สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ อนาคตข้าวไทยหลังอวสานจำนำข้าว

จากประชาชาติธุรกิจ

ท่าม กลางความล่มสลายของโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ดำเนินการติดต่อกันมาได้ 3 ฤดูกาล (2554/55-2555/56-2556/57) กับบทสรุปภาระหนี้ ณ เดือนมกราคม 2557 มากกว่า 477,797 ล้านบาท ผลการขาดทุนเบื้องต้นเฉพาะ 2554/55-2555/56 ไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาท ภาระจากการเก็บสต๊อกข้าวมากเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่มีการแทรกแซงตลาดด้วยตัว เลขที่สูงถึง 15 ล้านตัน ตามติดมาด้วยชาวนาทั่วประเทศออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลจ่าย เงินจำนำข้าวตามใบประทวนอีกไม่ต่ำกว่า 130,000 ล้านบาท ได้ส่งผลกระทบไม่เฉพาะชาวนา แต่เป็นอุตสาหกรรมข้าวทั้งระบบของประเทศ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์ นางสาวกอบสุข เอี่ยมสุรีย์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ถึงทางเลือกทางรอดของการค้าข้าวปีนี้

- ภาพรวมโครงการรับจำนำข้าว

โครงการ รับจำนำข้าวเป็นโครงการปลายเปิด ไม่มีเพดาน ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดมาก เพราะตัวโครงการมันใหญ่มาก ในอดีตเคยมีการรับจำนำข้าวเข้ามาถึง 9 ล้านตัน ซึ่งขณะนั้นถือว่าแยะมากแล้ว แต่ปริมาณรับจำนำมันถูกแคปไว้ที่ 9 ล้านตัน จบก็คือจบ แต่โครงการรับจำนำปัจจุบันมัน Open รัฐบาลบอกจะรับจำนำทุกเมล็ด มันก็กลายเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินมาก เป็นเงินของภาครัฐ ไม่ใช่ธุรกิจส่วนตัว ก็เสี่ยงที่จะมีการดูแลที่ดีหรือไม่ดีหรือไม่ดูแลโดยมันเป็นอะไรที่ซับซ้อน มาก

ทุกวันนี้ต้นทุนการรับจำนำข้าวเข้ามายังสรุปไม่ลง ความจริงแล้วรัฐบาลอาจจะไม่ต้องการปิดบัง แต่รัฐบาลเองก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วคุณมีข้าวอยู่เท่าใด ข้าวส่วนไหนติดภาระผูกพัน ข้าวส่วนไหนยังไม่ได้ส่งมอบ ต้นทุนใช้ไปแล้วเท่าไหร่แน่ เพราะมันใหญ่มาก อย่างบริษัทของเราใน 1 บริษัท เรายังพบว่ามีปัญหาต้นทุนสต๊อกเท่าไหร่กันแน่ ส่วนตัวคิดว่าข้าวในแต่ละโรงสีมีเท่าไหร่ เพราะมันเปลี่ยนแปลงไป ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าทุกคน Freeze ข้าวไว้ให้นับสต๊อกที่เคยนับสต๊อก 1 วันจบ เราข้องใจว่าทำได้จริงหรือไม่ ระบบ Online ที่ติดตั้งไว้ทุกโรงสีที่เข้าร่วมโครงการก็ล่มบ่อย ข้อมูลมาไม่ครบ ซึ่งน่าจะมีผลต่อการนับสต๊อกข้าวที่มีอยู่ในมือ เพื่อเอามาตีราคา แต่นี่ขนาดสต๊อกยังไม่รู้เลยว่ามีเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์ หรือกระทรวงไหน ๆ ก็ทำไม่ได้ ด้วยระบบของราชการเอง ซึ่งมีความล่าช้ามาจากปัญหาที่โครงการมีขนาดใหญ่เกินไป

- ต่อมาเกิดอะไรขึ้น

กล่าว โดยสรุป 1)นโยบายรับจำนำข้าวไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง 2)ไม่มีการกำหนดงบประมาณไว้อย่างแน่ชัด กล่าวคือปลายเปิด ซึ่งไม่ว่าประเทศไหนในโลกก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ เพราะผลพวงที่ตามมามันมีมาก กลายเป็นการสร้างหนี้ให้กับประเทศและให้กับชาวนา เพราะชาวนารู้ว่าปลูกข้าวแล้ว เดี๋ยวรัฐบาลก็มารับซื้อไปในราคาสูงมาก ๆ แล้วซื้อทั้งหมด ก็ไปกู้หนี้ยืมสินมาทำนามากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะรู้สึกว่าปลูกแล้วได้กำไร กลายเป็นการสร้างปัญหาความยากจนมากขึ้นไปอีก เมื่อใช้เงินในการรับจำนำข้าวมากขึ้น ๆ แต่ระบายไม่ได้ หรือมีปัญหาในการระบาย เงินก็หมด ไม่มีเงินจ่ายค่าจำนำข้าวให้กับชาวนา ก็กลายเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน

3)ตอน ต้นโครงการรับจำนำรัฐบาลบอกว่าจะเข้ามาค้าข้าวเอง เพราะไม่ชอบการผูกขาด กล่าวหาว่าผู้ส่งออกชอบตัดราคา เป็นคอนเซ็ปต์ของรัฐบาลที่จะมาขายเอง เพื่อจะไปดึงราคาข้าวในตลาด จำนำมาแพงก็จะไปขายให้ได้ราคาแพง ๆ เพราะขายอยู่คนเดียว แต่มันไม่ใช่ มันไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง บอกจะเข้ามาทลาย 5 เสือส่งออกข้าวบ้างละ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นมาตั้งกลุ่มค้าข้าวใหม่ มีไม่กี่คน ใครก็ไม่รู้ หนักไปกว่าเดิมอีก

สุดท้ายเมื่อโครงการรับจำนำข้าวดำเนินมาระยะเวลาหนึ่ง ก็ไปทำลายผู้ค้าข้าว-โรงสีรายกลางรายเล็ก รัฐบาลตั้งราคารับจำนำข้าว 15,000 บาท แต่ราคาที่แท้จริงไม่ควรสูงกว่า 11,000-12,000 บาท ข้าวในตลาดไม่มีเพราะอยู่ในมือรัฐบาล พวกนี้จึงตายก่อนเพราะไม่มีเงินไปซื้อข้าวแข่งกับรัฐบาล ก็หยุดไม่ต้องทำอะไร จนมาถึงวันนี้ถึงราคาข้าวหล่นลงมา พวกกลุ่มนี้ก็ยังกลับ มาไม่ได้เพราะลูกค้าหายไป ไม่มีทุนจะมาเริ่มใหม่ มีบางคนอาจจะกลับมาได้ แต่ผลกระทบก็จะตกหนักมาที่ชาวนาอีก คือราคาข้าวในตลาดปัจจุบันอยู่แค่ 7,000-8,000 บาท

เราเคยพูดตั้งแต่แรกแล้วว่า จำนำราคาสูงแบบนี้ทำไม่ได้ตลอด แม้รัฐบาลจะมีสต๊อกข้าวมากกว่า 15 ล้านตัน ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศ มีลูกค้าวิ่งเข้ามาหา แต่ก็ขายข้าวไม่ได้ ขายข้าวไม่ทันกับสถานการณ์ทางด้านราคาข้าวในตลาดโลก ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดเวลา สุดท้ายก็ประสบภาวะขาดทุน เมื่อขายไม่ได้ ปัญหาเรื่องคุณภาพข้าวก็ตามมา ข้าวเก็บไว้นานมันเสื่อม ปรากฏข้าวที่ส่งออกไปไม่เป็นที่พอใจของลูกค้า ซึ่งเราก็แปลกใจ เพราะว่าข้าวที่รัฐบาลส่งออกต้องเอาข้าวจากคลังส่ง แต่ทำไมไม่เอาข้าวคุณภาพดีส่ง หรือไม่รู้ว่าข้าวคลังไหนดี ข้าวคลังไหนไม่ดี เราก็ไม่ทราบ แต่ทำให้ลูกค้าต่อว่ามา กลายเป็นพูดลือกันในตลาดว่า ข้าวไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพ

- มันรุนแรงไหมหรือแค่หวังกดราคาข้าวไทย

รุนแรง ในกลุ่มคนที่จะซื้อข้าวจากคลังรัฐบาล เช่น อิรัก ซึ่งซื้อข้าวจากคลังไปเยอะ โดยอิรักเปิดประมูล พอซื้อไปก็เป็นปัญหามากจนถึงขั้นมาต่อว่าเรื่องคุณภาพข้าวกับรัฐบาล ตรงนี้กลายเป็นปัญหาใหญ่กระทบต่อภาพรวมของข้าวไทย สถานการณ์ตอนนี้ถูกอิรักแบนไม่ซื้อข้าวไทย ถึงเปิดประมูลก็ไปซื้อข้าวสหรัฐหรือข้าวบราซิลที่มีราคาแพงกว่าข้าวไทยเสีย อีก เราก็ไม่รู้ว่าเกิดจุดไหน ตอนจัดเก็บหรือตอนไหน แต่ปัญหาตอนนี้คือข่าวลือไปแล้ว จะ อ้างว่าเทรดเดอร์ไปเอาข้าวจากที่อื่นมาผสมก็ไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่ขนข้าวลงเรือ อิรักจะส่งคนมาดู หรืออย่างล่าสุดจีนก็เป็นอีกรายที่ยืนยันจะเอาข้าวจากผู้ส่งออก ไม่เอาข้าวจากคลังรัฐบาล

- ปรากฏการณ์ข้าวไทยต่ำกว่าเวียดนาม

ตอน นี้ก็ยังต่ำอยู่ ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2556/2557 รอบที่ 1 ที่รัฐบาลจำกัดวงเงินรับจำนำรายละไม่เกิน 350,000 บาท จากเดิมที่ไม่มีการจำกัดวงเงิน ประกอบกับรัฐบาลเองยังไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวที่นำมาจำนำตามใบประทวนที่เป็น ปัญหาอยู่ในตอนนี้ ดังนั้นข้าวส่วนที่เกินไปกว่าวงเงิน 350,000 บาท ก็ทะลักออกมาขายในตลาด ราคาข้าวก็ยิ่งลงหนักขึ้นไปอีก ประกอบกับใคร ๆ ก็ทราบว่า รัฐบาลไทยมีสต๊อกข้าวสูงถึง 15 ล้านตัน ซึ่งในที่สุดแล้วก็จะต้องเร่งระบายออกมา

เมื่อข้าวไทยมีปัญหาแบบนี้ เวียดนามหนาวเลย เพราะเมื่อมีแคป เขาโดนเลยว่า เขาขายไม่ได้ดีนัก เขามีปัญหาอยู่แล้ว ไทยก็มาดัมพ์ราคาข้าวลงไปอีก แล้วราคาจะไปไหนได้ ต้นทุนของทั้งสองประเทศก็ไม่ได้ห่างกันมาก สมมติทอนกลับมาเป็นต้นทุนข้าวเปลือก ต้นทุนเวียดนามตันละ 6,000-7,000 บาท ข้าวไทยตันละ 8,000-9,000 บาท ถ้าเราลดราคาลงแข่งที่ตันละ 7,000-8,000 บาท เวียดนามสู้เราไม่ได้ แค่คิดว่าปรากฏการณ์ราคานี้น่าจะเป็นเพียงช่วงสั้น ๆ เพราะไม่เชื่อว่าชาวนาไทยจะปลูกข้าวด้วยต้นทุนแบบนี้ไหว ถ้าขาย 8,000 บาทได้สักพักก็ต้องหยุด หากดันทุรังขายต่อไป เราก็พัง เวียดนามก็พัง แต่ในช่วงปลายปี 2556 เป็นช่วงที่แย่ เพราะตลาดมันชะลอเงียบ

ขณะ ข้าวไทยถูกกว่าข้าวเวียดนามก็ยังไม่มีคนซื้อ เป็นเรื่องที่แปลก แต่เชื่อว่าต้นปีตลาดจะกลับมา ถ้าเรายังมีระดับราคาเดิมหรืออาจจะสูงกว่าเขาสักตันละ 10-20 เหรียญสหรัฐ ที่เป็นแบบนี้ส่วนหนึ่งมาจากนโยบายรับจำนำ ถ้าปล่อยให้การซื้อขายข้าวเป็นไปตามกลไกตลาด ราคาข้าวจะไม่ตกต่ำขนาดนี้ ความจริงผู้ส่งออกข้าวไม่ชอบราคาต่ำ แต่ผู้ส่งออกไม่ชอบอะไรที่ทำให้ราคาผันผวนมาก ๆ

- แนวโน้มราคาข้าวไทย


ขึ้น อยู่กับโครงการรับจำนำจะมีอยู่อีกหรือไม่ สมมติถ้าสิ้นเดือนกุมภาพันธ์แล้วไม่มีจำนำ และในส่วนของข้าวเปลือกปี 2556/57 ที่รับจำนำเข้ามาอยู่ในคลังตอนนี้ประมาณ 11 ล้านตัน จะสั่งสีแปรหรือไม่ ถ้าสีแปรเป็นข้าวขาวแล้วก็จะหนัก เพราะว่าตลาดข้าวขาวเราไม่มี ถ้ายังไม่สีแปรมาทำเป็นข้าวนึ่งกันไหม เทรดเดอร์ผู้ซื้อข้าวนึ่งในตลาดเชื่อว่า ปีนี้ถ้าไทยทำข้าวนึ่งราคาถูกได้ก็จะครองตลาดข้าวนึ่งแทนอินเดีย ภายใต้สมมติฐานคือ ราคาเท่ากับหรือถูกกว่าอินเดีย ซึ่งตอนนี้เรายังแพงกว่าอินเดียอยู่ประมาณตันละ 50 เหรียญ เราจะดึงตลาดข้าวนึ่งคืนมาได้ แต่คำถามคือใครจะทำ แต่ถ้าหากแปรเป็นข้าวขาวก็ยิ่งทำให้ราคาข้าวขาวตกลงไปอีก


ไร่รักษ์ไม้,มูลไส้เดือน,ปุ๋ยมูลไส้เดือน,เกษตรแปรรูป,อุปกรณ์แค้มปิง,อุปกรณ์ป้องกันอุบัติภัย,เอาตัวรอดในภาวะวิกฤต

Tags : กอบสุข เอี่ยมสุรีย์ อนาคตข้าวไทย หลังอวสาน จำนำข้าว

view