เวปไซต์ กรมสรรพากร
ประเด็นสำคัญทางภาษี
ผู้ประกอบการ e-Commerce ที่ขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ มีสิทธิและหน้าที่ในการเสียภาษี เช่นเดียวกับผู้ประกอบการอื่น ๆ ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียน ในประเทศไทย มีรายได้จากการ ขายสินค้า หรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ตาม มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับ ผู้ประกอบการค้าขาย ที่มีหน้าร้านทั่วไป ต้องนำรายได้นั้น มารวมคำนวณ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้และ มีหน้าที่จดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามเงื่อนไขของกฎหมาย
ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ต้องนำเงินได้จาก e-Commerce ไปรวมคำนวณ กับเงินได้จากแหล่งอื่นถ้ามี เช่น เงินเดือน ดอกเบี้ย โดยยื่นแบบ แสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน ของปี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้พึงประเมิน | หักค่าใช้จ่าย (เลือก) | หักค่าลดหย่อนตามกฎหมาย |
จากการขายสินค้า | 1. เป็นการเหมา | 1. ส่วนตัว |
จาการให้บริการ | 2. ตามความจำเป็นและสมควร | 2. คู่สมรส |
(หักค่าใช้จ่ายจริง) | 3. บุตร | |
4. เบี้ยประกันชีวิต | ||
5. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ||
6.ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย | ||
7. เงินสมทบจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม | ||
8. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ | ||
9. ค่าลดหย่อนบิดา มารดา | ||
10. ค่าเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตร พิการหรือทุพพลภาพ | ||
11. เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา | ||
12. เงินบริจาค | ||
คำนวณภาษีวิธีที่ 1
เงินได้สุทธิ 1-150,000 บาท |
ได้รับยกเว้น |
เงินได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท | อ้ตรา 5% |
เงินได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท |
อ้ตรา 10% |
เงินได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท | อ้ตรา 15% |
เงินได้สุทธิ 750,001-1,00,000 บาท | อ้ตรา 20% |
เงินได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท | อ้ตรา 25% |
เงินได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท | อ้ตรา 30% |
เงินได้สุทธิ 4,000,000 ขึ้นไป | อ้ตรา 35% |
คำนวณภาษีวิธีที่ 2
กรณีเงินได้ทุกประเภทไม่รวมเงินเดือน มีจำนวนรวมตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป ให้นำยอดเงินได้คูณด้วย 0.005 ถ้าภาษีที่คำนวณได้ตามวีธีที่ 2 มีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี
ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้ซื้อที่อยู่ณ ที่ใด ๆก็ตาม ต้องนำรายได้ จากการประกอบกิจการ มารวมคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หากกิจการขาดทุนสุทธิไม่ต้องเสียภาษี โดยยื่นแบบ แสดงรายการ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี และยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ประเภทกิจการ | อัตราภาษี ร้อยละ |
1. กิจการ SMEs กำไรสุทธิ | |
1 - 300,000 บาท | ยกเว้น |
300,001-1,000,000 บาท | 15 |
1,000,001 บาทขึ้นไป | 20 |
2. อื่น ๆ | 20 |
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในประเทศไทย หรือผู้นำเข้าสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฐานภาษีของภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ มูลค่าที่ได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ
ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
eosgear,ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต