สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อ่านเลย!! ไขข้อข้องใจ ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ

อ่านเลย!! ไขข้อข้องใจ "ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

       สมาคมประกันชีวิตไทย ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมแนะวิธีสอบถามเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนประกันชีวิต
       
       นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าว ว่า แบบประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัยพัฒนาขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยเข้าถึง การประกันชีวิตได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจมีการตรวจหรือไม่ตรวจสุขภาพ แล้วแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแบบประกันภัยแต่ละแบบ โดยแบบประกันที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้เล็กน้อยในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต
       
       ทั้งนี้ ขอให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่าสมาคมพร้อมให้ความร่วมมือกับประชาชนและหน่วย งานต่างๆ โดยกำลังหารือบริษัทประกันชีวิต ถึงแนวทางการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเสนอขายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
       
       ทั้งนี้จากกรณีที่มีผู้ร้องเรียนเรื่องแบบประกันผู้สูงวัยนั้น ขอเรียนให้ประชาชนทราบว่า แบบประกันสำหรับผู้สูงวัยเป็นแบบประกันชีวิตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับ ผู้สูงวัยโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
       
       1.ผู้เอาประกันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจมีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้เอาประกันไว้ไม่เกิน 70-75 ปี
       
       2.ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเป็นหลัก
       
       3.บางแบบประกันชีวิตสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น
       
       3.1สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
       
       3.2สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพ หรือโรคร้ายแรง หรืออาจเป็นในลักษณะการจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
       
       4สามารถซื้อได้ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัท แล้วแต่กรณี ได้แก่ ต้องตรวจสุขภาพ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ต้องตอบคำถามสุขภาพ หรือ ทั้งไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ
       
       5แบบประกันชีวิตที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้ในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในสัญญา
       
       แนะนำวิธีสอบถามเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนประกันชีวิต
       
       นางบุษรา กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับแบบประกันชีวิตที่ตนเองสนใจโดยสอบถามกับเจ้าหน้าที่หรือตัวแทนประกันชีวิต ดังต่อไปนี้
       
       1.ความคุ้มครองและผลประโยชน์ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ จะได้เบิกได้ในกรณีใดบ้าง
       
       2.ศึกษาข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้เข้าใจ เช่น มีปัญหาสุขภาพ สามารถสมัครได้ไหม และจะ คุ้มครองได้แค่ไหน
       
       3.ระยะเวลาในการคุ้มครองและระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกันภัย
       
       4.ค่าเบี้ยประกันภัย เหมาะสมกับกำลังซื้อของตนเองหรือไม่
       
       5.แบบประกันนั้นมีข้อจำกัด หรือข้อยกเว้น อะไรบ้าง
       
       6.สอบถามเจ้าหน้าที่ให้ละเอียด เช่น หากเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตต้องทำอย่างไร ติดต่อที่ไหน เบอร์โทรอะไร
       
       7.เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์ประกันชีวิตมาแล้วให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครอง หากพบไม่ตรงกับความต้องการ สามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้เล่มกรมธรรม์ประกันชีวิตในกรณีซื้อทางโทรศัพท์ หรือขอยกเลิกภายใน 15 วัน กรณีซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิต
       
       8.หากมีข้อสงสัยในเงื่อนไข และความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ดังนี้
       
       8.1 ตัวแทนประกันชีวิตที่ท่านซื้อกรมธรรม์
       
       8.2 ศูนย์บริการลูกค้าที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทั่วประเทศ
       
       8.3 ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call center) ของบริษัทประกันชีวิต
       
       8.5เว็บไซต์บริษัทประกันชีวิต
       
       8.5 ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของบริษัทประกันชีวิต
       
       9. หากทำประกันชีวิตไปแล้ว พบปัญหาบริษัทปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ควรปฏิบัติ ดังนี้
       
       9.1 ตรวจสอบความคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ ว่ามีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่
       
       9.2หากมีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือ สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ลูกค้าควรอ่านเงื่อนไขความคุ้มครองในสัญญากรมธรรม์ฯ โดยละเอียด เพื่อตรวจเช็คว่าเหตุผลใดที่ทางบริษัทปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม
       
       9.3ถ้าพบว่าเหตุที่ปฏิเสธไม่ตรงกับสิ่งที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ฯ ลูกค้าสามารถติดต่อบริษัทผ่านช่องทางบริการต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิดังกล่าว
       
       9.4หากเห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากบริษัทประกันภัย สามารถร้องเรียน หรือสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สายด่วนประกันภัย โทร 1186
       
       ทั้งนี้ ขอให้ผู้เอาประกันภัยมั่นใจว่าสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมให้ความร่วมมือกับประชาชนและหน่วยงานต่างๆ โดยกำลังเร่งหารือกับบริษัทประกันชีวิต ถึงแนวทางการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเสนอขายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ


รู้จักประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัย ที่ทำให้เข้าใจผิด?

โดย...วารุณี อินวันนา

โครง สร้างประชากรของสังคมไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอายุเกิน 60 ปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประมาณการประชากรของไทยในปี 2583 หรือในอีก 25 ปีข้างหน้า จะมีผู้สูงอายุเพิ่มเป็น 32.1% จากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ 13.2% ของประชากรทั้งประเทศ

จังหวะ เดียวกันกับที่ประชาชนมองหาวิธีการสร้างหลักประกันให้ตัวเอง ทั้งด้านสุขภาพ และเงินออม เพื่อรักษาคุณภาพการใช้ชีวิตให้ดีที่สุดหลังจากไม่มีรายได้จากการทำงาน

ทำให้บริษัทประกันชีวิต  เห็นโอกาสทางการตลาดของผู้สูงวัย จึงมีการพัฒนา "ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัย" ขึ้นมาและได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกันภัย (คปภ.) ให้ออกมาขายได้เมื่อปี 2556 เริ่มรับประกันตั้งแต่คนที่มีอยุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปถึง 75 ปี

ปิด ช่องว่างที่ประกันชีวิตทั่วๆ ไปที่ให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพเพิ่มเติมจะรับประกันคนที่มีอายุไม่เกิน 60 ปี และอายุยิ่งมากเบี้ยยิ่งแพง

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่มีการขายประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โดย ชูข้อความว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพ" ทำให้ประชาชนผู้สูงอายุ ที่มีความสนใจทำประกันจำนวนมากเข้าใจผิด มีการซื้อประกันด้วยความเข้าใจผิด คิดว่าคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากสุขภาพ เพราะ ใช้คำว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพ" ทำให้เข้าใจว่าเป็นการคุ้มครองการเจ็บป่วย  เมื่อเข้ารับการรักษา ไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ จึงมีการร้องเรียนไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสร้างผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนทั่วไป

บุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย  กล่าวว่า กรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องดังกล่าว ทางสมาคมประกันชีวิต กำลังเร่งหารือกับบริษัทประกันชีวิต ถึงแนวทางการพัฒนาปรับปรุงวิธีการเสนอขายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ

รวมถึง  ประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ก็อยู่ระหว่างประสานกับสมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อขอข้อมูลมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตผู้สูงอายุ ที่ระบุว่าถูกบริษัทประกันภัยเอาเปรียบ เรื่องนี้ต้องดูเงื่อนไขในกรมธรรม์เป็นหลัก

รู้จักประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัย

บุ ษรา อธิบายว่า  แบบประกันชีวิตสำหรับผู้สูงวัยพัฒนาขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยเข้าถึง การประกันชีวิตได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจมีการตรวจหรือไม่ตรวจสุขภาพ แล้วแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแบบประกันภัยแต่ละแบบ  โดยแบบประกันที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้เล็กน้อยในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต 

จาก กรณีที่มีผู้ร้องเรียนเรื่องแบบประกันผู้สูงวัยนั้น ทางสมาคมประกันชีวิต ชี้แจงว่าแบบประกันสำหรับผู้สูงวัยเป็นแบบประกันชีวิตที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้

-ผู้เอาประกันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจมีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้เอาประกันไว้ไม่เกิน 70-75ปี

-ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเป็นหลัก

-บาง แบบประกันชีวิตสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพ หรือโรคร้ายแรง หรืออาจเป็นในลักษณะการจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต

-สามารถ ซื้อได้ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัทแล้วแต่กรณี ได้แก่ ต้องตรวจสุขภาพ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ต้องตอบคำถามสุขภาพ หรือ ทั้งไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ

- แบบประกันชีวิตที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้ในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในสัญญา

วิธีซื้อความคุ้มครองให้ได้ตรงใจ

บุ ษรา  แนะนำให้ประชาชนทำความเข้าใจกับแบบประกันชีวิตที่ตนเองสนใจโดยสอบถามกับเจ้า หน้าที่หรือตัวแทนประกันชีวิต ว่า ความคุ้มครองและผลประโยชน์ว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ จะได้เบิกได้ในกรณีใดบ้าง

- ศึกษาข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้เข้าใจ เช่น มีปัญหาสุขภาพ สามารถสมัครได้ไหม และจะ คุ้มครองได้แค่ไหน

-ระยะเวลาในการคุ้มครองและระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกันภัย

- ค่าเบี้ยประกันภัย เหมาะสมกับกำลังซื้อของตนเองหรือไม่

-แบบประกันนั้นมีข้อจำกัด หรือข้อยกเว้น อะไรบ้าง

-สอบถามเจ้าหน้าที่ให้ละเอียด   เช่น หากเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตต้องทำอย่างไร  ติดต่อที่ไหน เบอร์โทรอะไร

- เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์ประกันชีวิตมาแล้วให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครอง  หากพบไม่ตรงกับความต้องการ สามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันทีได้เล่มกรมธรรม์ประกันชีวิตในกรณีซื้อทางโทรศัพท์ หรือขอยกเลิกภายใน 15 วัน กรณีซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิต

มีปัญหาติดต่อใคร

ในกรณี ที่มีข้อสงสัยในเงื่อนไข และความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิต สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง ประกอบด้วย

-ตัวแทนประกันชีวิตที่ท่านซื้อกรมธรรม์

-ศูนย์บริการลูกค้าที่สำนักงานใหญ่ หรือสาขาทั่วประเทศ

-ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call center) ของบริษัทประกันชีวิต

-เว็บไซต์บริษัทประกันชีวิต

-ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของบริษัทประกันชีวิต

ทำอย่างไรเมื่อถูกปฏิเสธค่าสินไหม 

สำหรับ กรณีที่ทำประกันชีวิตไปแล้ว พบปัญหาบริษัทปฏิเสธการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ควรจะดำเนินการ ดังนี้

-ตรวจ สอบความคุ้มครองของกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ ว่ามีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่

-หาก มีสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ หรือ สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ลูกค้าควรอ่านเงื่อนไขความคุ้มครองในสัญญากรมธรรม์ฯ โดยละเอียด เพื่อตรวจเช็คว่าเหตุผลใดที่ทางบริษัทปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม

-ถ้า พบว่าเหตุที่ปฏิเสธไม่ตรงกับสิ่งที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ฯ ลูกค้าสามารถติดต่อบริษัทผ่านช่องทางบริการต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิดังกล่าว

-หาก เห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากบริษัทประกันภัย สามารถร้องเรียน หรือสอบถามได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สายด่วนประกันภัย โทร 1186

ประกันชีวิตต่างจากประกันสุขภาพ

ด้าน ประเวช กล่าวว่า  ประชาชน ต้องเข้าใจระหว่าง การประกันชีวิต และการประกันสุขภาพ   ก่อนการตัดสินใจซื้อ โดย การประกันชีวิต บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากการเสียชีวิต ทุกกรณี หรือเนื่องจากการมีชีวิตอยู่รอดตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับสัญญาประกัน ภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัย จะได้รับความคุ้มครอง การเสียชีวิตและการอยู่รอดเต็มจำนวนผลประโยชน์ที่ซื้อจากทุกๆกรมธรรม์ประกัน ชีวิต

สำหรับ การประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้ความคุ้ม ครองด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากนอนพักรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้น จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งการพิจารณารับประกันภัยของบริษัทประกันภัย จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ

บริษัท ประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย หรือ เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่กำหนดไว้ ภายใน 90 วัน นับแต่วันเริ่มสัญญา เช่น โรคมะเร็ง และหากผู้ขอเอาประกันภัยมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือมีโรคประจำตัวหลายอย่าง บริษัทประกันภัยอาจจะพิจารณารับประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคน ปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้

อย่าง ไรก็ตาม ทั้งธุรกิจประกันชีวิต และ คปภ. ต้องร่วมมือกัน ในการปรับปรุงข้อความประชาสัมพันธ์ ที่ไม่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด เพื่อแสดงความจริงใจ และ โปร่งใส และควบคุมตัวแทนประกันชีวิตให้ขายประกันชีวิตอยู่บนความเข้าใจที่ถูกต้องของ ประชาชน จะเป็นการป้องกันปัญหาได้ดีที่สุด


ไร่รักษ์ไม้,Eosgear,มูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,victorinox,แปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit,ราคา,อร่อย

Tags : อ่านเลย ไขข้อข้องใจ ประกันชีวิต สำหรับผู้สูงอายุ

view