สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ควันบุหรี่ในมหาลัย...มหันตภัยเงียบทำลายล้าง

จากประชาชาติธุรกิจ

โดย ธิดารัตน์ วงศ์พจนีย์

เพชฌฆาต ทำลายล้างตัวฉกาจ ในยุคนี้คงหนีไม่พ้น “บุหรี่”ที่อนุภาคการทำลายล้างคุกคามไปทุกหย่อมหญ้า ตั้งแต่เด็กยันผู้ใหญ่ผลสำรวจมูลนิธิรณรงค์ไม่สูบบุหรี่พบ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 963 คน ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างเก่า จากการสำรวจรอบที่ 1 ถึงรอบที่ 4 ที่ติดตามได้จำนวน 694 คน และกลุ่มตัวอย่างใหม่ 269 คน

ในภาพรวม มีกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ54.4 และกลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 18.0 ปี พบว่า อัตราความชุกของการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นเท่ากับ 22.4 อัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นชายเท่ากับร้อยละ 39.5 และอัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิงเท่ากับร้อยละ2.3

        

โดยวัยรุ่นชายมีอัตรา การสูบบุหรี่สูงสุดในภาคใต้ ส่วนวัยรุ่นหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุดในกรุงเทพฯอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบ บุหรี่หมดมวนครั้งแรกเท่ากับ 15.3 ปี โดยอายุน้อยที่สุดที่เริ่มสูบบุหรี่คือ 11 ปี ในกลุ่มวัยรุ่นที่สูบบุหรี่เกือบครึ่งหนึ่งสูบบุหรี่ทุกวันหรือเกือบทุกวัน และเกือบสามในสี่มีอาการติดบุหรี่ เป็นที่น่าห่วงใยว่าวัยรุ่นที่รายงานว่าเคยสูบบุหรี่เมื่ออยู่กับพ่อแม่มี สัดส่วนสูงขึ้นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในรอบที่ผ่านมาแสดงว่าครอบ ครัวของวัยรุ่นส่วนใหญ่รับรู้และยอมรับการสูบบุหรี่ของลูก


ประเด็น ความรู้และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่พบว่า วัยรุ่นไทยยอมรับการสูบบุหรี่ของเพศชายมากกว่าการสูบบุหรี่ของเพศหญิง โดยวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ยอมรับการสูบบุหรี่มากกว่าวัยรุ่นที่ไม่สูบบุหรี่วัย รุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีมากโดยวัย รุ่นที่ไม่สูบบุหรี่มีความรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่ดีกว่า วัยรุ่นที่สูบบุหรี่

        

ในประเด็นของปัจจัยแวดล้อมต่อการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น พบว่าบุคคลในครอบครัว และเพื่อนสนิทต่างมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น โดยวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่มีผู้สูบบุหรี่จะมีอัตราการสูบบุหรี่สูงกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูบบุหรี่นอกจากนี้ วัยรุ่นที่สูบบุหรี่เกือบทั้งหมดมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่อย่างน้อย1 คน และเกือบครึ่งมีเพื่อนสนิททั้ง5 คนสูบบุหรี่


ปัจจัยที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในการสำรวจรอบที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศ สถานภาพการศึกษา จำนวนเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ พื้นที่ที่อนุญาตให้สูบบุหรี่ในบ้านความรู้สึกต่อตนเอง ความคิดเห็นต่อการสูบบุหรี่และความถี่ในการเห็นฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นในการสำรวจทั้ง5 รอบ พบว่า เพศและจำนวนเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ทำนายการสูบบุหรี่ของวัยรุ่น 

    

ใน ประเด็นของผลกระทบของนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบในประเทศไทย พบว่า นโยบายหลายด้านประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องโดยการห้ามสูบบุหรี่ทุกพื้นที่ ในบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและฉลากคำเตือนบนซองบุหรี่ส่งผลให้ วัยรุ่นคิดถึงอันตรายต่อสุขภาพจากการสูบบุหรี่มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นใน ทุกรอบการสำรวจ  อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฏหมายควบคุมการบริโภคยาสูบยังขาดความเข้มแข็ง


โดยผลการศึกษา พบว่า การขายบุหรี่ให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีและการวางโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย ยังคงอยู่และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าในมหาวิทยาลัยทุกวันนี้เต็มไปด้วยกลิ่นควันบุหรี่สิงห์อมควันหน้าเก่าหน้าใหม่ ทั้งหญิงและชายต่างประลองแข่งปอดเหล็กกันอย่างสนุกสนานโดยไม่หวาดกลัวติดพิษภัยของบุหรี่


ถึง กระนั้นพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้คิดถึงคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่ต้องมารับ กรรมจากการสูบบุรี่เพราะควันพิษจะล่องลอยอยู่ในอากาศในมหาวิทยาลัยคนที่สูด ดมก็จะได้รับอันตรายที่ไม่รู้สึกตัวนับว่าเป็นภัยเงียบที่ต้องเผชิญแบบไม่ รู้สึกตัว


นับวันปัญหาทวีความรุนแรงหลายมหาวิทยาลัยกำหนดเป็นวาระเร่งด่วน เพื่อไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้แต่ก็ยังเห็นผลสัมฤทธิ์น้อย ส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการรณรงค์ไม่ต้องเนื่อง และมาตรการลงโทษนิสิตนักศึกษายังไม่เด็ดขาด นอกจากนั้นควรมีตัวแทนนักศึกษาที่เข้ามาสอดส่องดูแลอย่างเป็นระบบ ถ้าทำได้เช่นนั้นการสูบบุหรี่ในมหาวิทยาลัยจะลดลงตามลำดับ


สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเผยผลสำรวจปัจจัยที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเริ่มสูบบุหรี่ ได้แก่

1.ความอยากลองซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นที่ความอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้นและสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตา


2.ตามอย่างเพื่อน เริ่มสูบบุหรี่เพราะเพื่อนชวน บางคนมีเจตคติที่ว่าถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อนไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่มและหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน และไม่ให้เข้ากลุ่ม


3.ยึดถือค่านิยมผิด ๆ คิดว่าการสูบบุหรี่เป็นการโก้เก๋หรือเป็นลูกผู้ชาย


4. สภาพแวดล้อมภายในครอบครัวชักนำเกิดจากสมาชิกบางคนในครอบครัวสูบบุหรี่ เช่น พ่อ แม่ ลุง น้าจึงต้องการเอาเยี่ยงอย่าง
               

5. เพื่อเข้าสังคม บางคนต้องสูบบุหรี่เพราะหน้าที่การงานที่ต้องเข้าสังคมงานเลี้ยงสังสรรค์หรืองานเลี้ยงรับรอง


6. กระแสของสื่อโฆษณาสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อมล้วนมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนอย่างมาก


7.ความเชื้อที่ผิดๆ เช่น เชื่อว่าเมื่อสูบบุหรี่จะทำให้สมองปลอดโปร่งจิตใจแจ่มใสและไม่ง่วงนอน เป็นต้น
          

8.ความเครียดสารนิโคตินในควันบุหรี่ เมื่อสูดเข้าร่างกายจะเข้าสู่สมองภายในเวลา ๘-๑๐ วินาทีซึ่งออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดแดงหดรัดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น หายใจเร็วขึ้นและกระตุ้นสมองส่วนกลางทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ในระยะต้นหลายคนจึงสูบบุหรี่ด้วยเหตุผลเพื่อคลายความเครียด แต่เมื่อปริมาณนิโคตินในสมองลดลงจะทำให้ผู้สูบเกิดอาการหงุดหงิด และเครียดได้ในเวลาต่อมาและนี่คือเหตุผลที่ทำให้ต้องสูบบุหรี่อยู่เสมอเพื่อคงระดับนิโคตินไว้ในร่างกาย
       

นี่คือปัญหาใหญ่ของสังคมไทยที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้กับพฤติกรรมของนิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่สูบบุหรี่มากขึ้นแนวโน้มจะทวีความรุนแรง ทั้งโรคภัยที่มาจากการสูบบุหรี่ และคนใกล้ตัวที่ไม่รู้เรื่องที่ได้รับผลกระทบดังนั้นเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่ทุกมหาลัยวิทยาลัยจะเมินเฉย


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,#อุปกรณ์แค้มปิง,#อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดใน

Tags : ควันบุหรี่ มหาลัย มหันตภัยเงียบ ทำลายล้าง

view