สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กระดูกสันหลังของชาติหนี้ท่วมหัว

จาก โพสต์ทูเดย์
โดย พีรดา ปราศรีวงค์
 
รัฐบาลยังไร้ทางออกกับการแก้ปัญหาหาเงินมาจ่ายหนี้ให้กับชาวนาไทยในโครงการรับจำนำข้าว 1.5 หมื่นบาท/เกวียน สร้างความเดือนร้อนให้กับชาวนาทุกหย่อมหญ้า จึงเกิดการรวมตัวกันเรียกร้องความเป็นธรรม โดย ระวี รุ่งเรือง ประธานศูนย์ข้าวชุมชนภาคตะวันตก กล่าวว่า ในวันที่ 9 ก.พ.นี้ ชาวนาจากตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 500 คน จะเดินทางมาร่วมสมทบการชุมนุมที่กระทรวงพาณิชย์ โดยในวันที่ 10 ก.พ.จะมีชาวนาจากภาคกลางกว่า 1,000 คน มาร่วมสมทบ เพื่อเดินเท้าไปยังกระทรวงยุติธรรม เพื่อยื่นฟ้องรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี และรักษาการรมว.กลาโหม ข้อหาฉ้อโกงชาวนา จากการรับจำนำข่าวแต่ไม่จ่ายเงินตามสัญญา
 
ปัญหาดังกล่าวสร้างความเดือนร้อนและทุกข์ระทม ให้กับกระดูกสันหลังของชาติอย่างแสนสาหัส โดยวลิต เจริญสมบัติ ประธานศูนย์ข้าวชุมชน จ.ราชบุรี สะท้อนภาพปัญหาที่เกิดขึ้นว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ผลักดันให้เกิดการทำนาใน 2 ภาคส่วนอย่างเห็นได้ชัด คือ 1ทำให้เกษตรกรชาวนาเข้าสู่ระบบจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการทำเกษตรเชิงเรียนรู้ และ 2 ผู้ผลิตเกษตรกรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้
   
ทั้ง 2 กระบวนการ ส่งผลให้ต้นทุนการปลูกข้าวแตกต่างกันกว่า 50% กระบวนการที่ผ่านการเรียนรู้มีต้นทุนตั้งแต่ต้นนจนถึงปลายน้ำเฉลี่ย 3,500 บาท/ไร่ ขณะที่การทำนาเพื่อผลักดันให้ตัวเองเข้าสู่โครงการรับจำนำข้าว มีต้นทุนเฉลี่ย 7,500-8,500 บาท/ไร่ ซึ่งวิธีการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ และทำลายธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของประเทศ
   
"การทำนาที่หวังเพียงผลผลิต โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการเรียนรู้ การใช้พันธุ์ข้าว ใช้ปุ๋ยใช้ยาจะเร่งให้เกิดผลเพียงอย่างเดียว เช่น พันธุ์ข้าวที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้จะใช้เพียง 20 กิโลกรัม/ไร่ เทียบกับการหวังผลใช้ถึง 30-40 กิโลกรัม/ไร่ "วลิต กล่าว
   

อย่างไรก็ตามเกษตรมองว่าโครงการรับจำนำข้าว และโครงการประกันข้าว ส่งผลเสียและกลโกงที่แยบยลแตกต่างกัน โดยการประกันข้าว ไม่มีการตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกจริง ทำให้เกษตรแจ้งพื้นที่เพาะปลูกเท็จ เพราะเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีการออกสำรวจพื้นที่อย่างจริงจัง
    
วลิต กล่าวว่า ในอนาคตมองว่ารัฐบาลอาจจำเป็นต้องใช้นโยบายประกันข้าว เพื่อบ่วยเหลือเกษตรกร แต่ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ควบคุมการดูแลการผลิต สามารถรรวจสอบข้อเท็จจริง แต่โครงการรับจำนำข้าวควรตัดทิ้งไปจากประเทศไทย เพราะเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกร
    
อย่างไรก็ตามหกามีรัฐบาลใหม่มาบริการประเทศ มองว่าควรนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาพันธ์ข้าวมาใช้กับเกษตรกรไทย มากกว่าการนำนโยบายประชานิยมมายั่วให้ชาวนาไหนตกลงไปในหลุมพลาง
   
"เมืองไทยมีชาวนาที่มีศักยภาพ สิ่งรัฐบาลควรทำคือการหาองค์ความรู้สินให้พัฒนา เพื่อให้เกษตรกรชาวนาสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน เพราะปัจจุบันประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกที่ประเทศอื่นไม่มี เช่น อีก 2 ปีจะมีพันธ์ข้ามหอมมะลิกลิ่นใบเตย เป็นต้น"วลิต กล่าว'

หากรัฐบาลไม่สามารถจ่ายหนี้ชาวนาภายใน 1-2 ปีนี้ ประเทศไทยจะก้าวสู่ความหายนะ เพราะขณะนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูน้ำมา ชาวนาต้องเตรียมตัวทำนาปรังฤดูกาล 2557 แต่ปัจจุบันไม่มีเงินมาหมุนเวียนใช้จ่ายในครอบครัว ชาวนาบางครอบครัวให้ลูกหลานออกจากการศึกษากลางครัน เพราะไม่มีปัญหาหาเงินมาหมุนเวียนในครอบครัวได้


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : กระดูกสันหลังของชาติ หนี้ท่วมหัว

view