สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อุ่นใจ..ไปต่างแดน เคล็ดลับเตรียมยา ฉบับคุณหมอ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

       ต้องบอก ก่อนเลยว่าเรื่อง เจ็บ ไข้ ได้ป่วย ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นเวลาที่ต้องเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศอย่างแน่นอน เพราะนอกจากทำให้หมดสนุกแล้ว ยังต้องมาตามหาร้านขายยากันจ้าระหวั่น หากหลีกเลี่ยงให้ไม่ป่วยไม่ได้ ลองเตรียมหยูกยาให้อุ่นใจไว้หน่อยคงดีไม่น้อย รับรองได้ว่าภารกิจตะลุยต่างแดนของคุณจะสนุกสนานไร้เรื่องกังวลแน่นอน
       
        นี่ เป็นการรีวิวการแพ็คยาที่ไม่ควรพลาด สำหรับการเดินทางไปต่างประเทศฉบับคุณหมอมาเอง จากสมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ในชื่อกระทู้ที่ว่า “รีวิวเตรียมถุงยาไปต่างประเทศ (แบบฉบับหมอเตรียมเอง)” ซึ่งภายหลังจากที่รีวิวออกเผยแพร่สู่โลกออนไลน์ได้ไม่นาน ทำให้ชาวโซเชียลต่างพากันให้ความสนใจ ถือได้ว่ามีประโยชน์มากจริงๆ สำหรับนักเดินทางทั้งหลาย
       
        “แรง บันดาลใจในการมาทำรีวิวนี้ก็คือ ไปต่างประเทศทีไรจะป่วยเกือบทุกทีเลยค่ะ (หมอก็ป่วยเป็นนะยู!) ถ้าเราไม่ป่วยก็เพื่อนร่วมทริปนั่นแหละ ไปต่างประเทศแรกๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร เตรียมไปแต่พาราฯ พอป่วยเองก็รู้ซึ้งว่าพาราฯ ไม่ได้รักษาทุกโรคนะ เตรียมหยูกยาไปให้พร้อมเถิดจะเกิดผล
       
        ถาม ว่าต้องเอายาอะไรไปบ้าง ก็ขึ้นกับอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เวลาเดินทางนั่นแหละ อันได้แก่ เมาเครื่องบิน เมารถ เมาเรือ เมาเหล้า (เอ้ะ!อันนี้ไม่มี) ท้องเสียอาหารเป็นพิษ ไข้หวัด ปวดขาปวดเข่าจากการเดินเยอะ เป็นแผลอุบัติเหตุฟกช้ำดำเขียว แมลงสัตว์กัดต่อย ผื่นแพ้ และโรคประจำตัวของแต่ละคน เป็นต้น”
       
        โดยยาที่คุณหมอท่านนี้เตรียมไว้ถูกจัดแบ่งไว้ตามประเภทของกลุ่มอาการ เพื่อการหยิบใช้งานที่ถูกต้องและสะดวกนั่นเอง
       
       1. ไข้หวัด น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

        - Paracetamol หรือยาพารา ที่เราเรียกกันนั่นแหละ อันนี้ถือว่าขาดไม่ได้เลย คิดอะไรไม่ออกก็หยิบพาราไปก่อน เอาไว้ลดไข้ แก้ปวด (ปวดหัว ปวดตัว ปวดประจำเดือน ปวดฟัน)
       - ยาแก้ไอ เช่น Bisolvon Flemex ยาแก้ไอน้ำดำต่างๆ ยาอม (ส่วนตัวชอบชวนป๋วยปี่แปะกอมาก มีทั้งแบบน้ำและแบบอมด้วย พกสะดวกดี) เป็นต้น
       - ยาลดน้ำมูกคัดจมูก เช่น zyrtec loratadineซึ่งกลุ่มนี้ไม่ค่อยทำให้ง่วงมึน (ไม่เอายาที่ทำให้ง่วง เช่น chlorpheniramineและเลี่ยงยากลุ่ม pseudoephredine เพราะบางประเทศห้ามนำเข้า เช่นญี่ปุ่น)
       - ยาแก้เจ็บคอ เช่นยาอมแก้เจ็บคอยี่ห้อตามชอบ ยาพ่นแก้เจ็บคอ เช่น Isodine Kamillosan เป็นต้น
       
       2. เมายานพาหนะ

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

       - ถุงสำหรับอาเจียน! บนเครื่องบินจะมีให้ที่นั่งละ1ถุงอยู่แล้ว อันนี้หมอฉีกไว้แล้วไม่อ้วก เลยเก็บเอาไว้เผื่อใช้รอบหน้า 
       - ยาดม ขาดไม่ได้เลย ต้องดมตลอดทาง
       - ยาแก้เมา เช่น Funarizine/ Dimenhydrinate ข้อเสียของยาแก้เมาคือ จะทำให้ง่วงมากๆ ง่วงนานมึนนาน ฉะนั้นไม่เหมาะกับการนั่งเครื่องสั้นๆ ต้องไฟลท์อย่างน้อยหกชั่วโมงขึ้นไปจะดีกว่า เพราะจะได้สร่างยาเที่ยวต่อได้
       
       3. ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

       - แก้คลื่นไส้อาเจียน เช่น motilium
       - แก้ปวดบิดท้อง เช่น Buscopan
       - ผงเกลือแร่ ผสมน้ำแล้วทานแทนน้ำเปล่าเพื่อทดแทนการเสียน้ำจากการอ้วกและถ่าย
       - แก้โรคกระเพาะ/กรดไหลย้อน เช่น omeprazole, gaviscon, air-x
       - อีโน!! ไปเที่ยวทั้งทีก็ต้องกิน ร้านไหนดังไม่ดังก็กิน เชื่อว่าคนไทยกินแหลกอยู่แล้ว....แล้วก็เลยแน่นอาหารไม่ย่อย พกอันนี้ไว้นะช่วยชีวิตท่านได้เสมอ จะได้เดินไปกินร้านต่อไปได้อีก
       
       4. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการเดิน วิ่งขึ้นรถ แบคแพคของหนักๆ

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

        - ยานวดยาทาภายนอก เช่น perskindol/ counter pain/ votalen gel เป็นต้น
       - ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น biocalmสำหรับทานก่อนนอนเพราะยานี้ทำให้ง่วง
       - ยาแก้ปวดแบบแรงลดการอักเสบ ใช้ในกรณีที่ปวดกล้ามเนื้อมากๆ หลังจากการใช้งาน เช่น เดินไม่ไหว ขยับขาไม่ออก ยานี้ต้องระมัดระวังการใช้ เพราะอาจกัดกระเพาะ เลือดออกในทางเดินอาหาร แพ้ยาได้ (ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยานี้)
       
       5. แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ ผื่นแพ้ แผลต่างๆ

อุ่นใจ..ไปต่างแดน “เคล็ดลับเตรียมยา” ฉบับคุณหมอ!

        - อุปกรณ์ทำแผลเบื้องต้นชิ้นเล็กๆ ได้แก่ แอลกอฮอล์ ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ ทรานสปอร์ เบตาดีน
       - ยาทาแผลร้อนใน
       - steroid creamเวลาเกิดอาการคันอักเสบขึ้นมาให้ทาสเตียรอยด์บางๆ แค่ครั้งเดียวก็ยุบแล้ว ยุงกัดมดกัดคันมากก็แต้มได้แค่ครั้งเดียวก็ได้ผล (โปรดระมัดระวังการใช้ยาสเตียรอยด์ กรุณาปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาตัวนี้)
       
        หาก ใครต้องเดินทางไปแดนไกล ลองศึกษารีวิวของคุณหมอท่านนี้ไว้เป็นข้อมูลในการจัดเตรียมยาไว้ให้หายห่วง กันได้เลย เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ หยิบจับใช้ง่ายเวลาไม่สบายขึ้นมาแล้ว ยังทำให้อุ่นใจหมดกังวลว่าต้องหาร้านขายยาในต่างถิ่นอีกด้วย . .

อ้างอิงข้อมูล http://pantip.com/topic/34981040




ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : อุ่นใจ ไปต่างแดน เคล็ดลับเตรียมยา ฉบับคุณหมอ

view