สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้ทัน! เคล็ดลับช่วยให้ไม่ตกเป็นเหยื่อ แชร์ข่าวปลอม

จากประชาชาติธุรกิจ

ช่วงนี้ก็มีกระแสข่าวปลอมที่โผล่ในโซเชียลมีเดียเจ้าดังอย่างเฟซบุ๊กเป็นจำนวนมากทั้งข่าวลือกรณีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐหรือแม้แต่เว็บข่าวปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อล่อคลิก ล่อแชร์ โดยมักสร้างเนื้อหาลอกให้คนคลิกเข้าไปอ่าน  ซึ่งบางคนเมื่อได้อ่านหรือเห็นข่าวดังกล่าวก็มักจะกดแชร์ โดยไม่ได้ไตรตรองให้รอบครอบก่อนว่า ข้อมูลหรือข่าวเหล่านั้นเป็นจริงหรือไม่

ฮัฟฟิงตันโพสต์ ได้เสนอวิธีการที่จะให้คุณรู้เท่าทันข่าวปลอม โดยแนะ 9 เคล็ดลับให้คุณไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมเหล่านั้น

1.อ่านพาดหัวข่าวก่อน
คงจะเคยสังเกตุกันว่าส่วนใหญ่เว็บข่าวปลอมมักจะพาดหัวที่มีสีสันเกินจริงที่เอาไว้ล่อลวงให้เกิดคลิกดูมากขึ้น  ส่วนใหญ่เมื่อคนเห็นพาดหัวที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจก็มักจะแชร์ออกไปโดยที่ยังไม่ได้อ่านเนื้อหาข้างในเลยด้วยซ้ำซึ่งเดี๋ยวนี้พวกเว็บข่าวปลอมก็อาจจะให้ข้อมูลของข่าวในตอนแรกๆ ด้วยเนื้อหาที่ถูกต้อง แต่พออ่านไปสักพัก ก็ใส่สีตีไข่ด้วยข้อมูลเท็จ ซึ่งคนอ่านเองจะต้องอ่านทั้งพาดหัวและเนื้อข่าวก่อนที่จะแชร์ออกไป

2.เช็กที่มาของข่าวนั้นว่าเผยแพร่มาจากแหล่งข้อมูลไหน
เว็บไซต์ข่าวที่ไม่ค่อยเป็ฯที่รู้จักมักจะใช้พวกโฆษณาหรือพาดหัวให้เกิดความงงงวยและหลายๆเว็บข่าวปลอมก็มักจะตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับเว็บข่าวจริงๆ

3.เช็กวันและเวลาที่เผยแพร่
ส่วนใหญ่พวกเว็บข่าวปลอมมักจะใช้ข่าวเก่าหรือเหตุการณ์ที่ดูมีความน่าเชื่อถือมาเป็นชวนวล่อการกดคลิกซึ่งการเช็กเวลาและวันที่ของข่าวก็อาจจะสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง

4.ใครคือผู้เขียนข่าวหรือบทความนั้นๆ
เพราะส่วนใหญ่เว็บข่าวจริงก็จะมีชื่อผู้เขียนหรือที่มาบอกอย่างชัดเจนซึ่งเป็นชื่อที่คนทั่วไปรู้จักกันอยู่แล้ว

5.ดูลิ้งก์และที่มาของสื่อที่คุณใช้อยู่
เว็บไซต์ข่าวปลอมมักจะไม่ค่อยให้ที่มาลิ้งก์ข้อของมูลสักเท่าไหร่ซึ่งเป็นสัญญาณที่บ่งบอกที่ชัดเจนว่าน่าจะเป็นเว็บเท็จ ซึ่งส่วนใหญ่เว็บข่าวปลอมก็อาจมีการโพสต์ลิ้งก์แต่ก็จะเป็นลิ้งก์ในเครือข่าวปลอมของตัวเองนั่นแหละ

6.มองหาคำโค้วทและรูปถ่ายว่ามาจากที่ไหนอย่างไร

7.ระวังพวกข่าวที่เกิดจากอคติ
ส่วนใหญ่เรื่องราวที่เกี่ยวกับความเชื่อหรืออคติต่างมักจะถูกนำมาเป็นข่าวข้อมูลลวง ซึ่งผู้อ่านเองก็จะต้องเช็กให้ดีก่อนที่จะแชร์

8.ลองเสิร์จหาข่าวจากสื่ออื่นๆ ที่เป็นข่าวเดียวกับข่าวนี้
ซึ่งจะช่วยให้เรามั่นใจได้มากขึ้นอีกระดับว่าข้อมูลข่าวที่แชร์ออกไปนั้นเป็นของจริง

และสุดท้ายสิ่งที่สำคัญคือเราต้องคิดก่อนแชร์


ประชาชาติฯออนไลน์แปลและเรียบเรียง


อี.โอ.เอส เกียร์,ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต,#มีดดามัสกัส,#เหล็กดามัสกัส

Tags : รู้ทัน! เคล็ดลับ ไม่ตกเป็นเหยื่อ แชร์ข่าวปลอม

view