สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

20 ปี เราไม่ลืม พระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จย่า พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

       “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง”


       
       พระราชดำรัสของ “สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” หรือ “สมเด็จย่า” ยังก้องอยู่ในหัวใจของปวงชนชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวเขาและชาวบ้านบนดอยตุง ที่ต่างน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า ที่ถึงแม้ว่าพระองค์จะเสด็จสวรรคตไปตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นเวลาถึง 20 ปีแล้ว แต่พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ทรงสร้างขึ้นล้วนแล้วแต่ยังประโยชน์ต่อพสกนิกรทุกคนมาจนถึงทุกวันนี้

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

        “ดอยตุง” อ.แม่ ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่นี่เมื่อครั้งอดีตเป็นเพียงภูเขาหัวโล้น และมีสภาพพื้นที่เป็นผืนป่าอันเสื่อมโทรม ชาวเขาและชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนดอยตุง มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจน อยู่อย่างแร้นแค้นและขาดโอกาสในการดํารงชีวิต สมเด็จย่ามีพระราชดําริที่จะนําผืนป่ากลับคืนมา และต้องการพัฒนาให้ทุกคนบนดอยตุงมีคุณภาพชีวิตด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ดี ขึ้น โดยปลูกฝังให้ทุกคนอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีจิตสํานึกและพึ่งพาอาศัยกัน จึงเป็นที่มาของ “โครงการพัฒนาดอยตุง” (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดําริ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2531

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

        ตั้งแต่วันนั้นจวบจนวันนี้ “โครงการพัฒนาดอยตุง” ยังคงสานต่อปณิธานของสมเด็จย่าที่ว่า “ปลูกป่า สร้างคน” มาเป็นอย่างดี ป่าบนดอยตุงฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์สู่ธรรมชาติอันงดงาม ชาวเขาและชาวบ้านทุกคนมีงานทำ มีรายได้ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พื้นที่บนดอยตุงถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทำให้ดอยตุงกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจและดึงดูดให้นัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ นิยมเดินทางมาท่องเที่ยวดอยตุงกันเป็นจำนวนมาก

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

        บนดอยตุงมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่งชวนให้ไปสัมผัสกัน ไม่ว่าจะเป็น “หอแห่งแรงบันดาลใจ” ที่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทำการปรับปรุงหอพระราชประวัติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเปลี่ยนเนื้อหานิทรรศการเป็น "หอแห่งแรงบันดาลใจ" โดย ภายในหอแห่งแรงบันดาลใจนี้ จัดแสดงให้เห็นถึงเรื่องราวของราชสกุลมหิดล ประกอบไปด้วย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีเนื้อหาที่ซาบซึ้ง ประทับใจ ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวพระราชจริยวัตร ปรัชญา และหลักการทรงงานที่เรียบง่าย พระวิริยะอุตสาหะที่มุ่งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย และสร้างประโยชน์สุขให้เกิดแด่แผ่นดินไทย เมื่อได้เข้ามาดูแล้วจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และจุดประกายให้ผู้ที่ได้มาชมเกิดสำนึกคิดดี ทำดี

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

       สถานที่ต่อมา คือ “พระตำหนักดอยตุง” สมเด็จย่า ทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า "บ้านที่ดอยตุง" ซึ่งสมเด็จย่าได้พระราชทานทรัพย์และแนวพระราชดำริในการก่อสร้างร่วมด้วย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงให้สร้างแบบเรียบง่าย เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและที่ทรงงานบนดอยตุง สมเด็จย่า ได้เสด็จฯ มาประทับที่พระตำหนักดอยตุงเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

       พระตำหนักดอยตุงแห่งนี้ มีความสวยงามเป็นอย่างมาก แวดล้อมไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับสีสันสวยสดงดงาม เปิดให้เข้าชมส่วนต่างๆ ของบ้าน แต่ห้ามถ่ายรูปด้านใน ภายในบ้านหลังนี้แม้จะไม่ใหญ่โตโอ่อ่านัก แต่กลับแฝงไว้ด้วยความงดงามที่หาชมได้ยาก พระตำหนักเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างบ้านปีกไม้ศิลปะล้านนากับชาเลต์แบบสวิส โดดเด่นด้วยการประดับกาแล และไม้แกะสลักเป็นเชิงชายลายเมฆไหลที่ดูแล้วช่างอ่อนช้อยงดงาม

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

        ภายในพระตำหนักมีห้องต่างๆ มากมาย มีห้องท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม พระราชนัดดา ห้องที่ประทับของสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ห้องที่ประทับของสมเด็จย่า และมีห้องท้องพระโรงหรือห้องโถงกลาง ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จย่าประดิษฐานอยู่ และที่เพดานห้องท้องพระโรง มีความโดดเด่นสะดุดตาคือ การแกะสลักกลุ่มดาวต่างๆ ในจักรราศีประจำปีเกิด และกลุ่มดาวต่างๆ ในระบบสุริยะจักรวาล ซึ่งภายในบ้านยังมีสิ่งของเครื่องใช้ที่สมเด็จย่าเคยประทับอยู่ จัดแสดงเก็บรักษาไว้เหมือนเดิมเป็นอย่างดีให้ได้ชมกัน

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

       จากนั้นมาเที่ยว "สวนแม่ฟ้าหลวง” เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวที่งดงามเป็นอย่างมาก เมื่อปีพ.ศ. 2536 ได้รับรางวัล พาตา โกลด์ อวอร์ด (PATA Gold Award) ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเอเชีย - แปซิฟิก ซึ่งภายในสวนแม่ฟ้าหลวงมีพื้นที่ 30 ไร่ ด้านในสวนถูกตัดสรรและตกแต่งอย่างสวยงาม ภายในสวนรื่นรมย์ เต็มไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับ และไม้เมืองหนาวนานาพันธุ์หลากหลายสีสัน ที่พากันชูช่อออกดอกเบ่งบานความสวยงามให้ได้ชมกันแบบเพลิดเพลิน และภายในสวนแห่งนี้มีจุดไฮไลต์ที่ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางสวน นั่นคือ ประติมากรรมที่มีชื่อว่า "ความต่อเนื่อง" เป็นผลงานของศิลปินหญิง มีเซียม ยิบอินซอย ประติมากรรมเป็นรูปหล่อเด็กๆ ที่ต่อตัวกันขึ้นเป็นทรงพีระมิดมนุษย์ สื่อความหมายว่า การทำงานใดๆ จะสำเร็จได้ ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

       แล้วยังมี “ศูนย์ผลิตและจำหน่ายงานมือ” ซึ่ง ศูนย์นี้เป็น ส่วนหนึ่งของงานพัฒนาของโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ในการที่จะสร้างงานสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่โครงการ โดยศูนย์ได้จัดการอบรมพัฒนางานฝีมือชนเผ่าต่างๆ ให้มีการออกแบบพัฒนาคุณภาพ และสร้างให้ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดภายใต้แบรนด์ดอยตุง ภายในศูนย์มีโรงงานหลายแห่งให้ได้เที่ยวชม มีงานทอผ้า เย็บผ้า, งานกระดาษสา, งานเซรามิก, งานยิงพรม และโรงกาแฟ และมีสินค้าต่างๆ มากมายให้ได้เลือกซื้อหา อาทิ ผ้าทอ สินค้าตกแต่งบ้าน เสื้อผ้าสำเร็จรูป พรม ซึ่งสินค้าเหล่านี้ผลิตโดยฝีมือชาวบ้าน

“20 ปี เราไม่ลืม” พระมหากรุณาธิคุณ “สมเด็จย่า” พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยวบนดอยตุง

        อีกหนึ่งสถานที่ชวนเที่ยวบนดอยตุง คือ “พระธาตุดอยตุง” เป็น เจดีย์สีทองขนาดเล็ก 2 องค์ สูงประมาณ 5 ม. บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก บรรจุพระบรมพระบรมสารีริกธาตุให้ได้กราบขอพร และเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำคนเกิดปีกุน
       
       นี่คือเรื่องราวของ “ดอยตุง” จากภูเขาหัวโล้นอันเสื่อมโทรม แต่เมื่อ “สมเด็จย่า” แม่ฟ้าหลวงแห่งปวงชนชาวไทยมาโปรด ทำให้ดอยตุงฟื้นคืนชีวา ชาวเขาและชาวบ้านมีความวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ทุกคนมีงาน มีรายได้ และยังส่งผลให้ดอยตุง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย


อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

โดย MGR Online

อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

       คนในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ก็มักจะมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไปด้วย รวมไปถึงอาหารการกินที่มักจะใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นที่ตัวเองมี นำมาปรับประยุกต์ให้เป็นอาหารอร่อยประจำถิ่น อย่างในพื้นที่ของ “ดอยตุง” อันเป็นแหล่งที่อยู่ของชนเผ่าหลายๆ เผ่า อาทิ อาข่า ลาหู่ ไทใหญ่ ไทลื้อ เป็นต้น ซึ่งแต่ละเผ่านั้นก็มีของอร่อยที่ชวนชิมแตกต่างกันไป

อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

        นอกจากกับข้าวและอาหารต่างๆ แล้ว ของกินเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละที่ก็น่าชิมไม่แพ้กัน เริ่มจาก “ข้าวซอยน้อย” หรือ “พิซซ่าลาหู่” ของอร่อยของชาวลาหู่ เมนูนี้ต้องใช้ข้าวจ้าวมาแช่น้ำ แล้วโม่แป้งออกมา นำมาเทใส่พิมพ์ภาชนะทรงกลมคล้ายพิซซ่า เทบางๆ แล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือดให้สุกดี นำขึ้นจากเตาแล้วเทแป้งลงไปอีกชั้น ใส่กะหล่ำปลี ผักชี ต้นหอม แล้วปรุงรสด้วยพริกบดละเอียด ถั่วลิสงคั่วบด น้ำตาล เกลือ แล้วนำไปนึ่งให้สุกอีกครั้ง พอยกขึ้นจากเตาแล้วก็เอาออกจากพิมพ์ มากินกันร้อนๆ แป้งนุ่มๆ หอมอร่อยได้รสชาติ
       
       ชาวลาหู่นิยมทำข้าวซอยน้อยกินกันในช่วงเทศกาลข้าวใหม่ เทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน และในช่วงวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันเข้าโบสถ์ของพี่น้องชาวลาหู่นั่นเอง

อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

       อีกเมนูอร่อยมีชื่อว่า “ข้าวปุ๊ก” ที่มีทั้ง “ข้าวปุ๊กขาว” และ “ข้าวปุ๊กดำ” โดยชาวไทใหญ่จะล้อมวงรอบกองไฟ ทำกินกันในช่วงฤดูหนาวเพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย แถมยังเป็นของกินเล่นที่อร่อยถูกปากอีกด้วย
       
       ข้าวปุ๊กขาว ใช้ (ข้าวนึ่ง) ข้าวเหนียวผสมกับงาขี้ม้อนตำจนละเอียดแล้วคลุกเคล้าจนเนีบยเป็นเนื้อเดียว กัน ก่อนจะดีเป็นแผ่นวงกลมไม่หนาไม่บางจนเกินไป นำไปปิ้งกับเตาถ่านจนร้อนและได้กลิ่นหอม จากนั้นราดน้ำตาลอ้อยลงไปให้ทั่ว ก่อนจะพับครึ่งประกบกัน แล้วกินร้อนๆ

อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

       ส่วนข้าวปุ๊กดำ จำใช้ข้าวเหนียวดำแทนข้าวเหนียวขาว โดยใช้พันธุ์ข้างแสงนาที่ชาวไทใหญ่ปลูกไว้เพื่ออนุรักษ์ไม่ให้สูญหายไป นำมาผสมกับงาขี้ม้อนแล้วปิ้งจนร้อน ราดน้ำตาลอ้อนลงไปเช่นเกียวกัน ทั้งข้าวปุ๊กขาวและดำ กินกันร้อนๆ เนื้อเนียนเหนียวนุ่มหอม ได้ความหวานนิดๆ จากน้ำตาลอ้อยที่ละลายอยู่บนแป้ง

อร่อยลิ้น ลองชิม “อาหารชนเผ่า” บนดอยตุง

       อย่างสุดท้ายชวนชิม “ข้าวต้มข้าวเหนียว” หรือที่ชาวดอยนิยมเรียกกันว่า “ข้าวต้มเล็บมือนาง” จะ ใช้ข้าวเหนียวดำหรือข้าวเหนียวขาวผสมกับถั่วลิสงสด ห่อด้วยใบของต้นตองกง (ส่วนดอกของต้นตองกงนำมาทำไม้กวาด) ห่อเป็นทรงสามเหลี่ยมเรียวๆ มองแล้วคล้ายๆ นิ้มมือของผู้หญิง ก่อนจะนำไปต้มจนสุกดี ข้าวต้มเล็บมือนางแบบนี้ชาวดอยนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลปีใหม่ กินแล้วหอมข้าวเหนียวใหม่ๆ ได้ความมันจากถั่วลิสง
       
       หากใครอยากลองชิมเมนูที่ว่ามานี้ และอาหารอร่อยๆ ของชาวเผ่า ลองแวะมาชิมกันได้ที่งาน “เทศกาลสีสันแห่งดอยตุงครั้งที่ 2” ซึ่งจัดขึ้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย จัดขึ้นทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่วันนี้ - 31 ม.ค. 59 และจัดงานช่วงวันหยุดพิเศษระหว่าง 5 - 7 ธ.ค. 58 และ 26 ธ.ค 58 - 3 ม.ค. 59 ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ พบกับถนนคนเดินที่สูงที่สุดในประเทศไทย อร่อยกับอาหารพื้นเมืองหลากหลาย ชอปงานหัตถกรรมพื้นบ้านของชนเผ่าต่างๆ บนดอยตุง


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : เราไม่ลืม พระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จย่า พลิกฟื้นผืนป่า สู่การท่องเที่ยว ดอยตุง

view