สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สงกรานต์ไม่มีสาดน้ำ และไม่ได้มาจากเทศกาลสาดสีในอินเดีย

จากประชาชาติธุรกิจ

มีความเข้าใจส่วนหนึ่งต่อเทศกาลสงกรานต์ในบ้านเรา ว่าเป็นเทศกาลที่รับหรือปรับมาจากเทศกาลโหลี (Holi) หรือเทศกาลสาดสีของอินเดีย



ความเข้าใจเช่นที่ว่านี้อาจเกิดจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่

ประการแรก ช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันของ 2 เทศกาล คือต้น-กลางเดือนเมษายน

ประการ ที่ 2 คือลักษณะที่ความคล้ายคลึงกันในเชิงรูปแบบ ดูเหมือนว่าทั้งสองเทศกาลเน้นการสาดน้ำอย่างสนุกสนาน ผิดกันนิดหน่อยตรงที่อินเดียมีทั้งการสาดด้วยผงสีและน้ำผสมสี

ประการที่ 3 ทั้งสองเทศกาลดูเหมือนจะเกี่ยวพันกับความอุดมสมบูรณ์ และการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลเช่นเดียวกัน

แต่ หากเราพิจารณารายละเอียดทั้งในด้านรูปแบบและคติความเชื่อ จะพบว่ามีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่ใน 2 ประเพณีนี้ จนไม่น่าจะถือได้ว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลที่รับมาจากโหลีของอินเดีย

เพียงแต่อาจพอกล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกันโดยพื้นฐานหรือมีอะไรที่ตรงกันอยู่บ้าง


เทศกาลโหลี เป็นเทศกาลที่ประกอบด้วย 2 วันที่สำคัญ คือ วันโหลิกาทหนะ และวันโหลี

คำว่าโหลีเป็นภาษาฮินดี มาจากคำว่าโหลาหรือโหลิกาในคำสันสกฤต (หรือคำอื่นๆ ที่บ่งถึงเทศกาลเดียวกัน เช่น โหลากา)

มีหลักฐานว่าประเพณีโหลีมีมาช้านานแล้วในคัมภีร์ไชมินิ ปูรวมีมางสาสูตร ซึ่งเป็นสูตรเก่าแก่ในปรัชญาสาขาหนึ่งของอินเดีย
และ ต่อมาปรากฏในบทประพันธ์ชื่อ รัตนวลี ของพระเจ้าหรรษะในราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยเรียกเทศกาลนี้ว่า โหลิโกสวะ (โหลิกะ-ชื่อเทศกาล+อุสว-งานฉลอง)


กำหนดมีเทศกาลต่างกัน

เทศกาลโหลีกำหนดโดยวันตามจันทรคติ ซึ่งต่างจากเทศกาลสงกรานต์ที่กำหนดโดยสุริยคติ

เทศ กาลโหลีจะเริ่มต้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือนผาลคุน คือเดือนตามปฏิทินจันทรคติฮินดู ตกในราวกุมภาพันธ์-ต้นมีนาคม เรียกวันนี้ว่าวัน “โหลิกาทหนะ” (Holika Dahana) แปลว่า วันเผาหรือฆ่านางโหลิกา

ส่วนวันรุ่งขึ้นเรียกว่า วันโหลี หรือ “วสันโตสวะ” หมายถึงเทศกาลแห่งฤดูวสันต์ ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนไจตระ ซึ่งตกในราวต้นมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน เป็นวันที่เล่นสาดสีและกิจกรรมสันทนาการต่างๆ

เนื่องจากเทศกาลโหลีกำหนดโดยจันทรคติกาล จึงมีวันที่ไม่ตรงกันในแต่ละปี บางปีอาจไปตกอยู่ในปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายนก็ได้

ผิดกับสงกรานต์ซึ่งใช้ “สุริยคติกาล” ที่มักจะตรงกันหรือคลาดเคลื่อนอย่างมากเพียงหนึ่งวันของทุกปี

ในแง่นี้วันของทั้งสองเทศกาลนี้จึงไม่อาจจะเอามาเทียบเคียงกันได้ เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อนกันอยู่มาก และใช้ระบบต่างกัน

ความหมายไม่เหมือนกัน

สงกรานต์ ถือเป็น “ปีใหม่” หรือการเปลี่ยนศักราชตามโหราศาสตร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียภาคใต้ หมายถึงการที่พระอาทิตย์ย้ายราศี (ปกติพระอาทิตย์ย้ายราศีเดือนละหนึ่งครั้ง สงกรานต์จึงมีทุกเดือน) เข้าสู่ราศีเมษ เป็นปีใหม่ ในอินเดียใต้เรียกว่าเทศกาลปุฑัณทุ หรือวิษณุกณิ

ใน ขณะที่โหลีไม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนศักราช แต่เป็นการฉลองการเข้าสู่ฤดูวสันต์ ซึ่งเป็นฤดูกาลที่จะเริ่มต้นเพาะปลูกจึงเป็นคนละคติความเชื่อกัน

ถ้า จะนับเอาการเปลี่ยนศักราชเป็นปีใหม่แล้ว ปีใหม่ในอินเดียมีมากมายหลายเทศกาล และมีช่วงเวลาที่ไม่ตรงกันเลย เนื่องด้วยความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นที่ ทำให้ฤดูกาลของแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันมาก และในแต่ละพื้นที่ยังมีระบบของปฏิทินของตนเองอีกด้วย
กิจกรรมหลักของโหลีคือเผาหุ่นนางโหลิกา

โหล ีแต่เดิมเป็นเทศกาลที่แพร่หลายในอินเดียภาคเหนือและตะวันออก ซึ่งมีความแตกต่างของภูมิอากาศในแต่ละฤดูกาลมาก การมาถึงของฤดูวสันต์หรือใบไม้ผลิจึงหมายถึงการเริ่มต้นใหม่ของชีวิต และเป็นสัญญาณของการเริ่มเพาะปลูก

ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนผาลคุน หรือวันโหลิกาทหนะ ชาวบ้านจะสร้างกองเศษไม้ใบไม้และทำเป็นหุ่นอย่างง่ายๆ เมื่อได้กระทำบูชาแล้วก็จะจุดไฟขึ้น ร้องเพลงและเล่นสนุกรอบกองไฟ และเอาเถ้าจากกองไฟนั้นเจิมหน้าผาก จากนั้นจึงเริ่มต้นการเล่นสาดสีกันต่อไปในวันรุ่งขึ้น
โหลีน่าจะเป็น ประเพณีที่มีความเก่าแก่ของอินเดียและเป็นของชาวบ้านในสังคมกสิกรรม อาจกล่าวได้ว่าเป็นประเพณี “ก่อนฮินดู” (pre-Hinduism)

ความต่างที่ สำคัญของโหลีกับสงกรานต์คือ จุดเน้นที่มีมาแต่โบราณของเทศกาล โหลีคือพิธีการเผานางโหลิกาและเล่นรอบกองไฟ ไม่ใช่ที่การสาดสีสาดน้ำ (สี) ซึ่งถูกขับเน้นให้สำคัญกว่าในเวลาต่อมาเพื่อผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว เป็นหลัก
สาดสีในโหลี พิธีเจริญพืชพันธุ์

การสาดสีในเทศกาลโหลี ใช้ผงสีทำจากวัสดุธรรมชาติเช่นแร่ธาตุและพืช (ผงคุลาล ผงอพีระ ผงขมิ้น ฯลฯ) สีหลักที่ใช้มาแต่เดิมมี 3 สี คือ แดง เขียว และเหลือง

ในปัจจุบัน มักมีการตีความว่าสีเหล่านี้สะท้อนสีสันของชีวิต ความรัก ความสุข ฯลฯ เทวตำนานที่มักถูกอ้างถึงในพิธีนี้ คือตำนานเรื่องพระกฤษณะหยอกล้อกับนางราธาหรือนางโคปีด้วยสีต่างๆ เพื่อแสดงความรัก

ภาพของโหลีในสายตาผู้คนปัจจุบันจึงหมายถึงความสนุกสนาน สีสันของชีวิต และความรักเป็นหลัก

แต่หากเราตีความในอีกชั้นหนึ่ง สีเหล่านี้เป็นสีที่มักถูกใช้ในสัญลักษณ์ต่างๆ และพิธีกรรมในศาสนาฮินดูอยู่แล้ว

สีแดงสะท้อนการกำเนิดเจ้าแม่และชีวิต สีแดงจึงแทนโลหิต
สีเขียวคือความบริบูรณ์ของต้นไม้พืชพันธุ์
สี เหลืองคือเชื้อชีวิตและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งแทนอสุจิหรือปัสสาวะ (เทวดาฮินดู เจ้าแม่จึงมักทรงพัสตราภรณ์แดงหรือเขียว ในขณะที่เจ้าพ่อมักทรงเหลืองหรือขาว)

การสาดสีกันในเทศกาลโหลีจึง เป็นพิธีการเจริญพืชพันธุ์ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ หากปราศจากเลือด ไม่ว่าจะประจำเดือนหรือเลือดจากการบูชายัญ ปราศจากต้นไม้ใบหญ้าและเชื้อชีวิต แผ่นดินและการเพาะปลูกก็ย่อมจะสมบูรณ์ไม่ได้

นอกจากนี้ ในบางท้องถิ่นยังมีการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงไล่ตีผู้ชายเล่น ซึ่งในเวลาปกติกระทำไม่ได้ เพื่อขับเน้นความสำคัญของ “เพศหญิง” ในบทบาทของศาสนาดั้งเดิม หรือมีการละเล่นร้องเพลงเกี้ยวพาราสีซึ่งล้วนมีนัยยะถึงการเจริญพืชพันธุ์ ทั้งสิ้น
 

ไม่มีสาดน้ำสงกรานต์ในอินเดีย

เทศกาลปี ใหม่หรือสงกรานต์ในอินเดียใต้ไม่มีสาดน้ำ เป็นแต่ไปเทวสถานทำบุญ เข้าใจว่าคงมีการรดสรงเทวรูป (ซึ่งรดสรงเป็นประจำ) หรือรดสรง พราหมณาจารย์และผู้สูงวัยด้วย

ในไทยเองมีบันทึกในพระราชพิธีสิบสอง เดือนว่า ประเพณีสงกรานต์มีสรงน้ำพระและพระโกศ พระเจ้าแผ่นดินก็ต้องสรงมูรธาภิเษก ฝ่ายในฝ่ายหน้าที่มีพระชนม์สูงก็จะได้รับถวายน้ำสงกรานต์ด้วย แต่ไม่มีการเล่นสาดน้ำ

น่าสนใจว่าประเพณีสงกรานต์ภาคใต้ของไทยยัง รักษาธรรมเนียมการรดน้ำผู้สูงอายุ (แบบอาบน้ำทั้งตัวเหมือนการรดสรงในสมัยโบราณ) และมีการตั้งเบญจาหรือพลับพลารดน้ำ ที่มีลักษณะแบบเดียวกับมณฑปพระกระยาสนานในการสรงมูรธาภิเษกสงกรานต์ เข้าใจว่าธรรมเนียมนี้คงมีมาแต่อยุธยาและแพร่จากราชสำนักไปสู่ชาวบ้าน หรือด้วยธรรมเนียมพราหมณ์ที่มีอยู่มาก จึงได้ปฏิบัติกันโดยทั่วไป ซึ่งคงจะเหมือนกันกับในอินเดียใต้เช่นกัน

การเล่นสาดน้ำจึงไม่ใช่ สิ่งที่มีมาแต่เดิม และไม่ใช่กิจกรรมหลักของเทศกาลสงกรานต์โบราณ อีกทั้งยังมีคติที่ไม่ตรงกับการสาดสีในโหลีอีกด้วย จึงไม่น่าจะรับอิทธิพลกันมาได้

และแม้เราจะกล่าวว่าสงกรานต์แต่โบราณ ของชาวบ้านก็มีนัยยะของพิธีเจริญพืชพันธุ์ เช่น การเข้าเจ้าเข้าผี การละเล่นต่างๆ แต่ไม่จำเป็นว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องรับมาจากอินเดีย เพียงแต่เป็นความตรงกันของความเชื่อพื้นถิ่นที่มีชีวิตสัมพันธ์กับธรรมชาติ ของผู้คนในทุกๆ แห่งของโลก
 


ที่มา มติชน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : สงกรานต์ ไม่มีสาดน้ำ  ไม่ได้มา เทศกาลสาดสี อินเดีย

view