สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผงะ! Black Lis ผัก-ผลไม้ ในห้างฯ ที่พบสารตกค้างสูงสุด!

ผงะ! Black List “ผัก-ผลไม้” ในห้างฯ ที่พบสารตกค้างสูงสุด!

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      “คิดให้ดีก่อนเลือกกิน” เพราะการสุ่มตรวจผักผลไม้ที่วางจำหน่ายบนห้างฯ ดังในกรุงเทพฯ พบมีผัก-ผลไม้ที่มีปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างสูงสุดเกินค่ามาตรฐาน ที่จะยอมรับได้ (MRLs: Maximum Residue Limits) อยู่ในลิสต์ยาวเป็นหางว่าว โดยเฉพาะชนิดของผัก-ผลไม้ดังต่อไปนี้

       Infographics: ASTV ผู้จัดการ Live
       ขอบคุณข้อมูล: www.consumerthai.org


อย.เผยผลตรวจผัก-ผลไม้ทั่วประเทศ ตกมาตรฐาน 5%

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

      อย.ยัน ตรวจผักผลไม้ปนเปื้อน ตลอด เผยภาพรวมทั้งประเทศไม่ได้มาตรฐาน 5% ระบุเจอจับปรับทันที 50,000 บาท ชี้ อย.แค่ปลายทาง แก้ปัญหาต้องต้นเหตุ ให้ความรู้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี
       
       วันนี้ (20 ส.ค.) ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รอง เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สุ่มตรวจผักและผลไม้มากกว่า 50% ที่ขายในห้างค้าปลีกตลาดทั่วไป พบเกินมาตรฐานตัว “Q” ว่า การตรวจผักและผลไม้ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในส่วนของ อย.จะทำหน้าที่ตรวจตามด่านนำเข้า หากตรวจพบปนเปื้อนสารเคมีเกินมาตรฐานจะห้ามไม่ให้เข้า และแจ้งผู้ประกอบการนำสินค้าคืน พร้อมปรับฐานสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนภายในประเทศจะตรวจตามจุดจำหน่าย และตลาดต่างๆ หากตรวจพบก็มีการปรับฐานสินค้าไม่ได้มาตรฐานเช่นกัน คือโทษปรับ 50,000 บาท แต่หากผู้ค้าไม่ยินยอม และปฏิเสธว่า ไม่ทราบ เนื่องจากซื้อมาจากต้นทางหรือตามสวน จะต้องไปพิจารณาที่เจตนา และเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสอบสวน
       
       “กรณี เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัด ศัตรูพืช สุ่มตรวจผักและผลไม้พบไม่ได้มาตรฐาน ต้องมาดูฐานตัวเลขและข้อมูลภาพรวม เนื่องจาก อย.ตรวจผักและผลไม้ภาพรวมทั้งประเทศ พบสารปนเปื้อน 5% ซึ่งหากมาวิเคราะห์ในรายละเอียดจะพบว่าตัวเลขอาจเท่ากับทางเครือข่ายฯ ก็เป็นได้ เพราะทางเครือข่ายฯตรวจผักและผลไม้ 10 รายการ แต่ อย.ตรวจภาพรวมทั้งหมด” รองเลขาธิการ อย. กล่าวและว่า การแก้ปัญหาผักและผลไม้ปนเปื้อนจะต้องร่วมกันทุกฝ่าย เนื่องจาก อย. ทำหน้าที่ตรวจสอบแค่ปลายทาง แต่การแก้ปัญหาต้องเริ่มตั้งแต่ต้นทาง คือ การใช้สารเคมี ต้องควบคุมไม่ให้เกินมาตรฐาน รวมทั้งให้ความรู้เกษตรกรให้ปลูกผักผลไม้ปลอดสาร


มหันตภัยเงียบคุกคามผู้บริโภค

"ผัก-ผลไม้"ปนเปื้อนสารเคมีมหันตภัยเงียบคุกคามผู้บริโภค

การ ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผลิตการเกษตรเป็นภัยร้ายที่ทำลายสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง ซ้ำร้ายพิษภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักผลไม้ที่มีตราสัญลักษณ์มาตรฐานความ ปลอดภัยยังเป็นภัยแฝงที่ทำร้ายผู้บริโภคอย่างเงียบๆ

เมื่อ เร็วๆ นี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน (Thai-PAN) แถลงข่าว "เปิดผลทดสอบคุณภาพผัก ผลไม้ ประจำปี 2557 ตรามาตรฐานสินค้าเกษตรเชื่อถือได้แค่ไหน" เป็นเครื่องยืนยันถึงการมีอยู่จริงของพิษภัยในอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุก วันนี้

นาย พชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ด้านอาหาร เผยว่า การสุ่มตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในปี พ.ศ.2557 เป็นการสุ่มตรวจในผักผลไม้เพื่อเฝ้าระวัง 2 รอบ คือ เดือน มี.ค. และพ.ค.ที่ผ่านมา

โดยมีการสุ่มตรวจจาก 2 แหล่งหลัก ได้แก่ ห้างค้าปลีกและตลาดผักทั่วไปใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ยโสธร และสงขลา

ส่วน ชนิดผักและผลไม้ที่สุ่มตรวจ ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว พริก ผักชี กะเพรา ส้ม สตรอว์เบอร์รี แอปเปิล ฝรั่ง และแตงโม โดยได้นำตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับ ISO 17025 เพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และเพิ่มการวิเคราะห์สารกำจัดโรคพืชในส้ม แอปเปิล และสตรอว์เบอร์รี

นาง สาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช บอกว่า ผลการวิเคราะห์ผักผลไม้เกินครึ่งที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปมีการตกค้างของสาร เคมีกำจัดศัตรูพืช 55.9 เปอร์เซ็นต์

เฉพาะ ที่มีการตกค้างเกินค่ามาตรฐานเอ็มอาร์แอลของไทยมีมากถึง 46.6 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อจำแนกตามแหล่งจำหน่ายแล้วเห็นได้ว่าผักที่มีการตกค้างของสารเคมี กำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คือ ผักผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐาน Q

"ภาพรวมของผัก Q พบการตกค้างของสารเคมี 87.5 เปอร์เซ็นต์ และมีจำนวนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเอ็มอาร์แอลมากถึงร้อยละ 62.5"

ผู้ ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช บอกว่า ส่วนผักผลไม้ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีกตกเกณฑ์อยู่ในระดับรองลงมาอยู่ที่ 53.3 เปอร์เซ็นต์ และแหล่งจำหน่ายที่ตกมาตรฐานเอ็มอาร์แอลน้อยที่สุด คือ ตลาด อยู่ที่ร้อยละ 40

เมื่อ จำแนกตามชนิดผักผลไม้ พบว่า ชนิดผลผลิตที่มีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกินค่ามาตรฐานมากที่สุด คือ ส้มสายน้ำผึ้ง โดยตกเกณฑ์ 100 เปอร์เซ็นต์

รอง ลงมา ได้แก่ ฝรั่ง 69.2 เปอร์เซ็นต์ แอปเปิล 58.3 เปอร์เซ็นต์ คะน้า 53.8 เปอร์เซ็นต์ กะเพรา สตรอว์เบอร์รี และส้มจีน ชนิดละ 50 เปอร์เซ็นต์ ถั่วฝักยาว 42.9 เปอร์เซ็นต์ ผักชี 36.4 เปอร์เซ็นต์ แตงโม 15.4 เปอร์เซ็นต์ และพริกแดง 8.3 เปอร์เซ็นต์

"มาตรฐาน Q ไม่ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจเลยว่าผักผลไม้จะไม่มีสารตกค้าง ในทางกลับกันการที่มีมาตรฐาน Q กลับบ่งบอกว่ามีสารเคมีตกค้างเยอะกว่าผักที่ขายตามท้องตลาดด้วยซ้ำ"

นาง สาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี บอกด้วยว่า ปัญหาที่พบนอกเหนือไปจากเรื่องสารเคมีตกค้าง คือ ปัญหาของฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีเลขรหัสใต้เครื่องหมาย Q ไม่ถูกต้อง และไม่สามารถตรวจสอบได้ ทำให้เกิดปัญหาในการตรวจสอบข้อมูลของย้อนหลัง

ปัญหา ดังกล่าวถือเป็นปัญหาในเรื่องของกระบวนการรับรองมาตรฐานของสำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งเป็นผู้ออกมาตรฐาน ตรวจสอบรับรอง และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการสารเคมีที่ใช้ในระบบเกษตร เนื่องจากนั่งอยู่ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ที่เป็นหน่วยงานในกลุ่มกระทรวงสาธารณสุข ต้องเร่งจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น

"การ บริโภคอาหารที่หลากหลายเป็นอีกทางหนึ่งที่หลีกเลี่ยงสารพิษตกค้างได้ ผู้บริโภคควรรับประทานผักและผลไม้ที่มีตามฤดูกาลเป็นหลักเพื่อความปลอดภัย ของตัวผู้บริโภคเอง"

ทั้ง นี้ เครือข่ายภาคประชาสังคมได้มีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขอให้ มกอช. กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาเครื่องหมาย Q ใหม่ เพื่อป้องกันความสับสนของผู้บริโภค และควบคุมมาตรฐานของผลผลิตตามที่กำหนด รวมถึงให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายจัดการปัญหาเพื่อยกเลิกการใช้สารเคมีที่มี อันตรายร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารคาร์โบฟูราน และเมโทมิล

นอก จากนี้ กรมวิชาการเกษตรต้องควบคุมการนำเข้าและการจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่ม ที่มีอันตรายร้ายแรงและดูดซึมอย่างเข้มงวดโดยเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อย่างแท้จริงในกระบวนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรและเพิ่มกลไกการ ตรวจสอบหลังการขึ้นทะเบียน

พร้อม กันนี้ มกอช. อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ต้องร่วมมือกับภาคเอกชน และประชาสังคมเร่งรัดการพัฒนาระบบเตือนภัยความปลอดภัยด้านอาหาร (Rapid Alert System for Food) ภายในปี พ.ศ.2558


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต



Tags : ผงะ Black List ผัก-ผลไม้ ห้างฯ พบสารตกค้าง สูงสุด

view