สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มันมากับ คลื่น วิกฤตชายฝั่งไทย

จากประชาชาติธุรกิจ

ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

จาก ข้อมูลการสำรวจของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ระบุว่า แนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยระยะทางประมาณ 3,148 กิโลเมตร (กม.)

แต่จาก การวิเคราะห์ข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2495 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไปแล้วประมาณ 830 กม. คิดเป็นร้อยละ 26 ของชายฝั่งทะเลประเทศไทย

เมื่อแยกประเภทของชาย ฝั่งพบว่าแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก หรืออ่าวไทย ถูกกัดเซาะประมาณ 730 กม. แบ่งเป็น กัดเซาะรุนแรง 228 กม. กัดเซาะปานกลาง 502 กม.

ส่วนแนว ชายฝั่งทะเลอันดามันถูกกัดเซาะประมาณ 100 กม. แบ่งเป็น กัดเซาะรุนแรง 25 กม. กัดเซาะปานกลาง 75 กม. ทั้งนี้พบว่าพื้นที่วิกฤตจากการกัดเซาะชายฝั่งมีทั้งสิ้น 48 พื้นที่ ครอบคลุม 45 ตำบล 36 อำเภอ ใน 20 จังหวัด

 



นาย บุญช่วย อรรถวรรธน ผู้อำนวยการส่วนกองบริหารพื้นที่ชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทส. กล่าวว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น

จากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมของมนุษย์ หากไม่เร่งแก้ไขปัญหาจะยิ่งทำให้พื้นที่ได้รับความเสียหายมากขึ้น

ทั้ง นี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติกรอบวงเงินประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาท ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมเจ้าท่า กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมอุทกศาสตร์ กรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ บูรณาการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่การดำเนินการยังล่าช้า เพราะมีขั้นตอนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเม็ดเงินมีจำกัด

นายบุญช่วยกล่าวถึงแนวทางแก้ไขปัญหากัดเซาะชาย ฝั่งว่า จะต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม เพื่อสลายพลังของคลื่นหรือเพื่อช่วยดักตะกอนทรายตามแนวชายฝั่ง ซึ่งในแต่ละพื้นที่มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของ ชายหาด

อาทิ หากเป็นหาดโคลนต้องตีเสาเข็มและทำฐานแผ่ด้านบน และทำเขื่อนหินทิ้ง เพื่อชะลอคลื่น แต่หากเป็นหาดทราย อาจจต้องศึกษาสภาพของพื้นที่หัวหาดและท้ายหาด เพื่อดูความเหมาะสมในการสร้างเกาะเทียมซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียอนุภาคของ ตะกอนดินและทราย ซึ่งมีต้นแบบในประเทศสิงคโปร์ ที่สร้างเกาะเทียมแล้วปรับสภาพภูมิทัศน์ด้านบนเป็นสวน เป็นต้น

หาก ถามว่าจะเริ่มแก้ปัญหาในพื้นที่ใดก่อน เรื่องนี้จะต้องมีการประเมินอย่างละเอียด แต่จากการศึกษาเห็นว่าจะเริ่มจากพื้นที่ท่องเที่ยว เพราะเมื่อคำนวณความเสียหายกับมูลค่าทางเศรษฐกิจเห็นว่าควรเร่งดำเนินการ

นาง จินตวดี พิทยเมธากุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา กล่าวว่า โครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดสมิหลา-ชลาทัศน์นั้นเป็นโครงการที่จังหวัด สงขลาร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการขึ้น โดยใช้งบประมาณรวม 17 ล้านบาท เป็นการนำทรายมาถม คืนสภาพธรรมชาติให้กับชายหาด

ซึ่งโครงการในระยะแรกดำเนินการแล้ว เสร็จ แม้จะมีการถูกคลื่นกัดเซาะในฤดูมรสุมนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าการนำทรายมาถมชายหาดนั้นได้ผลดีหรือไม่ เพราะต้องรอให้ผ่านพ้นฤดูมรสุมเสียก่อน ว่าจะมีทรายเหลืออยู่ร้อยละเท่าไหร่ จากนั้นจะประเมินว่าจะมีการดำเนินการโครงการในลักษณะนี้ต่อไปหรือไม่ หรืออาจจะมีการปรับแก้อย่างไรต่อไป

"สำหรับโครงการในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นชายหาดที่ต่อเนื่องกับระยะแรกนั้น ได้มีการยืดระยะเวลาในการดำเนินการให้แก่ผู้รับเหมา จากเดิมที่หมดสัญญาเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เนื่องจากติดปัญหาการถูกฟ้องร้องจากเครือข่ายภาคประชาชน โดยจะเริ่มต้นดำเนินการอีกครั้งหลังผ่านพ้นฤดูมรสุมหรือประมาณต้นปี 2559" นางจินตวดีกล่าว

นายสมบูรณ์ พรพิเนตรพงศ์ นักวิชาการด้านสมุทรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า การนำทรายมาถมชายหาดนั้นไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร เป็นเพียงการบรรเทาเหตุเท่านั้น เพราะโครงการสร้างแข็ง ที่มีทั้งแนวหิน ตะแกรงหิน กระสอบทรายตลอดแนวยังคงอยู่ใต้ผืนทราย การกัดเซาะยังคงเกิดขึ้น

เชื่อ ว่าทรายที่ถมไป ในฤดูมรสุมนี้คงจะถูกคลื่นซัดลงทะเลไปเกินกว่าครึ่ง แนวทางในการแก้ไขปัญหานั้น ควรจะมีการรื้อโครงสร้างแข็งออกทั้งหมด ลองย้อนกลับไปเมื่อปี 2543 ที่ยังไม่มีการก่อสร้างสถานีบำบัดน้ำเสีย บริเวณใกล้ชุมชนเก้าเส้ง ชายหาดไม่ได้มีปัญหาการถูกกัดเซาะแล้ว แต่เมื่อมีการก่อสร้าง ปัญหาการกัดเซาะก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนต้องมีการก่อสร้าง แนวกันคลื่นหลายรูปแบบ ซึ่งนับจากปี 2544 จนถึงปัจจุบัน สูญเสียงบประมาณจากการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาดไปแล้วไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

โดยยังมีอีกหลายหน่วยงานที่พยายามก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น หลายรูปแบบ ทั้งที่ชายหาด ต.นาทับ อ.จะนะ ชายหาด ต.เกาะแต้ว ต.เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา ชายหาดใน อ.สิงหนคร และ อ.ระโนด ซึ่งจะทำให้ปัญหาสะสมเพิ่มขึ้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

และหาก ยังแก้ปัญหาเช่นนี้ ในอนาคตก็จะไม่มีชายหาดให้เห็นอีก สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่นั้นความรุนแรงใกล้เคียงกัน คลื่นกัดเซาะเอาหาดทรายหายไปแต่จะพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะธรรมสถานหาดทรายแก้ว สถานที่ปบัติธรรมในพื้นที่ อ.สิงหนครถูกคลื่นกัดเซาะไปแล้วมากกว่า 15 ไร่และแนวโน้มถูกกัดเซาะไปอีกอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ในช่วงหน้ามรสุม ซึ่งคลื่นจะแรงมาก พระก็จะต้องย้ายไปจำวัดอื่นเป็นการชั่วคราว

นายสุ กิจ เนียมรินทร์ กำนันตำบลหน้าสตน อ.หัวไทร เปิดเผยว่า พื้นที่ชายทะเลของตำบลซึ่งมีความยาวกว่า 18 กม. เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อแนวการกัดเซาะ เข้าขั้นวิกฤตที่ทางจังหวัดระบุไว้ในแผนการแก้ไขปัญหาของทางจังหวัด

เฉพาะ วันนี้จังหวัดได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติในพื้นที่หมู่ 3 และหมู่ 6 ต.หน้าสตน เนื่องจากเป็นหน้ามรสุม แต่ละปีบริเวณดังกล่าวแทบเป็นเมืองร้าง คลื่นสูงอยู่ไม่ได้

ก่อนหน้านี้ชาวบ้านในละแวกดังกล่าวก็ยังคงอยู่ ได้ คลื่นแรง มีชายหาดยื่นลงไปในทะเล กว่าคลื่นจะพัดเข้าถึงฝั่ง ต้องผ่านแนวชายหาดก่อนจึงทำให้คลื่นอ่อนตัวลง

ต่อเมื่อมีการสร้างปา กลอหรือพนังกันคลื่น ยื่นลงไปในทะเลบริเวณปากคลองแพรกเมือง หรือสร้างสะพานลงไปในทะเล จึงทำให้ทรายมากองอยู่บริเวณ ทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนทิศทาง หมุนขึ้นมาทางทิศเหนือ กัดเซาะจนชายหาดหายไป

"ขณะ นี้ทางเทศบาลตำบลหน้าสตนกำลังก่อสร้างพนังกั้นคลื่น ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง เสร็จเป็นเพียงบางส่วน นอกเหนือจาก ต.หน้าสตนแล้ว ในพื้นที่ ต.เกาะเพชร ก็พบปัญหาแบบนี้เช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับที่หน้าสตน"

นายวัธน์ทัย ชูชื่น ผู้อำนวยการส่วนบริหารพื้นที่ชายฝั่งและวิชาการ สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 กล่าวว่า ปัญหาคลื่นเซาะตลิ่งของจังหวัดภูเก็ตนั้น จากข้อมูลการสำรวจในเบื้องต้นพบว่ามีอยู่เกือบ 10 จุด

ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ อ.ถลาง และเกิดการกัดเซาะขึ้นริมทะเลฝั่งทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นทะเลเปิด ตั้งแต่หาดทรายแก้ว หาดไม้ขาว หาดในยาง หาดลายัน หาดเลพัง หาดบางเทา ยาวไปจนถึงหาดสุรินทร์ ต.เชิงทะเล

ส่วนทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต นั้นมีเพียง 2 จุดที่บริเวณบ้านคอเอน ต.ไม้ขาว ถนนถลาง และที่บริเวณท่าเรือรอยัลมารีน่า ต.เกาะแก้ว อ.เมือง ซึ่งที่หาดทรายแก้วและหาดในยาง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะนั้นค่อนข้างชัดเจน มีการหักโค่นของต้นสนจำนวนมาก ลักษณะการกัดเซาะมีทั้งการกลืนหายและไปเกิดเป็นสันทรายกลางทะเลอีกจุดหนึ่ง และบางหาดก็ทำให้ตลิ่งทรุดเสียหาย

"ขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่าง ศึกษาข้อมูลร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านผลกระทบ รวมถึงต้องเร่งหารือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบว่าจะมีแนวทางป้องกันแก้ไขอย่างไรเพื่อลดความเสียหาย เช่น การทำเขื่อนกันคลื่นในพื้นที่ใกล้ชุมชน มีบ้านเรือนประชาชน ซึ่งก็มีหลายพื้นที่สร้างไปแล้วก่อนหน้า แต่ก็พบว่าเมื่อผ่านระยะเวลาไม่นานเขื่อนกันคลื่นก็ถูกกัดเซาะจนเสียหาย จึงต้องดูว่ามีวิธีการใดที่เหมาะสม ส่วนพื้นที่ชายหาดที่เป็นหาดสาธารณะ เช่นหาดในยาง และอีกหลายหาดนั้น อยู่ในการดูแลของอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ก็จะต้องหารือร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อไม่ขัดกับข้อกฏหมายของอุทยานฯ" นายวัธน์ทัยกล่าว

ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ก่อนจะที่สภาพดั้งเดิมที่สวยงามและมีผลในเชิงสิ่งแวดล้อม จะเสียหายมากกว่านี้

 

 

 

 

ที่มา : นสพ.มติชน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดใน

Tags : มันมากับคลื่น วิกฤตชายฝั่งไทย

view