโดรโปนิกส์มปลอดภัยมจริงหรือ

view