จาก โพสต์ทูเดย์
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กินมาก ใช้เกิน ทรัพยากรกำลังขาดแคลน โดยเฉพาะพื้นที่เพื่อการเกษตรเริ่มลดลง....
โดย...อนุสรา ทองอุไร
ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น กินมาก ใช้เกิน ทรัพยากรกำลังขาดแคลน โดยเฉพาะพื้นที่เพื่อการเกษตรเริ่มลดลงเพราะถูกเบียดเบียนด้วยระบบ อุตสาหกรรมแบบสังคมเมือง รวมทั้งสิ่งปฏิกูลต่างๆทั้งขยะ น้ำเสีย ก็กำลังล้นเมืองถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะการเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและกิจกรรมชุมชน ก่อให้เกิดของเสียหลากหลายประเภท ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงหากปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติโดย ตรง
เลี้ยงปลาจากน้ำรีไซเคิล
น้ำเสียในชุมชนเมืองอยู่ในภาวะที่รุนแรงขึ้นและต่อเนื่องจนกลายเป็นปัญหา และเกิดความขัดแย้งในสังคม แต่โชคดีที่การศึกษาวิจัยแบบบูรณาการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้คิดแก้ไขกระทำโดยการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อนปล่อยลง สู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธีการ โดยอาศัยเทคโนโลยี่ต่างๆในระดับที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม สำหรับที่แหลมผักเบี้ย อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นโครงการที่ศึกษาวิจัยจากการบำบัดน้ำเสียของชุมชน
โดยอาศัยเทคโนโลยี่อย่างง่ายๆและยึดหลักธรรมชาติช่วยธรรมชาติ โดยใช้วิธีการบำบัดน้ำเสีย 4 ระบบได้แก่ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ระบบหญ้ากรองน้ำเสีย และระบบบำบัดด้วยพืชป่าชายเลน ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในระบบบ่อบำบัดจะต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพของการบำบัด โดยการเลี้ยงปลา รวมทั้งเป็นการใช้ประโยชน์จากน้ำเสียโดยตรง ในการผลิตสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เป็นการศึกษานำร่องต้นแบบให้หมู่บ้านและชุมชนนำวิธีการไปใช้ได้อย่างปลอดภัย
ขั้นตอนเตรียมบ่อขนาดใหญ่ 5 บ่อ
1. ขุด บ่อบำบัดน้ำเสียขนาดความกว้างพอสมควร หรือตามสถานที่ๆเหมาะสมแต่ควรเป็นบ่อที่มีขนาดใหญ่เพื่อใช้กักเก็บน้ำเสีย จากชุมชน เพื่อให้เป็นบ่อตกตะกอน
2. บ่อขนาดเท่าบ่อแรกขุดเป็นร่องๆเพื่อปลูกหญ้าอินโด.หญ้าคาล่า,หญ้าขน, หญ้าหางหมากพร้าวน้อยหรือกกกลม เพื่อเป็นพืชหรือหญ้าที่ใช้กรองน้ำเสีย เพื่อรองรับน้ำเสียจากบ่อที่ 1
3. บ่อระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมปลูกธูปฤาษี เพื่อรองรับน้ำเสียที่ถูกกรองมาแล้วจากบ่อที่ 2
4.บ่อรองรับน้ำที่ถูกกรองมาแล้วจากบ่อที่ 3 เป็นบ่อผึ่ง
5. บ่อปรับสภาพ
6. เป็นบ่อที่ใช้เลี้ยงปลาได้
เลี้ยงปลาจากน้ำรีไซเคิล...กินปลาได้อย่างปลอดภัย
ปลาที่เลือกนำมาเลี้ยง โดยใช้พันธุ์ปลาน้ำจืด 3 ชนิดได้แก่ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ และปลานิล อัตราการปล่อยปลาคือ 3 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร(อย่างละ 1 ตัว) โดยปลาที่เติบโตดีคือปลายี่สกเทศและปลานิล นำปลามาตรวจสอบหาสารปรอท ตะกั่ว และสารพิษอื่นๆพบว่ามีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งการตรวจหาหนอนพยาธิในปลาที่เลี้ยงไว้พบว่าไม่มีหนอนพยาธิ สามารถนำมารับประทานได้อย่างปลอดภัย โดยก่อนนำมารับประทานควรนำปลามาขังในถังที่มีน้ำสะอาดเพื่อเป็นการลดกลิ่น โคลนและขจัดความสกปรกภายนอก ถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าแบบทูอินวัน จากน้ำโดยการเลี้ยงปลาในบ่อบำบัดน้ำเสีย แถมยังประหยัดพื้นที่ใช้สอยอีกต่างหาก
ปลูกพืชเกษตรโดยใช้น้ำรีไซเคิล........
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการปลูกพืชในสภาพน้ำเสีย เป็นงานวิจัยด้านผลกระทบและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโครงการ ซึ่งในระยะแรกทำการศึกษาโดยใช้ดินตะกอนในบ่อบำบัดมาปลูกข้าวและพืชเกษตร โดยใช้ดินผสม(ดินตะกอนดินนา) จากเดิมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเจริญเติบโตของข้าวและพืชเกษตร การให้ผลผลิต และผลตกค้างของโลหะหนักว่ามีอยู่ในเม็ดข้าวมากน้อยเพียงใด
ต่อมาได้ศึกษาการนำน้ำเสียในบ่อบำบัดน้ำเสียมาหาสัดส่วนของน้ำระหว่างน้ำ เสียต่อน้ำดีที่มาใช้ในการปลูกข้าวและพืชทางการเกษตร เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และพืชเกษตรว่ามีประมาณการสะสมธาตุอาหารและโลหะหนักในสัดส่วนต่างๆของข้าว และพืชเกษตรโดยเน้นส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เพื่อนำผลการศึกษามาใช้ในการจัดการเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากตะกอนและน้ำ เสียจากชุมชน
วิธีการ
การศึกษาวิธีการปลูกข้าวและพืชทางการเกษตรโดยใช้น้ำเสียในโครงการศึกษา วิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ทำการศึกษาวิจัยใน 2 ลักษณะ คือ
1. ทำการศึกษาโดยใช้ดินตะกอนจากบ่อบำบัดน้ำเสีย มาใช้เป็นวัสดุปลูกในการปลูกข้าวเพื่อเปรียบเทียบกับดินนาทั่วไปใน จ.เพชรบุรี , การปลูกข้าวในดินผสม คือปลูกข้าวในดินนาร่วมกับการให้น้ำดีตลอดฤดูปลูก ,ปลูกข้าวในดินนาร่วมกับการให้น้ำเสียตลอดฤดูปลูก,ปลูกข้าวในดินผสมร่วมกับ การให้น้ำดีตลอดฤดูปลูก และปลูกข้าวในดินผสมร่วมกับการให้น้ำเสียตลอดฤดูการปลูก
2. ทำการศึกษาโดยใช้น้ำเสียจากบ่อบำบัดน้ำเสียมาใช้ในการปลูกข้าวและพืชเกษตร อื่นๆ โดยน้ำเสียและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วสามารถนำมาใช้ปลูกพืชเกษตรได้เช่นการ ปลูกข้าว มะเขือเปราะ มันเทศ นอกจากนี้ พืชเกษตรที่เก็บเกี่ยวจากแปลงพืชบำบัดน้ำเสียยังนำมาทำเครื่องจักรสานผลิต สินค้าหัตถกรรมและทำเยื่อกระดาษได้ด้วย
ตะกอนดินจากบ่อบำบัดก็ได้ประโยชน์.....
นอกจากนี้การจัดการตะกอนน้ำเสียซึ่งเป็นปัญหาทุติยภูมิทางสิ่งแวดล้อมให้ ปลอดภัยและประหยัดเป็นเรื่องท้าทายนักสิ่งแวดล้อมที่สำคัญเรื่องหนึ่ง การใช้ตะกอนของบ่อบำบัดน้ำเสียชุมชนเพื่อปลูกพืชเกษตร เพราะตะกอนน้ำเสียชุมชนน่าจะมีสารอินทรีย์และตัวจุลินทรีย์เองปนอยู่ด้วย เป็นจำนวนมากเนื่องจากจะมีสารอินทรีย์ประเภทต่างๆปนอยู่มาก เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและยังมีธาตุอาหารอื่นๆ จึงสามารถนำไปปลูกผักบุ้งจีน มะเขือเปราะ มันเทศ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ชาวบ้านใกล้เคียงนำเอาไปใช้ปลูกมะเขือเปราะ ผักบุ้ง หรือผักรับประทานอื่นๆโดยให้ชาวบ้านขนเอาไปใช้เอง วิธีการคือการนำตะกอนลงไปผสมในดินประมาณ 25 % แล้วนำไปปลูกหรือโป๊ะลงที่หน้าดินที่ทำการปลูก เพราะมีสารอาหารที่เพียงพอ
ย้อมผ้าจากน้ำรีไซเคิล...............
สำหรับตัวแทนจากภาคเอกชน ที่มีความห่วงใยในสภาพแวดล้อม และน้อมนำเอาแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจได้จริง เช่นบริษัท พาซาย่า ที่นำน้ำเสียจากการเหลือใช้ในอุตสาหกรรมทอผ้ามาบำบัดและนำกลับไปย้อมใหม่ เพื่อให้น้ำซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าและกำลังหายากนั้นให้เกิด ประโยชน์สูงสุด
“น้ำที่เราใช้แล้วกำลังจะปล่อยทิ้งจะมีความร้อนสูงเพราะผ่านกระบวนการ ใช้งาน และการนำน้ำเสียมาบำบัดก็ต้องมีการฆ่าเชื้อและผ่านอุณหภูมิที่สูงมาก ซึ่งกว่าน้ำจะเย็นก็ต้องใช้เวลานานเราก็เสียดายทั้งความร้อนและเสียดายน้ำ ที่มันจะนำไปย้อมผ้าได้อีกแล้วจึงไปบำบัดใหม่ แล้วค่อยปล่อยลงสู่ธรรมชาติ หรือนำมารดน้ำต้นไม้ภายในโรงงานบนเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งทำให้เราลดการใช้น้ำและมีต้นทุนการผลิตที่ลดลงในระยะยาว”
จากน้ำ...ทิ้งสู่น้ำก๊อก !!
การนำน้ำมารีไซเคิลพัฒนาไปมาก ไม่ใช่แค่นำมาใช้ใหม่กับการเกษตร การชลประทานหรืออุตสาหกรรมเท่านั้น เพราะแทนที่จะทิ้งน้ำจากการทำความสะอาดชำระล้างหลังการขับถ่ายและการอาบน้ำ น้ำเหล่านี้สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้อีก ยังรวมไปถึงการนำไปผลิต “น้ำดื่ม” ได้อีกด้วย ในการนำเสนอรายงานต่อที่ประชุมน้ำโลกที่กรุงอิสตันบุลซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา มีประเด็นที่ถูกเน้นย้ำตลอดการประชุมว่าควรมีการนำน้ำใช้แล้ว หรือที่เรียกให้ดูน่าฟังขึ้นว่าน้ำสีเทาจำนวนหนึ่งมาใช้ผลิตน้ำประปาด้วย ทว่าพวกผู้เชี่ยวชาญก็ได้เตือนว่าการจะทำให้ผู้คนเลิกขยะแขยงกับน้ำประเภท นี้เป็นเรื่องที่ยากเย็นเสียยิ่งกว่างานในส่วนวิศวกรรมการผลิตน้ำรีไซเคิล มากมายหลายเท่าตัว เพราะใครๆก็รังเกียจที่จะต้องดื่มน้ำซึ่งอาจจะมาจากสิ่งปฏิกูล
เจอราร์ด ปาเยน เขาเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการที่ปรึกษาของสหประชาชาติว่าด้วยน้ำและสุขาภิบาล ซึ่งขึ้นตรงต่อบันคีมูน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า “เราจะมีอุปสรรคสำคัญในเชิงจิตวิทยา แต่มันจะค่อยๆ ผ่อนคลายไปทีละเล็กทีละน้อย”
ปัจจุบัน กรุงวินด์ฮุก เมืองหลวงของนามิเบีย ในภาคใต้ของแอฟริกามีการใช้ระบบที่เรียกว่า จากน้ำทิ้งสู่น้ำก๊อก ได้ประสบผลสำเร็จมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว นี่เป็นตัวอย่างที่ยังมีน้อยนักหนาในเวลานี้ ที่ออสเตรเลีย เมื่อสามปีก่อน ชาวเมืองทูวูมบาในรัฐควีนส์แลนด์ก็ได้ลงประชามติไม่ยอมรับการใช้ระบบในทำนอง เดียวกันนี้ ในขณะที่อีกหลายส่วนของประเทศอันแห้งแล้งนี้ก็ยังปฏิเสธแนวคิดดังกล่าวอยู่ ถึงแม้อย่างน้อยได้มีการนำเสนอขึ้นมาเป็นทางเลือกหนึ่งอย่างจริงจังแล้ว
อองตวน เฟรโรต์ กรรมการผู้จัดการของบริษัทน้ำดื่ม เวโอเลีย โอ แห่งฝรั่งเศสระบุว่าในทางเทคนิคแล้ว ถ้าเราใช้วิธีรีไซเคิลสมัยใหม่ ก็จะได้น้ำที่ดื่มได้อย่างแน่นอน “น้ำใช้แล้วเป็นทรัพยากรอย่างหนึ่งที่หาได้ใกล้ๆตามเมืองต่างๆและมันก็มี ปริมาณเพิ่มขึ้นในอัตราเท่าๆกับปริมาณการบริโภค” เขาเสริมว่าการรีไซเคิลน้ำพวกนี้ใช้พลังงานน้อยกว่าการสกัดเกลือออกจากน้ำ ทะเลและช่วยลดมลพิษด้วย
เขาบอกอีกว่าน้ำดื่มจากใต้ชั้นดินหรือหินนั้นมีต้นทุนราว 10 ยูโรเซ็นต์ต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำดื่มที่สกัดจากน้ำทะเลต้นทุนจะสูงขึ้นเป็น 70 ยูโรเซ็นต์ ขณะที่น้ำรีไซเคิลจะมีต้นทุนอยู่ช่วงกลางๆ คือราว 45 ยูโรเซ็นต์ต่อลูกบาศก์เมตร แต่ท่ามกลางข้อข้องใจของสาธารณชน บริษัทผลิตน้ำก็กำลังมองหาวิธีการประหยัดน้ำทางอ้อมอื่นๆไปด้วย ซึ่งรวมทั้งเรื่องการแยกระบบน้ำดื่มกับน้ำใช้ในห้องน้ำ โดยนำน้ำทะเลไปใช้ในระบบชักโครก เป็นต้น
ส่วนวิธีการรีไซเคิลน้ำทางอ้อม ที่แพร่หลายมานานแล้วก็คือ เมื่อบำบัดน้ำเสียจากสิ่งปฏิกูลต่างๆ แล้วก็จะปล่อยน้ำเหล่านั้นกลับลงไปในแม่น้ำลำคลองต่างๆ ซึ่งต่อมาก็จะถูกสูบกลับขึ้นมาผลิตน้ำประปา วิธีการดังกล่าวใช้กันมานานในบริเวณแม่น้ำเทมส์ ซึ่งองค์การประปาตามท้องถิ่นต้นน้ำมีการสูบน้ำขึ้นไปและปล่อยกลับลงมาหลาย ระลอก ก่อนที่แม่น้ำจะไหลลงไปถึงกรุงลอนดอนของอังกฤษ
นอกจากนั้นสิงคโปร์ซึ่งเป็นแนวหน้าในเรื่องการใช้ซ้ำ(reuse)ก็ได้คิด โครงการที่ชื่อว่า NEWater ขึ้นมา เพื่อนำน้ำทิ้งจากท่อระบายน้ำมารีไซเคิลแล้วไปผสมทำน้ำดื่มในสัดส่วน 1 เปอร์เซ็นต์ โดยเชื่อว่าแม้ขณะนี้จะยังมีอุปสรรคในเชิงจิตวิทยาอยู่สูงมาก แต่เมื่อเทคโนโลยีด้านนี้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น คนก็จะค่อยๆ ทำใจยอมรับได้ในที่สุด