สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

5 แผนรับมือตึกถล่ม

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์
โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล

ที่มา นสพ.มติชนรายวัน


ปฏิเสธ ไม่ได้ว่า "เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์" ที่ จ.เชียงราย ส่อแววเกิดซ้ำขึ้นได้อีกในอนาคต และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ปัจจุบันแผ่นดินไหวถือเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์และวางระบบเตือนภัย ล่วงหน้าได้ วิธีลดความเสี่ยงจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จึงทำได้เพียงเตรียมความพร้อมก่อนเกิดเหตุ

เหตุการณ์ที่ จ.เชียงราย ครั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมค่อนข้างต่ำ เพราะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวน้อยครั้ง ทำให้เราเข้าข่ายภาวะชะล่าใจ

แผ่น ดินไหวครั้งนี้ เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนที่ย่อยจาก 14 รอยเลื่อนในประเทศไทย ที่คาดการณ์ว่าอาจจะมีผลสืบเนื่องจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน "สะแกง" ในประเทศพม่า ซึ่งพบว่าเมื่อขยับจะมีผลกระทบในไทยบ่อยขึ้นในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น

ไม่ ว่าภัยใดๆ เมื่อเกิดเหตุขึ้น เรามักปลอบใจกันว่า เอาอยู่ๆ อย่าตื่นตระหนก "ไม่เป็นไร นานๆ เกิดที เกิดเหตุเมื่อไหร่ ก็ตามบรรเทาตามแก้กันเป็นครั้งๆ ไป" ถ้าคิดอย่างนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคตยิ่ง เพราะขาดการเตรียมการณ์รับมือ

ผมมี 5 ข้อเสนอ สำหรับเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหว และต้องเร่งดำเนินการ 1.ประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยในแต่ละจังหวัด ซึ่งมาตรการดังกล่าว พม่า และบังกลาเทศ รุดหน้าไปมากแล้ว 2.สำรวจความความอ่อนไหวของสิ่งก่อสร้าง และเพิ่มความแข็งแรง เช่น วัด โบราณสถาน โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารบ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ 3-4 ชั้น ถนน สะพาน สถานที่ต่างๆ ฯลฯ ในพื้นที่เสี่ยง (ส่วนใหญ่เป็นอาคารก่อสร้างก่อนปี 2550) เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ไม่ใช่เฉพาะอาคารถล่ม แต่อาจเกิดเพลิงไหม้อาคารได้พร้อมกันเป็น 10 เป็น 100 อาคาร 3.เตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรับมือ เช่น หลบในที่ปลอดภัย อพยพ ฯลฯ อาจบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียน 4.เพิ่มขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Search&Rescue) เช่น การใช้สุนัข K-9 ดมกลิ่น 5.การขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ในการขนย้ายซากปรักหักพังของอาคารที่เสียหาย เป็นเรื่องที่ต้องระวังยิ่ง เพราะการที่ซากอาคารอาจถล่มซ้ำหลังจากการเข้ารื้อ-ย้าย สามารถเกิดขึ้นได้

อย่าง ไรก็ตาม "กรุงเทพมหานคร" เป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งยังน่าเป็นห่วง แม้จะไม่มีรอยเลื่อน 14 รอย ครอบคลุมถึงพื้นที่กรุงเทพฯ แต่รอยเลื่อนที่ใกล้ที่สุด อันได้แก่ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 300 กิโลเมตรนั้น เป็นรอยเลื่อนที่มีรายงานว่ามีการขยับอยู่เป็นจังหวะๆ ตลอดเวลา หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นจะสามารถส่งผลของแรงสั่นสะเทือนมายังกรุงเทพฯได้ อีกทั้งใต้ดินของกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นโคลนเหลว ซึ่งทำให้แรงสั่นสะเทือนที่เคลื่อนมาไกลกลับขยายตัวและทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งเหตุการณ์คล้ายกับที่เกิดกับเม็กซิโกซิตี้ ที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อนซึ่งมีสภาพดินโคลนใต้เมืองเช่นกัน

ขอ แนะนำว่า อาคารสูงในเขตพื้นที่ย่านสีลม สาทร สุขุมวิท รัชดาฯ จะต้องเตรียมแผนรับมือจากที่เคยฝึกแผนรับมืออัคคีภัยอยู่เดิมแล้ว มาเพิ่มเติมขีดความสามารถรับมือแรงสะเทือนของอาคารด้วย อย่างไรก็ตาม จะละเลยผลกระทบที่อาจเกิดกับอาคารพาณิชย์ 3-4 ชั้น มิได้เป็นอันขาด โดยเฉพาะอาคารที่ก่อสร้างผิดระเบียบและอาคารต่อเติมที่ไม่ได้ขออนุญาต น่าจะจ้างให้วิศวกรมาตรวจสอบเพิ่มเติมว่า อาคารอยู่ในข่ายเสี่ยงภัยเพราะใช้เข็มขนาดเล็กไม่ได้มาตรฐาน หรือจากเหตุผลอื่นๆ หรือไม่

ลงมือทำเลยครับ! เราไม่ได้ตื่นตระหนก แต่เราตื่นตัวและเตรียมการล่วงหน้าให้ลูกหลานของเราอยู่อย่างปลอดภัย


ไร่รักษ์ไม้,สวนศิริผล,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : 5 แผน รับมือ ตึกถล่ม

view