จากประชาชาติธุรกิจ
ปัญหาราคายางพาราตกต่ำกำลังเป็นเผือกร้อนที่รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเร่งหาทางแก้ เพราะหลังเศรษฐกิจสหรัฐ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นประสบปัญหา เศรษฐกิจจีนชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ชาวสวนยางทั่วประเทศเดือดร้อนหนักจากที่ราคาซื้อขายยางลดฮวบ ประกอบกับไทยมีอุปทานส่วนเกินจากโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อ รักษาเสถียรภาพราคายาง ด้วยการซื้อยางเก็บเข้าสต๊อกรัฐ 2.1 แสนตัน ไม่รวมอุปทานส่วนเกินของโลกอีก 6.4 แสนตัน ซึ่งประเมินดูแล้วอีกนานกว่าราคายางจะกระเตื้อง
ชูธงพัฒนา 4 ด้าน
เพื่อ แก้ปัญหาราคายางตกต่ำในระยะยาว คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติเมื่อ 26 ส.ค. 2557 ที่ผ่านมา เห็นชอบแนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.จัดการสต๊อกยางรัฐเพื่อให้อุปทานส่วนเกินในประเทศหมดไป 2.บริหารจัดการผลผลิตยางถึงช่วงฤดูแล้งเพื่อยกระดับราคา 3.เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ยาง และ 4.พัฒนาระบบตลาดยาง วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ควบคุมพื้นที่ปลูก และพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตโดยมีเป้าหมายพัฒนา 4 ด้าน ทั้งด้านราคา คุณภาพ การเพิ่มมูลค่า และประสิทธิภาพ
ผุดมาตรการเร่งด่วน-ต่อเนื่อง
1.มาตรการ เร่งด่วน ดำเนินการภายใต้โครงการบริหารจัดการสต๊อกยางพาราของรัฐ ตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ ด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน อนุมัติ โดยมอบหมายให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ติดต่อเอกชนที่สนใจซื้อยางในสต๊อกรัฐบาลซึ่งมีอยู่ 2.1 แสนตันโดยตรง แต่ต้องไม่ให้กระทบราคายางภายในประเทศ
2.มาตรการต่อเนื่อง 2.1 มาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทันที ใช้งบฯกลางปี 2557 ได้แก่ แนวทางยกระดับราคาโดยเพิ่มสภาพคล่องด้านการตลาด ประกอบด้วยโครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรใช้รวบรวมยางวง เงิน 10,000 ล้านบาท แยกเป็นให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร 700 แห่ง หมุนเวียนรวบรวมหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรไปจำหน่าย หรือแปรรูป 10,000 ล้าน บาท ดอกเบี้ย MLR-1 (MLR = 5) ดอกเบี้ยร้อยละ 1 รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี ขอรับการสนับสนุนงบฯ 350 ล้านบาท ชดเชยดอกเบี้ย 300 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ 50 ล้านบาท
2.2.แนวทางเพิ่มมูลค่าและคุณภาพผล ผลิต โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา 5,000 ล้านบาท โดยให้ ธ.ก.ส.ให้สินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร 245 แห่งใช้ขยายกำลังการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปยางเบื้องต้น ทั้งยางแท่ง ยางรมควัน ยางอัดก้อน คอมปาวด์ น้ำยางข้น ยางเครป และผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป หรือลงทุนสร้างโครงการใหม่ดอกเบี้ย MLR-1 (MLR = 5) แบ่งเป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน 1,500 ล้านบาท 5 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 1 รัฐชดเชยร้อยละ 3 ต่อปี
ค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 21 ล้านบาท 5 ปี ค่าบริหารโครงการร้อยละ 2.25 ของวงเงินทุนหมุนเวียน 1,500 ล้านบาท ปีละ 6.75 ล้านบาท 5 ปี รวม 33.75 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรัฐในการชดเชยดอกเบี้ยตลอดโครงการ 10 ปี ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย และค่าบริหารจัดการโครงการ 1,088.25 ล้านบาท ปีแรก 177.75 ล้านบาท
2.3 โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง 15,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินให้สินเชื่อผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา เพื่อขยายกำลังผลิต หรือปรับปรุงเครื่องจักร ดอกเบี้ย FDR (เงินฝากประจำ 6 เดือนของธนาคารออมสิน ปัจจุบันอยู่ที่ 2%) รัฐชดเชยดอกเบี้ย 3% ตลอดโครงการ 4,500 ล้านบาท โดยจ่ายตามจริง
พัฒนาตลาด-ระบบการเงิน
3.แนว ทางปรับโครงสร้างด้านการตลาดกลางยางพารา และตลาดของสถาบันเกษตรกร เชื่อมโยงทั้งระบบการจัดการสินค้า ข้อมูลข่าวสารการตลาด และระบบการเงิน การพัฒนาคุณภาพยางให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามความต้องการของตลาด ด้วยวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านระบบครูยาง ระยะเวลา 3 ปี 1,369 ล้านบาท แยกเป็นเงินลงทุน 798 ล้านบาท สำหรับโครงสร้างพื้นฐานระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงตลาด และเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการซื้อขายยางในตลาดจากวงเงินสงเคราะห์ (CESS) 600 ล้านบาท ปีแรก 62 ล้านบาท
แนวทางหาตลาดส่งออกใหม่ โดยมอบหมายให้ทูตพาณิชย์หาตลาดยางพารา แนวทางเพิ่มการใช้ยางในประเทศ จัดทำโครงการส่งเสริมการลงทุนด้านผลิตภัณฑ์ยาง โครงการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยาง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายกำลังการผลิต และดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนแปรรูป วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมยาง
ลดพื้นที่ปลูกยางถาวร 7 แสนไร่
มาตรการ ควบคุมพื้นที่ปลูกยาง โดยสนับสนุนโค่นยางเก่าปีละ 4 แสนไร่ เปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นปีละ 1 แสนไร่ ใน 7 ปี เปลี่ยนปลูกยางพันธุ์ดีให้ได้ 2.1 ล้านไร่ และลดพื้นที่ปลูกยางถาวรให้ได้ 7 แสนไร่ ลดผลผลิตยางได้ในปีแรก 1.01 แสนตัน และเพิ่มขึ้นปีละ 1 แสนตัน จนถึงปีที่ 7 ลดผลผลิตยางลงได้ 7.11 แสนตัน ใช้เงินเซสรวม 42,143 ล้านบาท ปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกใช้งบฯ 5,101 ล้านบาท และควบคุมการปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม หรือที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ฯลฯ
โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยาง ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้เกษตรกรผู้รับการสงเคราะห์ปลูกยางทดแทนปี 2558-2564 ปีละ 1.6 แสนไร่ และปลูกพืชอื่นแซมยาง
จ่ายไร่ละ 1 พัน 8.5 พันล้าน
นอก จากนี้ ที่ประชุม กนย.ล่าสุด 16 ต.ค.ที่ผ่านมา อนุมัติแผนช่วยเหลือชาวสวนยางโดยระยะสั้นรัฐจะซื้อยางจากชาวสวนโดยตรง โดยใช้เงิน ธ.ก.ส.กว่า 2 หมื่นล้านบาทเข้าสต๊อกรัฐ และให้องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ซื้อยางจากตลาดและสหกรณ์ยางขายเข้าสต๊อกรัฐด้วย ได้รับ ความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง คือธนาคารกรุงเทพ, กรุงไทย, กสิกรไทย, ทหารไทย, ไทยพาณิชย์ และธนชาตปล่อยสินเชื่อ 1 หมื่นล้านบาท ซื้อน้ำยางมาทำธุรกิจน้ำยางข้น อนุมัติช่วยเหลือชาวสวนยางรายย่อย ไม่เกิน 15 ไร่ ไร่ละ 1 พันบาท ต้นเดือน พ.ย.นี้ มีชาวสวนยางได้รับความช่วยเหลือ 8.5 แสนราย วงเงิน 8.5 พันล้านบาท และดึงราคายางให้อยู่ที่ 60 บาท/กก. จากปัจจุบัน 45-47บาท/กก. รวมทั้งปล่อยสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. และธนาคารพาณิชย์ให้ โดยรัฐช่วยเหลือดอกเบี้ยร้อยละ 3
และเสนอทางเลือกให้ชาวสวนยางที่มี พื้นที่ไม่เกิน 25 ไร่ ที่ถึงเวลาต้องโค่นต้นยาง กู้เงินจาก ธ.ก.ส.นำไปปรับปรุงสวนยาง โดยทำอาชีพอื่นเสริม วงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท/ราย โดยรัฐช่วยจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 3 ฯลฯ ทั้งหมดนี้จะดำเนินการทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของชาวสวนยางที่กำลังทุกข์หนัก
สวนรักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต