สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

"เบียร์" ในอุษาคเนย์ (1),(2)

"เบียร์" ในอุษาคเนย์ (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ ที่มา : โลกทรรศน์ มติชนสุดสัปดาห์

ใน ปัจจุบันนี้ การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศในโลกหลายๆ ประเทศเลือกจับคู่กลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มประโยชน์จากการค้าระหว่าง ประเทศ นั่นคือ มีการจัดตั้งเป็นเขตการค้าเสรีมีการลดภาษีนำเข้าและยกเลิกมาตรการกีดกันให้ กับสินค้าและ/หรือบริการตามที่ตกลงร่วมกันไว้เพื่อให้สินค้าและ/หรือบริการ เหล่านั้นมีการเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างประเทศผู้นำเข้าและประเทศผู้ส่งออก สะดวกขึ้น


ความ ตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area-AFTA) ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในหลายหลายมิติเพราะนอกจากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงต่อตลาดการค้าและบริการของภาคเอกชนแล้วยังส่งผลต่อการดำเนินนโยบายของ รัฐด้วย


โดยความตกลงดังกล่าวจะขยายขอบเขตของผู้เล่น (player) และองค์กร (organization) ที่เป็นของคนไทยและมีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะรวมถึงผู้บริโภคต่างชาติ (foreign consumer) กลุ่มทุนข้ามชาติ (multi national Corperation MNCS) และรัฐบาลของประเทศอื่นๆ (Foreign government) ในภูมิภาคด้วย ผลกระทบดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับสินค้าและบริการทั้งหมดที่อยู่ในความตกลง อันรวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย


อย่างไรก็ตาม การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มทุนข้ามชาติด้านเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลต่างชาติ ผู้ดื่มทั้งที่เป็นคนในประเทศและต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนยังไม่มีมากนัก ส่วนใหญ่ยังเป็นการศึกษาเรื่อง ภาษีสรรพสามิต ภาษีการค้า ซึ่งให้ภาพแบบหนึ่งของสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งๆ ที่ปริมาณการผลิต ปริมาณการดื่มของสินค้าประเภทนี้ในอาเซียนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันจะเติบโตมากยิ่งขึ้นเมื่อภูมิภาคนี้เป็นประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์นับตั้งแต่ปลายปี 2558


ในเวลาเดียวกัน ยิ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าที่ไม่ธรรมดา อันหมายถึง มีต้นทุนการผลิตและผลทางสังคมมาก โดยเฉพาะผลทางศีลธรรม ศาสนา ความเชื่อและประเพณี สุขภาพอนามัย


ดังนั้น บทความนี้จึงนำส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย เรื่องอุตสาหกรรมเบียร์ โดยศึกษาทั้งแง่มุมทางด้านภาษี แง่มุมของนโยบายของรัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาเลเซีย สหภาพเมียนมา สปป.ลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย มาศึกษา


ทั้งนี้ งานวิจัยนี้ดำเนินการโดยผู้เขียนและคณะซึ่งเป็นนักวิจัยในสังกัดของสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณวิจัยจากศูนย์ศึกษาปัญหาสุรา คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เบียร์ในอุษาคเนย์ ลักษณะเด่น

1) ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีงานศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนและประเทศไทยจำนวนไม่น้อยที่กล่าวถึงความสำคัญของอาเซียนที่มีต่อไทยในด้านการค้าที่มีอยู่ประมาณ25%ของ GDP ไทย อีกทั้งจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่ออาเซียนเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


แต่ การศึกษาโดยตรงเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มประเทศ อาเซียนที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อไทยแทบไม่มีเลยทั้งๆที่บริษัทวิจัยทางการ ตลาดพบว่า ฟิลิปปินส์และไทยเป็น 2 ประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นประเทศที่ติดอันดับการบริโภคแอลกอฮอล์ในอันดับต้น ของโลกคือ อันดับ 3 และ 4 ตามลำดับ


ยิ่งเมื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังปี 2015 อัตราภาษีศุลกากรของสินค้าเกือบทั้งหมดเท่ากับ 0 แต่งานวิจัยชิ้นนี้เสนอในอีกแง่มุมหนึ่งว่า ภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะยังคงอยู่ และแต่ละประเทศอาเซียนมีภาษีสรรพสามิตไม่เท่ากัน อันหมายความว่า โอกาสการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทยมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลภาษีศุลกากร ทั้งนี้ มีภาษีสรรพสามิตและเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษี ไม่ใช่ประเด็นทางเศรษฐศาสตร์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย


2) อุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ในอาเซียนที่มีโอกาสกระทบต่อไทยสูงเนื่องจากตลาดเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ถูกชี้นำโดยบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนไม่มากที่มีกำลังทุนมหาศาลใน การทำตลาดที่แยบยลอย่างเข้มข้นเพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความชอบในสินค้าและผลัก ดันการเติบโตในตลาดเกิดใหม่ (Emerging market) ทั่วโลก รวมทั้งตลาดอาเซียนด้วย เช่นเดียวกับการรักษายอดขายในประเทศของตนเอง บริษัทเหล่านี้พยายามส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งทางตรงและทาง อ้อม


งานวิจัยนี้ค้บพบว่าบรรษัทข้ามชาติ (Multi national corporation) ผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกคือ คาร์ลสเบอร์ก (เดนมาร์ก) และไฮเนเก้น (เนเธอร์แลนด์) ซึ่งครองตลาดเบียร์ทั่วอาเซียนอยู่แล้ว ลงทุนและขยายการผลิตในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชาและสหภาพเมียนมา นอกจากผลิตเบียร์ยี่ห้อของตนขายใน 3 ตลาดดังกล่าวแล้ว เบียร์ทั้ง 3 ตลาดได้เข้ามาขายในตลาดไทยด้วยเหตุผลชายแดนติดกัน ด้วยตลาดในจังหวัดชายแดนของไทยขยายตัว เท่ากับว่า บรรษัทข้ามชาติยิ่งผลิตและขายเบียร์ในตลาดไทยเพิ่มมากขึ้น


ในเวลาเดียวกัน บริษัทผลิตเบียร์ San Mikel ของฟิลิปปินส์ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเบียร์ขายในไทย เพราะเห็นโอกาสทางด้านธุรกิจในอุตสาหกรรมแอกอฮอล์ในไทย


อาจกล่าวได้ว่า หลังปี 2558 เบียร์ ทุนข้ามชาติและทุนในชาติได้ผนวกกำลังและประสานประโยชน์ตลาดเบียร์ในอุษาคเนย์ มีการอาศัยกฎแห่งถิ่นกำเนิด (rule of origin) มาช่วยในเรื่องกำแพงภาษี อาศัยความใกล้เคียง (proximility) ทางภูมิศาสตร์ เช่น การตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายเบียร์ในประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ไทย เพื่อการส่งออกและลดค่าขนส่ง (transport cost) สินค้า อาศัยประเด็นเรื่อง ชาตินิยม (Nationalism) อัตลักษณ์ของชาติ (national identity) การโฆษณาและการตลาดเพื่อเข้าถึงนักดื่มหน้าใหม่ทั้งในไทยและเพื่อนบ้าน มีความเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงเป็นเมือง (urbanization) และชีวิตของคนรุ่นใหม่ (Young Generation)



เบียร์เป็นสินค้าที่ไม่ธรรมดาจริงๆ


"เบียร์" ในอุษาคเนย์ (2)

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

โดย อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ ที่มา : โลกทรรศน์ มติชนสุดสัปดาห์


เบียร์เป็นสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าธรรมดา กล่าวคือ เป็นสินค้าที่มีต้นทุนทางสังคมที่สูงมาก กระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เกี่ยวข้องกับการแสวงหารายได้ของรัฐบาลทั้งในยุครัฐและสังคมศักดินา (feudalism) ยุคการสร้างชาติสมัยใหม่ (nation-State) รวมถึงยุคไร้รัฐ (stateless) ช่วงของโลกาภิวัตน์อีกด้วย

กล่าวอย่างคร่าวๆ รัฐและสังคมศักดินามีรายได้จากอากรสุรา เครื่องดื่มมึนเมา ภาษีฝิ่น การพนัน

ส่วนรัฐชาติสมัยใหม่ รายได้ของรัฐเพื่อการสร้างชาติ สร้างกองทัพ ระบบราชการเพื่อการบริหารรัฐสมัยใหม่ยังมาจากอากรและภาษีในสินค้าที่ไม่ได้แตกต่างจากยุคของรัฐศักดินามากนัก เพราะเป็นรายได้ที่จัดเก็บได้ง่าย เป็นกอบเป็นกำและชอบธรรม

ในเวลาเดียวกัน ยุคแห่งการไร้รัฐ ทุนชาติและทุนข้ามชาติได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาศัยเทคโนโลยีการผลิตเชิงอุตสาหกรรม การขนส่ง การแยกตลาดที่ละเอียดมากขึ้น

การโฆษณาที่ใช้ช่องทางของสื่อต่างๆ ทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เติบโตขึ้น รวมถึงเบียร์ด้วย

เบียร์ ทุนข้ามชาติและทุนชาติ

งานวิจัยนี้ (1) ค้นพบว่า เบียร์ของประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้แก่ Ankor Beer, Beer Laos, Myanmar Beer ซึ่งเป็นเบียร์ประจำชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา สปป.ลาว และสหภาพเมียนมา ตามลำดับ จะเข้ามาขายในไทยทั้งในจังหวัดชายแดน จังหวัดใหญ่ๆ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของไทยมากขึ้นด้วยเหตุผลคือ

รัฐบาลทั้งสามประเทศต่างมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายเบียร์ยังต่างประเทศด้วยความต้องการรายได้จากการส่งออกมากขึ้น ซึ่งไทยเป็นตลาดที่ใกล้และใหญ่ที่สุด

ก) ด้วยเงินทุนจำนวนมาก ด้วยระบบการจัดส่งและจำหน่ายของบริษัทข้ามชาติ ซึ่งจริงๆ ก็คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทเบียร์ประจำชาติเหล่านั้นเอง จึงทำให้การจำหน่ายเบียร์ของต่างประเทศที่อยู่ในฐานการผลิตของประเทศเพื่อนบ้านทำได้มากขึ้น

จะเห็นได้ว่า บริษัทผลิตเบียร์ข้ามชาติ คิรินผู้ลงทุนในการผลิตเบียร์ ซาน มิเกล ซึ่งเคยมีฐานการผลิตที่กระเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทย

บริษัทผลิตเบียร์ข้ามชาติ คาร์ลสเบอร์กตั้งโรงงานผลิตเบียร์ใน สปป.ลาว สหภาพเมียนมา (ย้ายโรงงานจากเมืองมัณฑะเลย์มาอยู่เมืองพะโคใกล้ชายแดนไทย) และราชอาณาจักรกัมพูชา ตั้งโรงงานที่เมืองพระสีหนุ วิวล์ เมืองตากอากาศยอดนิยมและมีท่าเรือน้ำลึกที่สามารถขนส่งเบียร์มาขายยังประเทศไทยได้

ในขณะที่ท่านผู้นำประเทศได้กล่าวต่อสื่อมวลชนว่า รายได้จากการขายเบียร์จะนำมาเป็นรายได้ของประเทศเพื่อให้บริการสาธารณะ อันได้แก่ การสร้างถนน เป็นเงินเดือนของข้าราชการและสร้างกองทัพ

บริษัทผลิตเบียร์ข้ามชาติตั้งโรงงานผลิตเบียร์ในประเทศ สปป.ลาว และมีเป้าหมายผลิตเบียร์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศและส่งออกมายังประเทศไทย

  1. งานวิจัยนี้ค้นพบว่า วัฒนธรรมการดื่มกิน และการส่งเสริมการขายโดยการโฆษณา โดยเฉพาะการให้การสนับสนุนกีฬาและงานประเพณีของชาวบ้านในประเทศเพื่อนบ้าน ช่วยให้การบริโภคเบียร์และเครื่องดื่มแอกอฮอล์เพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศ เพื่อนบ้านและไทยเอง

2) งานวิจัยนี้ค้นพบว่ารสนิยมการบริโภคเบียร์ต่างประเทศมีเพิ่มมากขึ้น และผู้ดื่มไม่คำนึงว่าราคาของเครื่องดื่มจะมีราคาแพงขนาดไหน คนรุ่นใหม่และวิถีชีวิตในสังคมยุคใหม่จะเพิ่มจำนวน “นักดื่มหน้าใหม่” มากขึ้นเรื่อยๆ

3) งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยที่ใช้การลงภาคสนามโดยเข้าถึงโรงงานผลิต ตลาด ร้านค้าในหลายๆ เมืองในราชอาณาจักรกัมพูชา สปป.ลาว สหภาพเมียนมา ซึ่งนอกจากเป็นการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ยากมากเพราะเป็นความลับทางการตลาดแล้ว

นักวิจัยทุกคนยังได้สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่งเกี่ยวข้องกับมาตรการทางภาษีและอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอกอฮอล์ของทุกประเทศ อันเป็นการศึกษาที่ได้ข้อมูลชั้นต้น (primary source) โดยตรง ซึ่งต้องใช้ความน่าเชื่อถือของทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ รวมทั้งงบประมาณการลงภาคสนามในต่างประเทศที่สูงมากด้วย

เบียร์ ทุนชาติ ทุนข้ามชาติ และผู้ดื่มหน้าใหม่เป็นแนวโน้มสำคัญของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศอาเซียน หลังการเปิดเออีซี

เชิงอรรถ

(1) สรุปจาก งานวิจัย อุตสาหกรรมผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีโอกาสและแนวโน้มส่งผลกระทบต่อประเทศไทย พิมพ์โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ร่วมกับศูนย์แม่น้ำโขง สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นักวิจัยประกอบด้วย อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์, อดิสร เสมแย้ม, ณัฐพล ตันตระกูลทรัพย์, วินิสา อุชชิน, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน และ ณภัทร อุ๋ยเจริญ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เบียร์" อุษาคเนย์

view