สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความจริงอันเจ็บปวด ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้ปี 2559

ไทย แพนพบผักผลไม้ตรา Q มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานมากที่สุด ตรารับรองออร์แกนิคไทยแลนด์ของกระทรวงเกษตรเจอตกค้าง 1 ใน 4 ในขณะที่ผักผลไม้ในห้างยังไม่ได้ดีกว่าตลาดทั่วไป จี้กระทรวงเกษตรฯปฏิรูปการให้ตรารับรอง  และเตรียมติดตามผลการดำเนินการของห้างค้าปลีก

วันที่ 4 พฤษภาคม 2559-สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  กรุงเทพฯ

นาง สาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ Thai-PAN ได้เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภค เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง  จำนวน 138 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่และอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 16-18 มีนาคม พ.ศ. 2559 และจัดส่งไปวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างแบบ Multi Residue Pesticide Screen (MRPS) ซึ่งสามารถวิเคราะห์หาสารพิษตกค้างได้กว่า 450 ชนิด ที่ห้องปฏิบัติการในประเทศอังกฤษที่ได้รับรอง ISO/IEC 17025:2005 โดย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการตรวจหาสารเคมีตกค้างที่ครอบคลุมชนิดสารมาก ที่สุดที่มีการเปิดเผยต่อประชาชน  ผลการเฝ้าระวังพบว่า

ใน ภาพรวม มีผักและผลไม้ตกค้างเกินมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ตรวจ โดยข้อมูลที่น่าตระหนกมากไปกว่านั้นคือ การพบว่าผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด  โดยพบสูงถึง 57.1% นอกเหนือจากนั้นผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25% ของจำนวนตัวอย่าง

ไทย แพนยังพบด้วยว่า จำนวนตัวอย่างของผักและผลไม้ซึ่งจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดซึ่งผู้บริโภคต้อง จ่ายแพงกว่ากลับมิได้มีความปลอดภัยมากกว่าตลาดสดโดยทั่วไป เพราะมีจำนวนตัวอย่างการตกค้างเกินมาตรฐานถึง 46% ในขณะที่ตลาดสดมีสัดส่วนมากกว่าเล็กน้อยที่ 48%

การ เฝ้าระวังในครั้งนี้ยังพบด้วยว่า มีสารกำจัดศัตรูพืชที่ถูกห้ามใช้แล้ว ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน รวม 11 ชนิด (จากการตรวจสอบรายการวัตถุอันตรายที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เผยแพร่โดยสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร 4 เมษายน 2559) ตกค้างในผักและผลไม้ที่จำหน่ายในตลาด และมีผู้ประกอบการผักและผลไม้รายใหญ่ที่จัดส่งสินค้าไปยังโมเดิร์นเทรดกระทำ ความผิดซ้ำซาก ในการจำหน่ายผักและผลไม้ไม่ปลอดภัย และยังไม่พบว่ามีการดำเนินคดีกับบริษัทดังกล่าว

ผล การเฝ้าระวังสารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังพบว่า ผักที่พบปริมาณสารพิษตกค้างเกินค่า MRL ได้แก่ พริกแดง 100% ของตัวอย่าง กะเพราและถั่วฝักยาว 66.7% คะน้า 55.6% ผักกาดขาวปลี 33.3% ผักบุ้งจีน 22.2% มะเขือเทศและแตงกวา 11.1% มะเขือเปราะพบสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่า MRL 66.7% ในขณะที่กะหล่ำปลีไม่พบสารพิษตกค้างเลย 100%  ดังแผนภาพ

สำหรับ การสุ่มตรวจผลไม้รวม 6 ชนิด พบว่าส้มสายน้ำผึ้ง และฝรั่ง ทุกตัวอย่างมีสารพิษตกค้างเกินมาตรฐานทุกตัวอย่างหรือคิดเป็น 100% ที่มีการสุ่มตรวจ รองลงมาเป็นแก้วมังกร มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 71.4%, 66.7% และ 44.4% ตามลำดับ

“ใน ขณะที่แตงโม จากการตรวจสอบพบว่าทุกตัวอย่างที่มีการตรวจไม่พบสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน เลย ผลการตรวจครั้งนี้ของไทยแพนสอดคล้องกับผลการตรวจในครั้งที่แล้ว เช่นเดียวกันกับผลการตรวจสอบของมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อปี 2557 ที่พบว่าแตงโมเป็นผลไม้ที่ปลอดภัย” ปรกชล กล่าว

นาง สาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกไทยแพนแถลงว่า ผลการตรวจทั้งหมดของไทยแพนได้นำเสนอต่อห้างค้าปลีก และสมาคมตลาดสดไทย รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ มกอช. กรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แล้วเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยจากผลการตรวจชี้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยมกอช.และกรมวิชาการเกษตรจะ ต้องยกเครื่องการให้ตรารับรอง Q และออร์แกนิคไทยแลนด์อย่างจริงจังโดยทันที เพราะถ้าสภาพปัญหายังพบการตกค้างเช่นนี้ ประชาชนทั่วไปจะขาดความเชื่อถือในตรารับรองดังกล่าว รวมถึงต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

“สำหรับ ด้านผู้ประกอบการนั้น ภายในสัปดาห์หน้าหลังจากที่ห้างค้าปลีกได้รับผลการตรวจอย่างเป็นทางการ ผู้ประกอบการแต่ละรายจะทำจดหมายแจ้งอย่างเป็นทางการว่าได้ดำเนินการลงโทษ ซัพพลายเออร์และมีมาตรการในการลดปัญหาการตกค้างของสารเคมีอย่างไรมายังไทย แพน โดยในส่วนของสมาคมตลาดสดไทยนั้นจะมีการจัดประชุมเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาร่วม กันอย่างใกล้ชิดในเร็วๆนี้ นอกเหนือจากนี้ไทยแพนยังได้หารือกับหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้ กฎหมาย และองค์กรผู้บริโภคเพื่อพิจารณาดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดซ้ำซากเพื่อไม่ ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้ประกอบการอื่นๆต่อไปด้วย”

“อย่าง ไรก็ตามเรายังมีความหวังว่าจะสร้างสังคมไทยที่ปลอดภัยจากสารเคมี กำจัดศัตรูพืชได้มากขึ้นกว่านี้ เพราะผลจากการทำงานประสานงานระหว่างไทยแพนกับผู้ประกอบการ และหน่วยงานของรัฐบางหน่วยงาน พบว่าสามารถลดการตกค้างของสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ได้จริง กล่าวคือหากใช้เกณฑ์การวัดสารตกค้างใน 4 กลุ่มหลักแบบเดิม สามารถลดการตกค้างของสารเคมีได้จาก 48.6%  เมื่อปี 2555 จนเหลือเพียง 18% เท่านั้นในปีนี้ “ กิ่งกรกล่าว


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : ความจริงอันเจ็บปวด ปัญหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ในผักและผลไม้ ปี 2559

view