สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปุ๋ยนมสด

จาก วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน

ดินและปุ๋ย

องอาจ ตัณฑวณิช ชมรมการจัดการทรัพยากรเกษตร ONGART04@YAHOO.COM


ปุ๋ยนมสด



จาก บทความเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหนังสือพิมพ์ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2550 เรื่อง ?โรงปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยนมชีวภาพ เพิ่มคุณค่าของเหลือใช้มาบำรุงดิน? ที่ นายสัตวแพทย์ บุญญวัตน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นำมาเคลือบด้วยพลาสติคขนาดใหญ่เอามาให้ผมดู ในเนื้อหากล่าวถึง โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ที่นำน้ำนมโคที่ไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ และที่เหลือจากการผลิตที่ไม่สามารถนำมาบริโภคหรือจำหน่ายได้ นำมาผ่านกระบวนการหมักด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ผสมกับกากน้ำตาล ได้เป็น ?ปุ๋ยนมชีวภาพ? ใช้ฉีดพ่นหรือราดโคนต้นไม้ เป็นปุ๋ยบำรุงดินโดยตรง อีกทั้งยังเป็นหัวเชื้อในการหมัก เศษวัสดุต่างๆ เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี จากสารคดีดังกล่าว ทำให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการที่จะสืบสานปณิธานงานของพ่อต่อไป โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะนำของเหลือใช้จากกิจกรรมการเลี้ยงโคนมมาใช้ประโยชน์ ให้มากที่สุด แทนที่จะทิ้งไปเป็นของไร้ค่า และยังก่อให้เกิดเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อมด้วย

การใช้ปุ๋ยเคมีถึง แม้จะมีราคาแพง แต่ก็ยังเป็นที่นิยมของเกษตรกรทั่วไป เป็นเพราะความสะดวกในการซื้อ การขนส่ง และได้ผลรวดเร็วกว่าปุ๋ยชนิดอื่น แต่ปัจจุบันเราใช้ปุ๋ยเคมีกันอย่างฟุ่มเฟือย ปุ๋ยเคมีธาตุอาหารเข้มข้นและปลดปล่อยออกมาได้เร็ว ถ้าพืชไม่สามารถใช้ได้ทัน ก็จะถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติหรือซึมผ่านลงดินชั้นล่างสะสมในแหล่งน้ำ ใต้ดิน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ในปัจจุบันก็มีการตื่นตัวมาใช้กันพอสมควร แต่ก็ยังมีจำนวนไม่มาก เกษตรกรนิยมซื้อปุ๋ยเคมี เพราะความสะดวก ไม่ชอบที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง ทั้งๆ ที่มีวัสดุเหลือใช้ของตัวเองมากพอที่จะนำมาทำปุ๋ย มีทั้งปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยหลากแบบหลายชนิดต่างๆ ที่ไม่ต้องพึ่งพาภายนอก ภายใต้ลัทธิบริโภคนิยมไม่ได้ถูกครอบงำเฉพาะคนในเมือง แต่คนทางภาคเกษตรก็ถูกครอบงำเช่นกัน



ทำจากของเหลือใช้

ใน พื้นที่ของอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นพื้นที่เกษตรกรเลี้ยงวัวนมเป็นอาชีพ น้ำนมที่ผลิตได้ในแต่ละวันมีจำนวนมาก แต่ก็จะมีนมจำนวนหนึ่งซึ่งเกษตรกรไม่สามารถส่งขายให้ศูนย์รับน้ำนมดิบได้ เช่น นมน้ำเหลือง (นมวัวหลังคลอด จะมีสีเหลืองเข้ม มีไขมันและความเหนียวสูง ซึ่งเหมาะสำหรับให้ลูกวัวกิน) นมที่มีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ (ศูนย์น้ำนมดิบจะตรวจน้ำนมทุกถัง) นมยา (น้ำนมที่แม่วัวนมอยู่ระหว่างการฉีดยารักษาโรค ซึ่งยาที่ฉีดจะผ่านกระแสเลือดปนมาอยู่ในน้ำนม) ซึ่งกรณีนมยาต้องพิจารณาว่าฤทธิ์ยาที่ตกค้างอยู่ในน้ำนมจะมีผลกระทบต่อการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์หรือไม่ ถ้าไม่ใช่นมสด นมพร้อมดื่มชนิดต่างๆ ไม่ว่า นมจืด นมเปรี้ยว และนมรสต่างๆ ถ้ายังคงอยู่ในสภาพดีอยู่ ไม่บูดเน่า มีกลิ่นเหม็น สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยนมชีวภาพได้ทั้งสิ้น ซึ่งถ้าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมนำนมสดเหล่านี้มาทำปุ๋ยนมสดกันก็จะเป็นการเพิ่ม มูลค่านม ที่โดยปกติจะนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย หรือบางครั้งต้องเททิ้งโดยเปล่าประโยชน์



ต้องทำสีปุ๋ยนมสดให้ขาวเหมือนนม

แต่ การทำปุ๋ยนมสดชนิดที่ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ อีเอ็ม และกากน้ำตาล ทำให้ปุ๋ยมีสีเหมือน อีเอ็ม เพราะฉะนั้นถ้าจะทำให้ปุ๋ยนมสดให้สภาพสีเหมือนนมสด จะต้องไม่ใส่กากน้ำตาล หมอบุญญวัตน์ กล่าวว่า ?ครั้งแรกผมคิดว่าอะไรจะมาแทนกากน้ำตาล ก็ลองเอาน้ำตาลทรายมาใส่ก็ใช้ได้ดีเหมือนกัน แต่มีคนท้วงติงว่า การนำน้ำตาลทรายมาใส่จะทำให้มีราคาแพง ผมก็คิดต่อว่าเราใส่น้ำตาลเพราะอะไร เพราะเราต้องการความหวาน ทีนี้กากน้ำตาลมันหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายอยู่แล้ว เพราะกากน้ำตาลเป็นส่วนที่เสียของการผลิตน้ำตาล ผมก็ลดปริมาณน้ำตาลทรายลง เหลือใช้ 50 เปอร์เซ็นต์ ของกากน้ำตาลและลดลงใช้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังใช้ได้อยู่ ก็กลับมาคิดว่าถ้าไม่ใส่น้ำตาลเลยจะได้ไหม มีคนท้วงว่าถ้าไม่ใส่น้ำตาลเลย จุลินทรีย์จะได้พลังงานมาจากที่ไหน ทำให้ผมคิดว่าจะมีอะไรมาแทนน้ำตาล และคิดได้ว่าในน้ำนม มีเลคโตด ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและมีจำนวนมากพอที่จุลินทรีย์นำไปใช้ได้ หลังจากนั้นผมก็เอานมสดอย่างเดียว แล้วเอาหัวเชื้อใส่เข้าไป ผลที่ออกมาก็เหมือนกัน สีของปุ๋ยที่ได้มีสีนมสด ทำให้ปุ๋ยนมสดในช่วงหลังของผมจึงไม่ใส่น้ำตาลอีกเลย?

คุณภาพของปุ๋ยขึ้นอยู่กับหัวเชื้อ

คุณภาพ ของปุ๋ยนมสดจะดีกว่ากันมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับหัวเชื้อ หัวเชื้อคือ จุลินทรีย์ที่ใส่เข้าไปในนมสด ซึ่งของหมอบุญญวัตน์ได้มาจากห้องปฏิบัติการที่ทำเชื้อจุลินทรีย์โดยเฉพาะ โดยจะมี จุลินทรีย์ บาซิลลัส แลกติกเอสิสแบคทีเรีย ยีสต์ และบีที (เชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำลายหนองบางชนิด) สำหรับเกษตรกรไม่สามารถหาหัวเชื้อจากห้องปฏิบัติการได้ ก็สามารถนำหัวเชื้อ พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดิน หรือใช้จุลินทรีย์ อีเอ็ม ซึ่งผู้ผลิตบอกว่ามีเชื้อจุลินทรีย์ถึง 80 ชนิด สรุปแล้วเรามีหัวเชื้ออยู่ 3 ชนิด ชนิดแรก ได้จากห้องแล็บหรือห้องปฏิบัติการ ชนิดที่สอง ได้จาก พด.2 ของกรมพัฒนาที่ดิน ชนิดที่สาม ได้จาก อีเอ็ม แต่หัวเชื้อที่ทำจาก พด.2 และ อีเอ็ม จะได้ปุ๋ยนมสดที่เป็นสีน้ำตาล ซึ่งไม่ใช่ประการสำคัญถ้าทำเพื่อใช้ในไร่ในสวนของตัวเอง ไม่ได้ทำเพื่อจำหน่าย คุณสมบัติของปุ๋ยนมสดมีความแตกต่างกัน เพราะเชื้อที่ใช้เป็นหัวเชื้อเป็นคนละตัวกัน หรืออาจมีเชื้อบางตัวเหมือนกันได้ เพราะถ้าหัวเชื้อมีเชื้ออะไร การขยายเชื้อก็จะได้เชื้ออย่างนั้น แต่จะได้ปริมาณเชื้อเพิ่มขึ้น

จุลินทรีย์ จะไปทำให้แร่ธาตุเหล่านั้นกลายเป็นคีเลท คือ โมเลกุลเล็กๆ ที่สิ่งมีชีวิตสามารถดูดนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย การเอาปุ๋ยนมสดไปใช้ในพืช แล้วถ้าเขาฉีดยาฆ่าแมลงจุลินทรีย์ส่วนที่เป็นเชื้อเป็นจะตาย แต่ส่วนตัวจุลินทรีย์ที่ตาย ซึ่งจะย่อยสลายแล้วเป็นแร่ธาตุ มันไม่ถูกทำลาย ยาฆ่าแมลงจะทำลายได้เฉพาะตัวเป็น ซึ่งจะทำลายได้ไม่หมด



ความแตกต่างที่ได้จากเชื้อในปุ๋ยนมสด

ปุ๋ย นมสดของหมอบุญญวัฒน์ มีจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ 3 ตัวหลัก คือ ตัวแรก จุลินทรีย์บาซิลลัส จะไปสร้างฟอสฟอรัส (พี) ส่วนตัวที่สอง แลคติกแอซิสแบคทีเรีย จะทำหน้าที่สร้าง โพแทสเซียม (เค) และตัวสุดท้าย สเซคโตเบรคเตอร์ จะทำหน้าที่สร้างไนโตเจน (เอ็น) ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อพืช ส่วนธาตุอาหารรองต่างๆ ในน้ำนมมีครบเกือบทุกตัว ในการทำปุ๋ยนมสดของเกษตรกรอาจจะทำแล้วไม่ได้ธาตุอาหารครบถ้วนทุกตัว ก็ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะอย่างน้อยการใช้ปุ๋ยนมสดที่เกษตรกรสามารถทำขึ้นเองก็สามารถทำให้ ประหยัดต้นทุนของปุ๋ยไปมาก ในส่วนธาตุอาหารที่ขาดก็ให้ใช้ปุ๋ยเคมีเสริม เพราะเป้าหมายในขั้นแรกเราทำเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช่เลิกใช้



นำปุ๋ยนมสดไปขยายเพิ่มได้ไหม

หมอ บุญญวัตน์ ตอบคำถามนี้ว่า ?เรามีความคิดว่า เมื่อนำเชื้อต่างๆ ไปขยายแล้วจะได้เชื้อที่มีคุณภาพเหมือนเดิมตลอด เป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน สมมุติว่าหัวเชื้อได้จากห้องแล็บ 6 ชนิด ซึ่งเชื้อแต่ละชนิดอยู่ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เรานำมาขยายครั้งแรกก็เป็นการเปลี่ยนสภาพสิ่งแวดล้อมที่เชื้ออยู่ ในน้ำนมเราเชื้อบางตัวอาจไม่ชอบ ไม่สามารถขยายพันธุ์ได้ดีเท่าที่ควร หรือมีสภาพอ่อนแอลงไม่เต็มร้อยแล้ว หรือเชื้อบางตัวอาจตาย เมื่อเราต่อเชื้อไปเรื่อยๆ เชื้อจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ แต่ไม่ถึงกับหมดไป เมื่อมีเชื้อบางตัวตาย คุณภาพปุ๋ยของเราก็จะลดลงไปเรื่อยๆ?

ถ้าเป็น อย่างนี้ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำปุ๋ยนมสดใช้เอง เชื้อ พด. 2 ซึ่งใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ซึ่งเราจะใช้ใส่ในน้ำนมสดเลย ไม่ยุ่งยาก กิจกรรมของจุลินทรีย์ของ พด.2 จะสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ทำให้ได้ออร์โมนและสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตไคนิน รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดแลกติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดอิวมิก หัวเชื้อ พด.2 สามารถหาได้ง่าย จึงไม่จำเป็นต้องต่อเชื้อ ในการทำปุ๋ยนมสดทุกครั้งก็ใช้หัวเชื้อที่ได้รับจากกรมพัฒนาที่ดินก็เพียงพอ แล้ว ซึ่งหัวเชื้อ พด.2 เพียง 1 ซอง เราสามารถใช้กับนมสด 10 ลิตร

ประยุกต์ทำเป็นยาไล่แมลง-เพลี้ย

จาก การที่หมอบุญญวัฒน์ เคยเห็นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำสมุนไพรไล่แมลงตามสื่อต่างๆ เช่น การนำมะพร้าวขูด ยาฉุน กาแฟผง ตามอัตราส่วน ต้มกับน้ำ 1 ลิตร แล้วคั้นกรองออกมาใช้ไล่ศัตรูพืช โดยอาศัยความมันของน้ำกะทิไปเคลือบตัวแมลง ทำให้หายใจไม่ออก ส่วนยาฉุนเป็นยาที่ออกฤทธิ์ฆ่า และกาแฟจะช่วยเสริมฤทธิ์ หมอบุญญวัฒน์ก็มาแปลงสูตรโดยใช้นมสดมาแทนกะทิ เพราะมีคุณสมบัติเป็นความมันเหมือนกัน เพราะนมมีไขมันมาก ซึ่งทดลองกับต้นมะเขือที่มีเพลี้ยแป้งก็สามารถใช้ได้ผล แต่เพลี้ยแป้งในมันสำปะหลังยังไม่ได้ทดลองใช้ เนื่องจากแถวๆ นี้ ไม่ค่อยมีการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง

ของเหลือจากการทำปุ๋ยนมสด

ก็ใช้ประโยชน์ได้ดี


ใน การทำปุ๋ยนมสด จะเป็นไขมันที่ลอยอยู่ด้านหน้าหรือตะกอนก้นถัง หลังจากกรองปุ๋ยแล้วจะมีกากเหล่านี้เหลืออยู่ แต่มีอยู่จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยนมสดจนเกือบหมด ของเหลือทั้งสองส่วนนี้จะคล้ายโบกาฉิในการทำจุลินทรีย์ อีเอ็ม นำของเหลือเหล่านี้มาผสมกับปุ๋ยคอกใส่ภาชนะเล็กๆ หรือปั้นเป็นก้อนก็จะกลายเป็นจุลินทรีย์บอลเหมือน อีเอ็ม บอล นำมาใส่ในบ่อน้ำเสียโดยโยนลงไป จุลินทรีย์บอลจะตกลงไปก้นบ่อเพื่อทำหน้าที่ย่อยสลายตะกอนก้นบ่อ หรือวางไว้บนกระถางต้นไม้ หรือโคนต้นไม้ เมื่อเรารดน้ำหรือฝนตก ก็จะค่อยสลายก้อนจุลินทรีย์ไปเรื่อยๆ พืชจะค่อยๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง

ขอเดินตามรอยพ่อ

หมอบุญ ญวัฒน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า จากการที่เห็นในหลวงทรงงานเพื่อพสกนิกรของพระองค์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นตัวอย่างในการครองตนอยู่อย่างพอเพียง ทำให้มีกำลังใจที่จะทำงานทางด้านการเกษตรเพื่อเกษตรกร เช่น ปุ๋ยนมสดนี้ หวังว่าจะให้นำไปใช้ในการบำรุงดิน โดยใช้วัสดุเหลือใช้ และไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเป็นจำนวนมากนัก เพราะหลักในการปลูกพืช ดินถือเป็นหลักใหญ่ หากเราสามารถทำให้ดินมีความสมบูรณ์ ก็จะลดการใช้ปุ๋ยเคมีไปได้เป็นจำนวนมาก เกษตรกรจะได้มีต้นทุนในการผลิตสินค้าทางการเกษตรต่ำ ไม่ถูกพิษภัยจากสารเคมีที่ใช้ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Tags : ปุ๋ยนมสด

view