สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

6ข้อสันนิษฐาน วสท. เหตุเพลิงไหม้เอสซีบีปาร์ค

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


"สิริวัฒน์" เลขาธิการ วสท. เผย6ข้อสันนิษฐาน เหตุเพลิงไหม้เอสซีบีปาร์ค

ภายหลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ชั้น 10 ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ ถนนรัชโยธิน (อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า) วันที่ 7 ก.พ. 2558 เวลา 20 .00 น. ความสูง 37 ชั้น เป็นอาคารต้นแบบอัจฉริยะขนาดใหญ่พิเศษ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ได้เข้าวิเคราะห์ความเสียหาย และความมั่นคงโครงสร้างของอาคารในวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา

นายสิริวัฒน์ ไชยชนะ เลขาธิการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) สะท้อนภาพปัจจุบันให้เห็นว่า ผลจากการขยายตัวด้านสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนอาคารสูงในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดมีปริมาณมากขึ้น

ดังนั้นแต่ละอาคาร ควรมีการเตรียมแผนล่วงหน้า และมีการซักซ้อมภัยพิบัติ หรือเหตุฉุกเฉิน เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย เช่น ในกรณีนี้ทางกรุงเทพมหานคร เข้ามาจัดการตั้งศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉินที่ชั้นใต้ดิน แต่กลุ่มควันมีปริมาณมาก จึงย้ายออกนอกอาคาร

ส่วนกรณีที่จะต้องสละอาคาร ก็ควรมีการกำหนดแผนสำรอง พร้อมอุปกรณ์ตั้งโต๊ะไฟสว่าง พร้อมทั้งกำหนดฝ่ายอาคารผู้ให้ข้อมูล เช่น แบบแปลนอาคาร ตลอดจนผู้มีอำนาจในการระงับเหตุ โดยอาจจะแต่งตั้งใครที่เหมาะสมเป็นผู้สั่งการ (Fire Commander) ในเหตุฉุกเฉินต้องมีการประสานงานจากหลายหน่วยงาน และบุคคลเข้ามารายงาน เพื่อทราบแนวทางการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากวัสดุที่เก็บไว้ภายในอาคาร
นางบุษกร แสนสุข ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมความปลอดภัย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบความปลอดภัยและอัคคีภัย กล่าวถึงระบบความปลอดภัยในอาคารและอัคคีภัย ในอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถือว่าทันสมัยและอัตโนมัติ โดยมีระบบแจ้งเตือนภัย (Fire Alarm System) อุปกรณ์ตรวจจับควัน และอุปกรณ์แจ้งด้วยมือ และเสียง และเมื่อระบบอัตโนมัติไม่ทำงาน จะมีระบบสายฉีดดับเพลิง ซึ่งต้องใช้คน โดยทีมดับเพลิงจะลากสายออกจากฉีดน้ำดับเพลิง และอาคารมีบันไดหนีไฟที่มีระบบอัดอากาศป้องกันควันไฟเข้าในอาคารทั้งสองบันได

ทั้งนี้ข้อสันนิษฐาน ถึงเหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้นกับธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ครั้งนี้ มีดังนี้คือ
1.เจ้าหน้าที่เข้าระงับเหตุค่อนข้างล่าช้า เนื่องจากพื้นที่มีการกระจายน้ำดับเพลิงแตก มีควันดำจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า เมื่อเกิดสัญญาณเตือนอัตโนมัติเจ้าหน้าที่คิดว่าสัญญาเตือนมาจากการฉีดยุง ไม่ใช่ไฟไหม้จริง เนื่องมาจากก่อนหน้ามีการเข้าไปดำเนินการฉีดยุง ก็ส่งผลกระทบต่อเครื่องเตือนภัยอัตโนมัติ จึงทำให้ทราบเหตุล่าช้า และเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ก็มีควันและความร้อนสูงทะลุออกมาจนทำให้ทีมดับเพลิงไม่สามารถเข้าอาคารไทย

2. ลักษณะการไหม้เป็นควันดำ จึงเป็นไปได้ว่าห้องเก็บเอกสารเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงจำนวนมากที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว
3.ระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารสูง ตามมาตรฐานจะมีระบบควบคุมควันไฟในบันไดหนีไฟ และโถงลิฟต์ดับเพลิง ซึ่งเป็นระบบอัดอากาศ เข้าปล่องบันไดหนีไฟด้วยพัดลมที่ติดตั้งบนดาดฟ้า เมื่อเหตุเพลิงไหม้จะทำงานโดยอัตโนมัติ แต่มีข้อสังเกตคือระบบดังกล่าวได้ทำงานอัตโนมัติหรือไม่ เนื่องจากพบว่าควันไฟเข้าบันไดหนีไฟกระจายในพื้นที่อาคารมาถึงชั้นใต้ดิน ทำให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องฝ่าควันเข้าไปด้วยชุดดับเพลิงพร้อมกันกับอุปกรณ์ช่วยหายใจ เข้าไปดับเพลิงด้วยความยากลำบาก

4.ระบบการเข้าไปในตัวอาคารในพื้นที่ เป็นระบบประตูล็อกอัตโนมัติ ตามมาตรฐานระบบนี้จะตัดการทำงานเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารอพยพและเปิดทางให้ทีมดับเพลิงเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ได้ สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นจึงต้องทบทวนแผนฉุกเฉินในขั้นตอนการตัดสินใจปลดล็อกประตูอัตโนมัติอาคารเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
5.ทักษะการดับเพลิงของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในเพลิงที่ไม่สามารถเข้าระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้นได้ พร้อมกันกับอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ครบถ้วน

6.อาคารอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน เนื่องมาจากมีการเก็บเอกสารจำนวนมาก ระบบดับเพลิงของอาคารสำนักงานจะไม่ได้ออกแบบเพื่อรองรับปริมาณเชื้อเพลิงจำนวนมาก ดังนั้นบทสรุปสาเหตุของมาตรการการรองรับเหตุดับเพลิงจึงไม่สัมพันธ์กันในทุกกระบวนการ
“การเข้าระงับเหตุเป็นไปด้วยความยาก เพราะมีอุปกรณ์กีดขวาง ระบบสายฉีด พื้นที่หนีไฟ ทีมระงับเหตุในอาคาร ต้องใช้สายฉีดในอาคารระดับเหตุ ต้องพิจารณาความพร้อม แต่ขณะที่ขึ้นไปควันเยอะ จึงขึ้นไปไม่ทัน เพราะฉะนั้นต้องเข้าไปในสภาวะพื้นที่ควันมาก และเจ้าหน้าที่ต้องมีทักษะในการระงับเหตุ"
ระบบเข้าไปยังตัวอาคารต้องสแกน รวมถึงระบบอัดอากาศบันไดหนีไฟ อาจจะทำงานไม่สัมพันธ์กัน ที่จะช่วยในการระบายอากาศจากชั้นเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้
ดังนั้นต้องไปทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ หรืออาจจะมีการติดทำงานดับไฟที่มีการทำงานหนัก (โอเวอร์โหลด) หรือขาดการดูและซ่อมแซม ให้มีมาตรฐาน ทุกระบบจะต้องทำงานสมดุลกัน

....................

แนะอาคารใหญ่ตรวจระบบป้องกันอัคคีภัย
นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เสนอแนะว่า เหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในครั้งนี้ วสท. ได้เสนอแนะเพื่อเป็นบทเรียนในการพัฒนาระบบบริหารจัดการอาคารขนาดใหญ่ และรักษาความปลอดภัยในเหตุฉุกเฉินของสังคมและประเทศไทย ดังนี้
1.อาคารขนาดใหญ่ ไม่เพียงต้องมีระบบความปลอดภัย เพื่อป้องกันอัคคีภัยให้ครบถ้วนและได้มาตรฐานสาเหตุ แต่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบประเมินผลประสิทธิภาพและความพร้อมในการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงประสิทธิภาพในการสื่อสารและปฏิบัติงานเพื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
2.ระบบป้องกันอัคคีภัยควรออกแบบการทำงานให้สัมพันธ์กับคนในภาวะฉุกเฉินจึงจะเกิดประสิทธิภาพ
3.ควรแก้ไขความล่าช้าของระบบสั่งการในภาวะฉุกเฉิน ต้องทำได้ทันที
กรณีนี้เมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยประตูในอาคารจะถูกปิดล็อกโดยอัตโนมัติ เมื่อเหตุผลไฟไหม้เวลา 20.00 น. จนกระทั่งเวลา 23.00 น. ยังไม่สามารถระงับเหตุได้
4.การประสานงานฝ่ายอาคารกับธนาคารไทยพาณิชย์ กับหน่วยงานภายนอก เช่น กรุงเทพมหานคร ที่เข้ามาช่วยเหลือไม่เป็นระบบ ขั้นตอนลำดับความสำคัญ รวมถึงสถานที่ไม่เตรียมความพร้อมกับรถดับเพลิงเข้ามาติดตั้ง จึงควรมีการวางแผนบริหารจัดการในภาวะฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,อะไหล่ victorinox,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,servival Kit

Tags : 6ข้อสันนิษฐาน วสท. เหตุเพลิงไหม้ เอสซีบีปาร์ค

view