สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รอยเตอร์แฉ ออมสิน ยอมรับ ไม่แน่ใจ ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว

รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      รอยเตอร์/ASTVManager - เงินกู้อินเตอร์แบงก์จำนวนเงินราว 5 พันล้านบาทที่ธนาคารออมสินได้ปล่อยกู้ให้กับ ธ.ก.ส.ที่เป็นผู้จัดการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลทำให้ลดแรงกดดันกับนายก รัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ทว่าจำนวนเม็ดเงินที่รัฐบาลไทยต้องการจริงเพื่อไปจ่ายหนี้โครงการทั้งหมด มีมากถึง 1.3 แสนล้านบาทให้กับชาวนานับล้านคนที่ร่วมโครงการนี้ ซึ่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินออกมายอมรับไม่ทราบจุดประสงค์ของทางธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส ไปใช้ทำอะไรเนื่องมาจากเป็นลักษณะการปล่อยกู้แบบระหว่างแบงก์ ด้านผู้ส่งออกคาดประมูลข้าว 2 ครั้งยังหาเงินได้ไม่ถึง 2 หมื่นล้าน
       
       ธนาคารออมสินได้แถลงในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (16 ก.พ.) ว่า ทางธนาคารได้ปล่อยกู้ในรูป “เงินกู้อินเตอร์แบงก์” จำนวน 5 พันล้านบาทให้แก่ ธ.ก.ส. แต่ทว่าไม่แน่ใจว่าเงินก้อนนี้จะถูกใช้เพื่อจ่ายคืนชาวนาหรือไม่ ซึ่งโครงการจำนำข้าวนี้ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ชาวนาในอัตราที่สูงกว่าราคาข้าวตามท้องตลาดตาม ความเป็นจริง และเป็นผลให้ข้าวจากประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
       
       ดังนั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะขายข้าวในสต๊อก ให้ได้มากที่สุดเพื่อหาเงินมาจ่ายคืนให้ชาวนาที่ร่วมโครงการ ซึ่งเป็นผลให้ชาวนาทั่วประเทศหลายหมื่นคนที่กำลังรอรับเงินต้องตบเท้าออกมา ประท้วง และคณะกรรมการ ป.ป.ชได้กล่าวว่า ทางคณะอาจจะยื่นฟ้องข้อหาคอ์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวที่อื้อฉาวนี้
       
       “ธนาคารออมสินให้ดำเนินการปล่อยเงินกู้ระหว่างธนาคารต่อธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จริง แต่ทางเราไม่ทราบเลยว่า ธ.ก.ส.จะนำเงินดังกล่าวไปใช้อะไร เพราะการให้กู้ในลักษณะดังกล่าวปกติเป็นไปเพื่อเสริมสภาพคล่องของธนาคาร นั้นๆ” นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสินออกมาแถลงข่าวยอมรับกับนักข่าว พร้อมกับเสริมว่าการปล่อยกู้นั้นอาจทำให้ลูกค้าของธนาคารวิตกหากทางธนาคาร ได้ปล่อยเงินกู้เพื่ออุ้มโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ
       
       อย่างไรก็ตาม ทั้งตัวแทนภาครัฐและ ธ.ก.ส.ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
       
       นอกจากนี้ ชาวนาจำนวนหลายร้อยคนยังคงปักหลักเรียกร้องอยู่ที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ในวัน อาทิตย์ (16) ซึ่งการประท้วงของกลุ่มเกษตรกรนี้เพิ่มแรงกดดันให้กับยิ่งลักษณ์ที่ได้เผชิญ หน้ากับการประท้วงทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 เดือนใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อต้องการให้เธอก้าวลงจากอำนาจ และล่าสุดสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหน้าจัดการประท้วงม็อบ กปปส.เผยว่า จะระดมผู้ชุมนุมจากทุกเวทีเข้าร่วมขบวนที่แยกปทุมวัน มุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล เพราะไม่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีสามารถเข้าปฎิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาลได้ และไม่หวั่นหากจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการปราบปรามเพื่อสลายม็อบ
       
       ทางด้านคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ให้สัมภาษณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจะยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ภายในปลายเดือน กุมภาพันธ์ในความผิดจากโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งที่ผ่านมาทาง ป.ป.ช.ได้ยื่นฟ้องข้อหาคอร์รัปชันต่อผู้ต้องหา 15 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงขายข้าวแบบจีทูจี ซึ่งเป็นผลให้จีนยกเลิกข้อตกลงที่จะซื้อข้าวจากไทยจำนวน 1.2 ล้านตัน
       
       ตามความเป็นจริงแล้วโครงการรับจำนำข้าวนั้นเป็นนโยบายหลักของยิ่ง ลักษณ์และพรรคเพื่อไทยที่ทำให้เธอก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้นำของประเทศได้ ในในปี 2011 ที่ฐานเสียงในชนบทร่วมล้านเสียงต่างเทคะแนนให้
       
       และในสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เปิดเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ให้มีการประมูลข้าวร่วม 400,000 ตันจากสต๊อก ซึ่งเป็นความพยายามล่าสุดในการหาเงินเพื่อจะจ่ายคืนให้ชาวนา มีผู้ส่งออกจำนวน 18 รายได้ยื่นซองประมูลเพื่อซื้อข้าวจำนวนสูงสุด 460,000 ตัน ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศทันทีว่าพร้อมจะเปิดประมูลข้าวอีกล็อตจำนวน 500,000 ตันจากยุ้งฉางในสัปดาห์หน้าเนื่องจากมีผู้ให้การสนใจร่วมเข้าประมูลเป็น จำนวนมาก
       
       ในสัญญาณเศรษฐกิจต่อปัญหาจำนำข้าว ทางผู้ส่งออกไทยได้เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า การขายข้าว 2 ครั้งของรัฐบาลรวมกันยังไม่สามารถที่จะหาเงินได้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นแค่เศษเงินที่จะมาโปะหนี้ก้อน 1.3 แสนล้านบาทที่ต้องจ่ายให้ชาวนา
       
       โครงการแทรกแซงราคาข้าวนี้ได้ช่วยเติมเชื้อให้กับการประท้วงของกลุ่ม กปปส.ที่เริ่มจัดการชุมนุมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในขณะนี้กลุ่มผู้ประท้วงยังคงปิดบางส่วนของกรุงเทพฯไว้ ซึ่งผู้สนับสนุนการประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางของประเทศที่ต้องจ่าย ภาษี และรู้สึกไม่พอใจที่เห็นเงินภาษีของพวกตนถูกใช้ไปเพื่ออุ้มโครงการจำนำข้าว ที่มีแต่ขาดทุนและเต็มไปด้วยการฉ้อโกงที่ชาวนาตัวจริงไม่ได้รับการช่วยเหลือ
       
       ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางกระทรวงไม่มีอำนาจที่จะต่ออายุโครงการจำนำข้าวออกไปหลังจากสิ้นเดือน กุมภาพันธ์นี้เป็นเพราะรัฐบาลรักษาการมีอำนาจจำกัดในการสั่งการ
       
       และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วราเทพ รัตนากร ได้ขอให้ผู้ประท้วงม็อบกปปส.เลิกหาประโยชน์จากการชุมนุมของชาวนาในกรุงเทพฯ และไม่ให้ขัดขวางอย่างที่ได้เคยประกาศไว้ พร้อมทั้งขอร้องให้โอกาสรัฐบาลหาทางแก้ไขจ่ายเงินคืนให้ชาวนาที่เดือดร้อน โดยวราเทพกล่าวหาว่าใครบางคนแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่พยายามทำให้รัฐบาลมี ปัญหา จ่ายเงินชาวนาไม่ได้ เพื่อให้มีชาวนาออกมาท้วงเงินจำนำข้าว เพื่อนำไปสู่ภาระของรัฐบาล และต้องแยกกันระหว่างปัญหาชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว กับการตรวจสอบของคณะกรรมการปัองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ร้องให้มีการตรวจสอบขั้นตอนไม่โปร่งใส


"โต้ง ไวท์ไล" เจรจาม็อบชาวนาเหลว ถูกโห่ไล่-ปาของวุ่น "ยิ่งลักษณ์" หดหัวอยู่ในตึก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       "กิตติรัตน์" ลงมาแจงม็อบชาวนาทวงเงินจำนำข้าว อ้างบางจังหวัดจ่ายของเดือนตุลาคมครบแล้ว ขอดูใบประทวน วางเป้าหมายจ่ายเงินให้ได้วันละ 4 พันล้าน ชาวนาไม่พอใจขว้างปาสิ่งของใส่ เจ้าตัวหนีอุตลุต "ยิ่งลักษณ์" หดตัวในอาคาร มีตำรวจคอยรายงาน
       
       วันนี้ (17 ก.พ.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ตัวแทนชาวนา 10 คน นำโดยนายระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมนุมชนภาคตะวันตก นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินงาม ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวนาไทย ได้เข้าเจรจากับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ นายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง โดยมีนายธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี พล.ต.ต.นเรศ นันทโชติ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ร่วมพูดคุย ที่ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเสร็จสิ้นการประชุมเมื่อเวลา 17.00 น.หลังการหารือนายกิตติรัตน์ได้เข้ารายงานผลการเจรจากับนายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ กำชับว่า ให้ลงไปพูดกับชาวนาเหมือนที่โต๊ะเจรจา
       
       ต่อมาเวลา 17.55 น. แกนนำได้ลงมาแจังกับผู้ชุมนุมว่านายกิตติรัตน์ จะลงมาแจ้งผลการเจรจาด้วยตัวเอง ภายใน 10 นาที แต่ปรากฎว่าเวลาผ่านไป 20 นาที นายกิตติรัตน์ยังไม่ลงมาเจรจา เนื่องจากติดโฟนอินเข้ารายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 กับนายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมไม่พอใจโห่ร้อง
       
       จากนั้น นายกิตติรัตน์ได้ลงมาพบผู้ชุมนุมท่ามกลางการอารักขาจากเจ้าหน้าที่ทหารและ ตำรวจนับสิบคน โดยใช้ยุทธวิธีดาวล้อมเดือน ซึ่งนายกิตติรัตน์ได้ชี้แจงกลุ่มผู้ชุมนุมถึงมาตราการการจ่ายเงินค่าข้าวตาม โครงการรับจำนำข้าวว่า รัฐบาลมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา และขอโทษที่จ่ายเงินล่าช้า ซึ่งตลอด 4 ฤดูกาลที่ได้เปิดโครงการมาสามารถจ่ายเงินได้ตามปกติ ทั้งนี้รู้สึกตกใจเรื่องการค้างจ่ายเงินในช่วงเดือนตุลาคม ของบางจังหวัด ซึ่งน่าจะมีการจ่ายไปครบแล้ว จึงขอเวลาในการตรวจสอบกับทางธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส. และจะรับไปดำเนินการโดยเร็วที่สุด รวมถึงผู้ที่ตกค้างในช่วงเดือนพฤศจิกายน ด้วย ขณะเดียวกันรัฐบาลมีเป้าหมายให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินให้กับชาวนา ในวันปกติวันละ 4,000 ล้านบาท โดยจะมีการดำเนินการให้เร็วที่สุด ไม่ปล่อยเวลาให้เนิ่นนานสร้างความไม่พอใจให้กับชาวนา
       
       ระหว่างการชี้แจง นายกิตติรัตน์ ต้องหยุดเป็นระยะ เพราะชาวนาไม่พอใจ และตะโหนโห่ไล่ ไม่ยอมรับการชี้แจง พร้อมปาขวดน้ำ ส้ม แตงโม และหัวเสาธง เข้าใส่ ทำให้ทหารต้องรีบนำตัวนายกิตติรัตน์ กลับเข้าอาคารทันที โดยระหว่างนั้นเอง ผู้ชุมนุมได้ขว้างปาสิ่งของ ขวดน้ำ หัวเสาธงเข้าใส่นายกิตติรัตน์ ทำให้เจ้าหน้าที่ และผู้สื่อข่าวต่างพากันหลบ และระหว่างที่เจ้าหน้าที่พาตัวนายกิตติรัตน์กลับเข้าอาคารสำนักงานฯ นายกิตติรัตน์ถึงกับสะบัดแขนออกจากเจ้าหน้าที่ เพราะไม่พอใจที่ถูกโห่ไล่ และถูกขว้างปาขวดน้ำใส่ ขณะที่ผู้ชุมนุมเดิมจะจะปักหลักชุมนุมที่หน้าสำนักงานปลัดกลาโหมคืนนี้ แต่หลังจากการหารือของแกนนำกลุ่มชาวนา มีมติว่าจะเดินทางกลับไปปักหลักที่กระทรวงพาณิชย์ตามเดิม เพื่อความปลอดภัย ได้สลายการชุมนุมและเดินทางกลับไปยังกระทรวงพาณิชย์
       
       ขณะที่นายระวี รุ่งเรือง แกนนำกลุ่มชาวนาภาคตะวันตก ประกาศให้กลุ่มชาวนากลับไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพราะกลุ่มชาวนาไม่รับข้อเสนอของรัฐบาล เนื่องจากการชุมนุมที่หน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมไม่มีความสะดวกและ ปลอดภัย ส่วนจะมีการยกระดับหรือไม่ ต้องมีการหารือกับชาวนาที่กระทรวงพาณิชย์ก่อน และตัดสินใจว่า วันที่ 19 ก.พ.นี้ จะยกระดับการชุมนุมเป็นการขับไล่รัฐบาล
       
       นายณัฐวัฒน์ ชั้นอินทร์งาม ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวนาไทย กล่าวว่า จากการเจรจาระหว่างตัวแทนรัฐบาลร่วมกับชาวนา ได้มีการพูดถึงข้อตกลงต่างๆ ไว้ชัดเจน แต่เมื่อนายกิตติรัตน์ลงมาพูดคุยกับชาวนากลับไม่พูดข้อตกลงที่ชัดเจนตามที่ ได้ตกลงกันไว้ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจและในวันที่ 19 ก.พ. จะมีการยกระดับการชุมนุมขับไล่รัฐบาล
       
       ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่ปรากฎตัวให้สื่อมวลชนได้เห็น มีเพียงส่วนล่วงหน้าซึ่งเป็นตำรวจ คอยรายงานสถานการณ์ชุมนุมให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
       
       อนึ่ง ในวันพรุ่งนี้ (18 ก.พ.) มีรายงานว่าได้งดประชุมคณะรัฐมนตรี


“ออมสิน” แจงผลกระทบปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ ธ.ก.ส.-ลูกค้าแห่ถอนเงินฝาก 3 หมื่นล้าน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

ผู้อำนวยการ “แบงก์ออมสิน” เปิดโต๊ะแถลงข่าวด่วนกู้วิกฤตศรัทธาผู้ฝากเงิน พร้อมแจงผลกระทบปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ “ธ.ก.ส.” ยอมรับวันนี้ลูกค้าแห่ถอนเงินฝากไปถึง 3 หมื่นล้านบาท
       
       นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน แถลงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากธนาคารได้มีการอนุมัติปล่อยเงินกู้ระหว่าง ธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้ปล่อยกู้ไปแล้ว 5 พันล้านบาท และยังเหลือวงเงินอีก 1.5 หมื่นล้านบาท ที่ยังไม่ปล่อยกู้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในวันนี้ (17 ก.พ.) มีลูกค้าแห่ถอนเงินฝากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่มีลูกค้ามาฝากเงิน จำนวน 1 หมื่นล้านบาท
       
       “ยอมรับว่าวันนี้มียอดถอนเงินถอนออกติดลบ 2 หมื่นล้านบาท แต่ปริมาณดังกล่าวยังไม่ถือว่ามากนัก และธนาคารยังพอรับได้ เนื่องจากธนาคารมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ถึง 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ ยืนยันว่าธนาคารจะยังไม่มีการปล่อยเงินกู้ให้แก่ ธ.ก.ส. เพิ่มเติมแน่นอน หากลูกค้ายังคงตั้งข้อสงสัยอยู่”
       
       สำหรับการปล่อยกู้อินเตอร์แบงก์ให้แก่ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางข้อกังขาว่า ธ.ก.ส.นำไปใช้เพื่อจ่ายหนี้จำนำข้าวให้แก่ชาวนา เพราะก่อนหน้านี้ผู้บริหาร ธ.ก.ส. ยืนยันว่า ไม่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจผู้ฝากเงิน


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : รอยเตอร์แฉ ออมสิน ยอมรับ ไม่แน่ใจ ธ.ก.ส.  พันล้านบาท ไปใช้อะไร เงินกู้ไม่พอ ปลดหนี้ จำนำข้าว

view